ดูแลจิตใจผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะของการเจ็บป่วยเฉียบพลันในระบบประสาทที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่พบได้บ่อย และยังคงมีอัตราการเสียชีวิตหรือมีความพิการที่เกิดจากโรคเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น สามารถพบ ได้ในทุกเพศ ทุกวัย โรคนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทางด้านร่างกายแล้ว ยังคงส่งผลกระทบทางด้านจิตใจอีกด้วย โดยพบว่าผู้ป่วยบางรายมีอาการหรือปัญหาด้านจิตใจ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นสำคัญและพบบ่อยที่สุด วันนี้ทาง SeniaCare เลยมีวิธีการดูแลจิตใจผู้ป่วยมานำเสนอครับ

ปฏิกิริยาทางจิตใจที่พบบ่อยในคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง

  • ความวิตกกังวลและเครียด มักพบในช่วงแรกที่เริ่มมีอาการ โดยสังเกตได้จากสีหน้าท่าทาง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ โดยบางรายที่ปรับตัวไม่ได้อาจจะต้องให้การรักษาควบคู่ไปด้วย
  • อารมณ์เศร้า เป็นปัญหาพบได้บ่อยที่สุดภายหลังผู้ป่วยเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยจะเกิดได้มากในช่วง 3 เดือนแรกและลดลงภายหลัง 1 ปี ของการเกิดโรค พบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของสมองซีกซ้ายมากกว่าสมองซีกขวา ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาหร
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อาจมีพฤติกรรมแบบก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ร้องไห้บ่อย ท้อแท้ แยกตัวไม่สนใจคนอื่นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว ไม่กล้าออกจากบ้าน ไม่ยอมรับการเจ็บป่วย ไม่ยอมรักษา ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพหรือการเป็นอยู่ของแต่ละคน นอกจากนี้ ลักษณะและความรุนแรงของโรค ก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการรับรู้ และเข้าใจอาการที่เกิดขึ้น

การฟื้นฟูดูแลจิตใจ (สำหรับผู้ป่วย)

  1. สอบถามถึงอาการป่วย ปัญหาทางอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้
  2. สอบถามถึงสิ่งที่ไม่สามารถทำได้อย่างเดิม และสิ่งที่ยังสามารถทำได้
  3. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา และเข้าพบแพทย์ตามนัด
  4. หมั่นออกกำลังกายหรือเข้ารับการฟื้นฟูอย่าสม่ำเสมอกับนักกายภาพบำบัด
  5. เข้าร่วมกิจกรรมของครอบครัวตามปกติในกิจกรรมที่ผู้ป่วยสามารถเข้าร่วมได้

การช่วยเหลือดูแลจิตใจผู้ป่วย (สำหรับครอบครัวและญาติ)

  1. ควรแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจและให้กำลังใจคนไข้ตามความเป็นจริงและเข้าใจกับพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไปของคนไข้ ครอบครัวและญาติต้องให้กำลังใจผู้ป่วย
  2. แสดงออกทางคำพูด สีหน้า สายตา และการสัมผัสต่อผู้ป่วยว่าครอบครัวยังคงรักและเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ ชมเชยด้วยทั้งคำพูด สีหน้า สายตา และการสัมผัสเมื้อผู้ป่วยสามารถทำสิ่งนั้นได้ดีและให้กำลังใจ โดยการหลีกเลี่ยงการตำหนิในสิ่งที่ผู้ป่วยยังทำไม่ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยลดคลายความกังวลและมีกำลังในการทำกิจกรรมวัตรประจำวัน
  3. ช่วยเหลือและให้กำลังใจในการฝึกออกกำลังกาย และส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่สามารถทำได้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดตอน
  4. จัดสิ่งแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แสงสว่างเพียงพอ อาการปลอดโปร่ง หายใจได้สะดวก และวางเครื่องใช้ จัดสิ่งของในบ้านให้เป็นระเบียบให้ผู้ป่วยสามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก สามารถหยิบจับสิ่งของได้อย่างง่ายดาย
  5. ผู้ป่วยที่ต่อต้านและปฏิเสธการดูแลจากผู้ดูแลหรือญาติ ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ตัวนั้นสามารถทำได้หรือมีความชื่นชอบบ่อยๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกว่าสามารถทำกิจกรรมนั้นได้ด้วยตัวเองและลดท่าทีต่อต้านเมื่อคนในครอบครัวและญาติเข้ามาช่วยเหลือในบางอย่างได้

เราจะเห็นได้ว่าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น เป็นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเป็นหลักอยู่แล้ว ยังคงจะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพจิตใจเข้ามามีส่วนร่วมด้วยดังนั้นเมื่อเราได้ดูแลคน คนหนึ่งแล้วเราจะต้องควรดูแลให้ครบทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น กาย จิตใจ สังคมหรือสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ป่วยได้ได้กลับมาใช่ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติได้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้