เรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ ในการจัดตารางดูแลผู้ป่วยติดเตียงใน 1 วัน ให้มีคุณภาพ

การจัดตารางดูแลผู้ป่วยติดเตียงใน 1 วัน

เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน การจัดตารางการดูแลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการกำหนดเวลาจะช่วยให้เกิดความสม่ำเสมอในการดูแลร่างกายของผู้ป่วย อีกทั้งการใช้ชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่บนที่นอนผู้ป่วยติดเตียง จึงจำเป็นต้องมีกิจกรรมคลายเหงา แก้ความรู้สึกหดหู่ทางใจให้กับผู้ป่วยติดเตียงด้วยความเอาใจใส่จากคนใกล้ชิด แต่นอกจากการปรับให้เข้าตารางชีวิตประจำวันของคนที่บ้านแล้ว ก็มีข้อควรคำนึงอื่น ๆ ที่สำคัญด้วยเช่นกัน ดังนี้

ประเมินระดับความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย

1. ประเมินระดับความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย

ผู้ป่วยติดเตียงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย 2. กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ระดับหนึ่ง เช่นพลิกตะแคงตัวแต่ยังไม่สามารถลุกเดินได้ และ 3. กลุ่มผู้ป่วยที่เดินได้โดยใช้อุปกรณ์ช่วย สามารถทำกิจวัตรได้เกือบปกติ เพราะฉะนั้นตารางการดูแลผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มจึงมีรายละเอียดกิจกรรมที่แตกต่างกัน อีกทั้งไม่ได้หมายความว่าเมื่อเป็นผู้ป่วยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะต้องเป็นแบบเดิมตลอดไป เพราะเมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยอาจมีอาการทรุดลงหรือฟื้นตัวดีขึ้นก็ได้ จึงต้องพิจารณาอย่างต่อเนื่องและปรับเปลี่ยนตารางตามความเหมาะสม คลิกเพื่อดูตัวอย่างตารางการดูแลผู้ป่วยติดเตียงสำหรับแต่ละกลุ่มผู้ป่วย

กำหนดเวลาเพื่อจัดพลิกตัว

2. กำหนดเวลาเพื่อจัดพลิกตัว และช่วยผู้ป่วยติดเตียงปรับเปลี่ยนท่านั่ง ท่านอน

การหมั่นพลิกตัวผู้ป่วย และจัดท่าทางของผู้ป่วยติดเตียงตามเวลาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถึงแม้จะใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับโดยเฉพาะ ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยติดเตียงจะนอนอยู่ในท่าเดิมได้เป็นเวลานานโดยไม่ต้องเปลี่ยนท่าท่างเลย การกำหนดเวลา เช่น การพลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อยจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก และหากที่นอนมีความแข็งอาจต้องกำหนดเวลาให้ถี่กว่านั้น เป็นต้น คุณภาพของที่นอนผู้ป่วยติดเตียงจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงควบคู่กับการกำหนดเวลาพลิกตัวผู้ป่วยด้วย อย่างเช่น ที่นอนยางพาราชนิดพิเศษของ SeniaCare ที่นอกจากจะช่วยกระจายแรงกดทับของร่างกายด้วยเทคโนโลยี Intelligent Body Pressure Release System (IBPRS) แล้ว ยังมีให้เลือกถึง 3 รุ่นเพื่อรองรับความหลากหลายด้านน้ำหนักตัวของผู้ป่วย คือ น้อยกว่า 60 กิโลกรัม, 60-85 กิโลกรัม และ 85 กิโลกรัมขึ้นไป ช่วยเพิ่มระยะเวลาการพลิกตัวผู้ป่วยให้บ่อยน้อยลงได้

จัดเวลาเพื่อตรวจเช็คสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย

3. จัดเวลาเพื่อตรวจเช็คสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย พร้อมทั้งคิดเผื่อกรณีฉุกเฉิน

ควรเผื่อเวลาในแต่ละวันในการตรวจดูสุขภาพร่างกาย พร้อมทั้งจัดเวลาเพื่อพูดคุยสอบถามถึงความรู้สึก ความต้องการของผู้ป่วยไว้ในแต่ละวัน รวมทั้งเตรียมแผนสำรองไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินด้วย เช่น ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บจากแผลกดทับที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ก็จำเป็นจะต้องมีสัญญาณที่ตกลงระหว่างกันระหว่างผู้ป่วยกับผู้ดูแล หรือมีอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสามารถแจ้งผู้ดูแลได้ตลอดเวลา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ผู้ป่วยอาจขับถ่ายไม่เป็นเวลา ทำให้ต้องทำความสะอาดบ่อยครั้งกว่าที่จัดไว้ในตารางการดูแล การเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ใกล้กับผู้ป่วยจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ดูแลทำตามตารางการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความหลากหลายของการออกกำลังกายและงานอดิเรก

4. ความหลากหลายของการออกกำลังกายและงานอดิเรก

สำหรับผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวหรือมีสติอยู่ แน่นอนว่าการใช้เวลาอยู่บนที่นอนผู้ป่วยติดเตียงย่อมทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เสี่ยงต่อการเกิดอารมณ์ซึมเศร้าได้ จึงควรจัดตารางการดูแลที่มีกิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายมากขึ้น เช่น การพาผู้ป่วยไปนั่งรถเข็นเพื่ออกไปพักผ่อนนอกห้องนอนบ้างเป็นบางเวลา จัดให้มีเวลาสำหรับอ่านหนังสือให้ผู้ป่วยฟัง ชวนทำกายภาพบำบัดโดยใช้เพลงประกอบ ชวนผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ เป็นต้น

การจัดตารางดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะช่วยให้แผนการดูแลมีแบบแผนมากยิ่งขึ้น และด้วยช่วงเวลาที่กำหนดให้ผู้ดูแลต้องหมั่นตรวจสอบร่างกายของผู้ป่วยเป็นประจำ จะช่วยลดโอกาสเกิดแผลกดทับได้ นอกจากนี้ การใช้เวลาที่มีคุณภาพร่วมกันระหว่างผู้ป่วยกับผู้ดูแลเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่น ๆ เลย