เมื่อผู้ป่วยเกิดการบาดเจ็บไขสันหลัง อาจมีภาวะแทรกซ้อนมากมาย เกิดขึ้นตามมา หลังจากได้รับการบาดเจ็บ ภาวะความดันโลหิตตกก็เป็นอีกหนึ่งภาวะที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าในผู้ใดก็ตาม วันนี้ ทาง SeniaCare เลยนำความรู้ เรื่องภาวะความดันโลหิตตกขนาดเปลี่ยนท่า มาให้ทุกคนได้ศึกษาและเฝ้าระวัง ที่จะเกิดขึ้นกับ ตัวเองหรือคนที่เราดูแลอยู่
ความดันโลหิตตกขณะเปลี่ยนท่ามักเกิดในผู้ป่วยที่บาดเจ็บไขสันหลังบริเวณคอและอกส่วนต้น ระดับกระดูก T6 ขึ้นไป ซึ่งมีอาการอ่อนแรงแขนและขา หรืออัมพาตครึ่งล่างระดับสูง เป็นมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติของร่างกาย ที่ทำงานผิดปกติ เมื่อเปลี่ยนท่าจากนอนราบ ไปท่านั่งหรือยืนอย่างรวดเร็ว จะทำให้การไหลเวียนเลือดในช่องท้องและขาไม่สามารถไหลกลับได้ตามปกติ ส่งผลให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจลดลง จนทำให้เกิดภาวะความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า อาการมักไม่รุนแรงและดีขึ้นเร็วภายในสองสามสัปดาห์หลังเริ่มการฟื้นฟู
สาเหตุอื่นที่ส่งผลให้เกิดภาวะความดันตกขณะเปลี่ยนท่า
ที่นอกเหนือจาก การบาดเจ็บไขสันหลัง ได้แก่
- อายุเพิ่มขึ้น ในช่วง 65 ปีขึ้นไป ทำให้ประสิทธิภาพร่างกายในการปรับความดันโลหิตลดลง
- ความผิดปกติทางโรคหัวใจ เช่น หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ หัวใจขาดเลือด หัวใจวายเป็นต้น
- ความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน หรือสมองเสื่อมเป็นต้น
- โรคหรือภาวะผิดปกติบางชนิดเช่น ต่อมไทรอยด์ โรคเอดิสัน เบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะโลหิตจาง อือภาวการณ์ขาดน้ำเป็นต้น
อาการภาวะความดันโลหิตตกขณะเปลี่ยนท่า
- รู้สึกหวิว รู้สึกเวียนศีรษะ หน้ามืดและหน้าซีด คล้ายจะเป็นลม ในขณะ ที่เปลี่ยน เอาศีรษะ เมื่อวัดความดัน จากพบว่า ความดันโลหิตตกลง เมื่อเทียบกับท่านอน
- โดยค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure : SYS) จะลดลงมากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว (diastolic blood pressure : DIA) ลดลงมากกว่า 10 มม.ปรอท ภายใน 3 นาทีหลังเปลี่ยนท่าจากนอนเป็นนั่ง
การป้องกันภาวะความดันโลหิตตกขณะเปลี่ยนท่า
- หลีกเลี่ยงการนอนนานหรือการเปลี่ยนท่าทางอย่างทันทีทันใด และเฝ้าระวังความดันโลหิตขณะเปลี่ยนท่า
- ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยควรดื่มประมาณ 2000 ซีซีต่อวัน หรือตามที่แพทย์ได้กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ และแก้ไขภาวะซีด
- ใช้ผ้ายืดพันขาทั้งสองข้างหรือใส่ถุงน่องผ้ายืด ก่อนให้ผู้ป่วยลุกนั่ง หรือลงจากเตียง หากยังมีอาการ อาจพิจารณาใช้ผ้ายืดพันหน้าท้องร่วมด้วย
- ควบคุมปริมาณอาหาร ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงในแต่ละมื้อให้เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
การรักษาภาวะความดันโลหิตตกขณะเปลี่ยนท่า
- ฝึกให้ผู้ป่วยนั่งบ่อยๆ โดยเริ่มต้น จากการค่อยๆ ปรับองศาหัวเตียงขึ้นมาครั้งละ 15 องศา คงไว้อย่างน้อย 2 ถึง 4 นาที แล้วค่อยๆปรับเตรียมขึ้นเรื่อยๆ จนกว่า นั่งได้ตัวตรง 90 องศา ร่วมกับติดตามอาการและความดันโลหิต
- การฝึกยืนด้วยเตียงปรับเอียง ควรค่อย ๆ ปรับ โดยเริ่มจากมุมน้อย ๆ ก่อน เช่น 15 องศา แล้วตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะ พร้อมกับสังเกตและสอบถามอาการหน้ามืด และเวียนศีรษะ หากมีอาการดังกล่าว ให้ปรับมุมลดลง และตรวจเชคความดันโลหิตอีกครั้ง ระยะเวลายืนบนเตียงปรับเอียงประมาณ 20 -30 นาทีร่วมกับการฝึกการหายใจ
- ปรับศีรษะผู้ป่วยให้ต่ำลงบนเตียง กรณีที่กำลังนั่งรถเข็นแบบมาตรฐาน ให้กระดกรถเข็นไปข้างหลังให้ศีรษะผู้ป่วยต่ำลงหรือ ปรับพนักเอนลงกรณีนั่งรถเข็นแบบปรับเอนนอนได้
นอกจากภาวะความดันโลหิตตกขณะเปลี่ยนท่าที่เราควรระวังแล้วนั้น ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บไขสันหลัง หรือผู้ป่วยติดเตียง ก็ยังมีสภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ควรระวังเช่นกัน อาทิ กล้ามเนื้อ ไม่แข็งแรง ฝ่อลีบ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการออกกำลังกาย และแผลกดทับ ที่สามารถป้องกันได้ ด้วยที่นอนป้องกันแผลกดทับ ที่สร้างขึ้นมา รองรับน้ำหนักและมีการกระจายตัวของน้ำหนักได้ดี ทำให้ลดการกดทับ ต่อปุ่มกระดูกต่างๆ ที่นำมาสู่แผลกดทับ เมื่อเราป้องกันสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ก็จะทำให้ผู้ป่วยนั้นฟื้นฟูกลับมาได้เร็วยิ่งขึ้น