การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหรือบาดเจ็บไขสันหลังนั้นเป็นสภาวะที่พบได้บ่อยอีกหนึ่งสภาวะของร่างกาย ซึ่งอาจเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุไม่ว่าจะป็นการกระแทกทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ จากการทำงาน การกีฬาที่มีการปะทะ หรือตกจากที่สูง อันนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อย ไปจนถึงขั้น ทุพพลภาพ ติดเตียง หรือเสียชีวิตได้
การบาดเจ็บไขสันหลัง คืออะไร
การบาดเจ็บไขสันหลัง หรือไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal Cord Injury) คือ การเกิดอาการที่บริเวณไขสันหลัง รวมถึงรากประสาทในโพรงกระดูกสันหลังเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจเป็นอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งอาการบาดเจ็บอาจร้ายแรง จนส่งผลให้เป็นอัมพาต หรือกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
การบาดเจ็บไขสันหลังแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
- อัมพาตครึ่งล่าง พาราพลีเจีย (paraplegia) หมายถึง ภาวะขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้างจากการบาดเจ็บ ไขสันหลังส่วนอกระดับลงมา
- อัมพาตแขนและขา เตตราพลีเจีย หรือควอดดิเพเจีย (tetraplegia/ quadriplegia) หมายถึง ภาวะ อ่อนแรงของแขนและขาทั้ง 2 ข้าง จากการบาดเจ็บไขสันหลังระดับส่วนคอ
ความรุนแรงของการบาดเจ็บได้เป็น 2 ประเภท คือ
- Complete spinal cord injury (ไขสันหลังบาดเจ็บทั้งหมด)
หมายถึง ไขสันหลังระดับนั้นเสียหายทั้งหมด ไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บซึ่งอยู่ล่างสุด (S4 – 5) ขาดการติดต่อกับสมอง รวมไปถึงบริเวณรูทวารหนัก ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกลั่นอุจารระหรือรับรู้ความรู้สึกเกี่ยวการขับถ่ายได้เลย ทำให้ผู้ป่วยจะถ่ายออกมาเองโดยที่ไม่รู้ตัว - Incomplete spinal cord injury (ไขสันหลังบาดเจ็บไม่ทั้งหมด)
หมายถึง ไขสันหลังที่บาดเจ็บเสียหายไม่ทั้งหมด มีสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวตามตำแหน่งของไขสันหลัง แต่ยังคงสามารถรับรู้และสั่งการบริเวณรูทวารหนักได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลั่นอุจารระปัสสาวะหรือรับรู้เกี่ยวการขับถ่ายได้เป็นปกติ
สาเหตุหรือปัจจัยของการบาดเจ็บไขสันหลัง
1. การบาดเจ็บต่อไขสันหลังโดนตรง
- ถูกโจมตีอย่างรุนแรง เช่น ถูกแทง ถูกยิง
- กระโดดลงน้ำที่ตื้นเกินไป และกระแทกกับพื้นด้านล่าง
- อุบัติเหตุทางรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์
- ตกจากที่สูง
- ศีรษะหรือกระดูกสันหลังบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- อุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟฟ้า
- การห้กล้มในผู้สูงอายุ
2. การเกิดจากโรค
- การติดเชื้อในไขสันหลัง
- ช่องโพรงกระดูกเสื่อมกดเบียดไขสันหลัง หรือเนื้องอกที่ไขสันหลัง
- โรคข้อต่ออักเสบ
- โรคกระดูกพรุน
อาการและอาการแสดง
- มีอาการแขนขาอ่อนแรง ชา
- การรับรู้ความสึกของร่างกายลดลงหรือหายไป
- สูญเสียการทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่ควบคุมได้
- การรับความรู้สึกเกี่ยวกับความเจ็บปวด แรงกด อุณหภูมิ ที่ผิดปกติ
- การขับถ่ายที่ไม่สามารถควบคุมได้
ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้ในการบาดเจ็บไขสันหลัง
- แผลกดทับ
- กล้ามเนื้อฝ่อลีบ
- ข้อต่อยึดติด
- กระดูกพรุน
- ภาวะความดันโลหิตตกขณะเปลี่ยนท่า
- ภาวะปอดแฟบ
- ท้องอืด ท้องผูก กลั้นอุจจาระไม่อยู่
- หลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน
- การควบคุมอุณหภูมิหรือการรับรู้ความรู้สึกของร่างกายผิดปกติ
การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บไขสันหลัง
- ในกรณีที่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังนั้นไม่ควรทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปมา เพราะจะทำให้ข้อกระดูกสันหลังเปลี่ยนตำแหน่ง ดังนั้นจึงควรมีอุปกรณ์ช่วยยึดกระดูกให้คงรูปก่อนทำการเคลื่อนย้าย แต่อย่างไรก็ตามควรอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์
- สำหรับผู้ป่วยที่ติดเตียงควรให้ความดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
- ควรระมัดระวังเรื่องของแผลกดทับในกลุ่มของผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้เอง
- ควรระมัดระวังในเรื่องการรักษาความสะอาดของผู้ป่วยอยู่เสมอ
การบาดเจ็บไขสันหลัง ( spinal cord injury ) นั้นอาจจะกลับมาดำเนินชีวิตได้เทียบเท่าปกตินั้นต้องใช้เวลาหรือต้องมีอุปกรณ์เสริมในการช่วยเดิน ดั้งนั้นในช่วงที่ผู้ป่วยกำลังพักฟื้นอยู่บนเตียงนั้น เราควรเลือกที่นอนป้องกันแผลกดทับ จัดสถานที่ให้สะอาด และออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่จะตามมาได้