ที่นอนป้องกันแผลกดทับ
สำหรับผู้ป่วยติดเตียง และผู้ป่วยพักฟื้น

ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง ตรวจวัดแรงกดทับด้วย X-Sensor

ป้องกันการเกิดแผลกดทับ
โดยไม่ต้องพลิกตัวบ่อย

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ SeniaCare
ผ่านการวิจัย
ด้วยเทคโนโลยีตรวจวัดแรงกดทับ XSENSOR จากประเทศแคนาดา
ทำให้แน่ใจได้ว่าที่นอน SeniaCare
จะไม่ทำให้เกิดแรงกดทับที่ทำให้เกิดแผล

ได้รับการยืนยันจากผู้ใช้กว่า 1,000 ราย
ว่าไม่ต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อย

ยืนยันความพึงพอใจจากผู้ดูแลและผู้ป่วยที่ใช้งานจริงทั่วประเทศ
ว่าผู้ป่วยนอนหลับได้ดีขึ้น แผลกดทับดีขึ้น
หายเร็วขึ้น คืนความสุขให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล

ไม่ทำให้เกิดแผลใหม่ แผลเก่าหายเร็ว
ได้ผลกับแผลทุกระยะ

คุณสมบัติยางพาราธรรมชาติ ที่มีความยืดหยุ่นสูง
ช่วยรองรับสรีระของผู้ป่วย พร้อมทั้งกระจายแรงกดทับ
ไม่ทำให้เกิดแผลกดทับ ช่วยให้แผลเก่าหายเร็วขึ้น
ลดภาระของผู้ดูแลได้มากกว่าเดิม

ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ต้นเหตุของแผลติดเชื้อ

นวัตกรรม Nano-Zinc Oxide ที่ผสานในที่นอน SeniaCare
ช่วยป้องกันแบคทีเรีย และเชื้อโรคที่เกิดจากการสะสมในที่นอน
ทำให้ลดอาการแผลติดเชื้อได้อย่างตรงจุด

ไม่ร้อน ไม่อับชื้น ระบายอากาศได้ดี
เหมาะกับสภาพอากาศประเทศไทย

เทคโนโลยี Latex Pin-Hole & Open-Cell ในที่นอน SeniaCare
ช่วยเพิ่มการระบายอากาศในที่นอน
ทำให้ที่นอนไม่อับชื้น ไม่ร้อน ช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับสบาย

หมดห่วง ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ไม่ต้องใช้ลม
ลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าลัดวงจร และไฟดับ

ที่นอน SeniaCare ใช้การกระจายแรงกดทับจากยางพาราธรรมชาติ
ทำให้ผู้ป่วยหลับสบาย โดยไม่โดนรบกวนจากการสลับขึ้นลงของลอนจากเครื่องปั๊มลม
ลดความเสี่ยงในกรณีเกิดไฟดับ หรือไฟฟ้าลัดวงจร
ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลกดทับได้ ในช่วงเวลาสั้นๆ

ที่นอนยางพาราชนิดพิเศษ ลดแรงกดทับ ป้องกันการเกิดแผลกดทับ

ที่นอน SeniaCare ผลิตโดยเทคโนโลยี Intelligent body pressure release system (IBPRS) ที่ช่วยกระจายแรงกดทับของร่างกาย ลดแรงกดทับให้ต่ำกว่า 60 มม. ปรอททั่วร่างกาย เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเส้นเลือดฝอยบริเวณผิวหนังได้ ทำให้บาดแผลสามารถรักษาได้ เนื่องจากเลือด สามารถส่งออกซิเจน สารอาหาร และยา ไปยังเนื้อเยื่อที่เกิดแผลได้ ทำให้เนื้อเยื่อเกิดการซ่อมแซม และรักษาหายได้ในที่สุด

Nano-Zinc Oxide ป้องกันแบคทีเรีย และการติดเชื้อ

นอกจากนั้น เรายังใช้ Nano-Zinc Oxide ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ผสานเข้าไปในเนื้อยางพารา ทำให้ช่วยป้องกันแบคทีเรีย อันเป็นต้นเหตุของกลิ่น และอาการติดเชื้อของแผล

ผ้าหุ้มกันน้ำ ทำความสะอาดง่าย

ปลอกชั้นใน SeniaCare ใช้เป็นผ้า Anti-Bacteria สีขาว เป็นนวัตกรรมผ้าที่มีส่วนผสมของ สารต้านแบคทีเรีย เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในผ้า ตัวการปัญหาสุขภาพที่เรามองไม่เห็น ซึ่งการผสมสารต้านแบคทีเรีย ก็มีทั้งวิธีการเคลือบซึ่งเป็นวิธีการโดยทั่วไป และอีกวิธีคือการฝังลงในเส้นใยซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษของ Seniacare ปลอกผ้าหุ้มชั้นนอก เป็นเนื้อผ้าชนิดพิเศษ TPU Leather กันน้ำ (Water resistant) น้ำไม่สามารถซึมผ่านได้ 100% อีกทั้งยังมีคุณสมบัติ ป้องกันการไถล (Anti-slip) ป้องกันการเกิดแผลที่เกิดจากแรงไถล ในกรณีเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือในขณะปรับระดับเตียงนอน ปลอกผ้าหุ้มชั้นนอก TPU Leather ทำความสะอาดง่าย มีซิปรอบ 3 ด้านทำให้สามารถถอดออกได้ง่าย

ที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง SeniaCare ป้องกันแผลกดทับ

รีวิวจากลูกค้า

แรงกดทับและแผลกดทับคืออะไร?

แรงกดทับ
แรงกดทับ (Pressure) คือแรงกดทับต่อเนื้อเยื้อที่มากกว่าแรงดันของหลอดเลือดฝอย (Capillary pressure) โดยพบว่า แรงกดที่ทำให้หลอดเลือดฝอยปิด และไม่สามารถนำเลือดมาเลี้ยงเนื้อเยื่อได้คือ 64 มม.ปรอท หากมีแรงกดทับที่มากกว่า 64 มม.ปรอท จะทำให้หลอดเลือดฝอยปิดและไม่สามารถนำเลือดมาเลี้ยงเนื้อเยื้อได้ และหากมีระยะเวลาที่มีแรงกดนั้น นานเกิน 2 ชั่วโมง จะทำให้เนื้อเยื้อส่วนที่ถูกกดทับถูกทำลายอย่างถาวร และเกิดเป็นแผล (Dinsdale,S.M.1974)

แผลกดทับ
แผลกดทับ คือการบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนัง หรือผิวหนังตามปุ่มกระดูกต่างๆ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากแรงกด หรือแรงกดร่วมกับแรงไถล

  • กรณีที่แรงกดมากกว่า 35 มม.ปรอท เลือดจะไปเลี้ยงบริเวณนั้นลดลง
  • กรณีที่แรงกดมากกว่า 64 มม. ปรอท และนานกว่า 2 ชั่วโมง จะทำให้เนื้อเยื่อได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • กรณีที่แรงกดมากกว่า 80 มม. ปรอท และเกิดเป็นเวลานาน จะทำให้เนื้อเยื่อตายและเกิดเป็นแผลกดทับในที่สุด

จากการศึกษาพบว่ากล้ามเนื้อจะทนต่อการขาดเลือดได้น้อยกว่าผิวหนัง (Daniel, R.K.,Priest, D.L,Wheatley, D.C.,1981) ทำให้แผลกดทับมักจะมีส่วนของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายมากกว่า ซึ่งจะพบลักษณะของแผลเป็นรูปกรวย คือ ที่ผิวหนังมีขอบแผลเล็ก แต่ใต้ผิวหนังลงไป แผลจะมีขนาดใหญ่กว่า

ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลกดทับ

  1. การกดทับ
    a. ปริมาณกล้ามเนื้อของผู้ป่วย กล่าวคือ ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อมากจะทนต่อแรงกดทับได้ดีกว่าผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อน้อย
    b. ระยะเวลาที่กดทับ โดยแรงกดประมาณ 70 มม.ปรอท กดทับเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงติดต่อกันสามารถทำให้เกิดการขาดเลือด
    c. แรงกดทับ การวิจัยพบว่าแรงกดจำนวนมากแม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้
  2. แรงไถและความเสียดทาน ซึ่งทำให้เกิดการปริแตกของเนื้อเยื่อได้ง่าย และมักจะพบในผู้ป่วยอัมพาตที่นั่งรถเข็น โดยเฉพาะเวลามีการเคลื่อนตัวบนรถเข็น
  3. อุณหภูมิ ผลของการเพิ่มอุณหภูมิ จะทำให้มีการเพิ่มของเมตาบอลิสซึมของเซลล์ ส่งเสริมให้เนื้อเยื่อขาดเลือดและตายได้ง่ายขึ้น
  4. อายุของผู้ป่วย
  5. ภาวะทางโภชนาการ การขาดโปรตีนจะทำให้การเสริมสร้างเนื้อเยื่อช้าลง ส่งผลให้แผลหายช้า พบว่าผู้ป่วยที่มีแผลควรได้รับโปรตีน 80-100 กรัม/วัน นอกจากนี้ภาวะความไม่สมดุลของไนโตรเจน แคลเซียม การขาดวิตามิน ยังมีผลทำให้หายช้า

ระดับความรุนแรงของแผลกดทับ

ระยะที่ 1

ผิวหนังยังสมบูรณ์แต่ผิวหนังมีรอยแดง

ระยะที่ 2

ผิวหนังสูญเสียถึงชั้น Dermis โดยพื้นแผลแดงไม่มีเนื้อตายสีเหลืองไม่เป็นรอยช้ำอาจจะเป็นตุ่มพองน้ำใสๆหรือน้ำใสปนเลือดจางๆ

ระยะที่ 3

มีการสูญเสียผิวหนังทั้งหมด คือชั้น Epidermis และ Dermis ไปจนถึง Subcutaneous Fat แต่ยังไม่ถึงกล้ามเนื้อเส้นเอ็น กระดูก อาจจะมีเนื้อตายสีเหลืองโพรงใต้ผิวหนังหรือช่องได้

ระยะที่ 4

มีการสูญเสียผิวหนังทั้งหมด ไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูก อาจพบเนื้อตาย สีเหลืองและ/หรือสีดำแข็ง มีโพรงใต้ผิวหนังและช่องได้หรือคลำพบกระดูก

ระยะที่ 5

ไม่สามารถระบุระดับได้พื้นแผลทั้งหมดถูกคลุมไว้ด้วยเนื้อตายสีเหลือง สีน้ำตาล หรือเนื้อตายสีดำ ไม่เห็นความลึกของการสูญเสียชั้นของผิวหนัง จะประเมิณความลึกของแผลได้เมื่อกำจัดเนื้อตายออกแล้วเท่านั้น

ระยะที่ 6

การเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงคล้ำหรือสีแดงเลือดนกบริเวณที่ผิวหนังยังคงปกคลุมอยู่ ไม่มีการฉีกขาดหรือมีการฉีกขาดก็ได้

ที่นอนยางพาราป้องกันแผลกดทับ ที่นอนโฟม ที่นอนลม เลือกอย่างไร?

ปัจจัยหลักๆ ในการเลือกที่นอนป้องกันแผลกดทับ นอกจากคุณสมบัติในการลดสาเหตุของแผลกดทับแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติม ก็คือ

6 เหตุผล
ทำไมต้องเลือก ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง SeniaCare

คำถามที่พบบ่อย

ที่นอนลม ทำงานโดยการสลับแรงดันของลม ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว และรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วย และยังมีความเสี่ยงเกิดแผลกดทับในกรณีไฟดับ

ที่นอนโฟม ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก และยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรีย ยุบง่าย ไม่ทนทาน

ที่นอนยางพารามีความยืดหยุ่นสูง ออกแบบเป็น 3 รุ่นสำหรับทุกๆน้ำหนักตัว ป้องกันเชื้อโรค และแบคทีเรีย ป้องกันแผลติดเชื้อ ทนทาน ใช้งานได้นาน

ที่นอนยางพารามีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยุบตัวง่าย ทนทาน ใช้งานได้นาน

ที่นอน SeniaCare มีขนาดมาตราฐาน 90X200 ซม. ใช้ได้กับเตียงผู้ป่วยทุกประเภท

ผลการวิจัยด้วยเทคโนโลยีตรวจวัดแรงกดทับ XSENSOR จากสหรัฐอเมริกา พบว่าที่นอน SeniaCare ไม่ทำให้เกิดแผลกดทับ ไม่ต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อย ยืนยันจากผู้ใช้จริงกว่า 1,000 ราย

ที่นอน SeniaCare ใช้ได้กับแผลทุกระยะ และแม้ผู้ป่วยมีแผลระยะลุกลามก็กลับมาหายได้ดี

จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะ SeniaCare ป้องกันการเกิดแผลกดทับได้แม้ไม่พลิกตัวบ่อย

ที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง SeniaCare ป้องกันแผลกดทับ

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

หมอนสุขภาพสำหรับผู้ป่วย

อ่านเพิ่มเติม

ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนป้องกันแบคทีเรีย

อ่านเพิ่มเติม