วิธีเลือกที่นอนเพื่อป้องกันแผลกดทับ

วิธีเลือก ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

วิธีเลือกที่นอนเพื่อป้องกันแผลกดทับ ให้ผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนเตียงผู้ป่วยเกือบทั้งวัน ภาวะแทรกซ้อนอย่างแผลกดทับจึงเป็นปัญหาชวนหนักใจที่ต้องหาวิธีป้องกันตั้งแต่ต้นทาง การเลือกที่นอนให้ผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และตามแนวทางปฎิบัติในการป้องกันแผลกดทับ SSI-ET ของโรงพยาบาลศิริราช การให้ความสำคัญกับพื้นผิวสัมผัส (surface) โดยการเลือกใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ลดแรงกด เพื่อป้องกันแผลกดทับ ถือเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันแผลกดทับที่สำคัญ

แต่จะเลือกที่นอนผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร เพื่อป้องกันแผลกดทับ ให้ได้ผลดีที่สุด ด้วยนวัตกรรมที่นอนป้องกันแผลกดทับที่หลากหลายในปัจจุบัน ทั้งที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ ที่นอนยางพารา ที่นอนโฟม ฯลฯ จึงอาจทำให้ผู้ดูแลตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไรดี เราจึงขอรวบรวมคุณสมบัติที่นอนผู้ป่วยติดเตียงมาประกอบการพิจารณา เพื่อให้ผู้ดูแลมีความมั่นใจในการเลือกใช้มากยิ่งขึ้น

6 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการ เลือกที่นอนผู้ป่วยติดเตียง เพื่อป้องกันแผลกดทับ

เลือกที่นอนผู้ป่วยติดเตียง

1. ความสามารถในการลดแรงกดทับ

เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ดังนั้นที่นอนที่สามารถช่วยลดแรงกดทับ ไม่ให้เกิดการกดทับที่มากจนปิดทางเดินเส้นเลือดฝอย จนทำให้เนื้อเยื้อตายและเกิดเป็นแผล จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้ดูแลควรตรวจสอบความสามารถในการลดแรงกดทับของที่นอนผู้ป่วยติดเตียงแต่ละประเภทก่อนทำการเลือกซื้อ โดยปัจจุบันมีนวัตกรรมตรวจวัดแรงกดทับที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยบริษัท XSENSOR ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์และที่นอน เพื่อสร้างแรงกดทับที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งาน การตรวจวัดแรงกดทับนี้จะใช้แผนภาพแรงกดทับเพื่อแสดงระดับแรงกดทับตามตำแหน่งต่าง ๆ ของร่ายกายอย่างละเอียด โดยที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง SeniaCare ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อช่วยลดแรงกดทับให้ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอทได้ทั่วร่างกาย จึงมีคุณสมบัติช่วยกระจายแรงกดทับได้ดี

2. ระยะห่างระหว่างร่างกายส่วนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับกับพื้น

เพื่อให้แน่ใจว่าที่นอนจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ผู้ดูแลต้องทำการตรวจสอบว่าหลังจากที่ผู้ป่วยนอนบนที่นอนแล้ว ระยะห่างระหว่างตำแหน่งของร่างกายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับกับพื้นเตียงต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร เพราะหากน้อยกว่านั้นแล้ว อาจส่งผลให้การรองรับแรงกดทับของที่นอนในส่วนนั้น ๆ ไม่มีประสิทธิภาพได้ หรือ เรียกว่าเกิด bottom out นั่นเอง กล่าวคือที่นอนควรมีความหนาที่เหมาะสม ไม่ทำให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้ป่วยจมลงใกล้กับฐานจนเกินไป

3. ความสามารถในการรองรับสรีระของผู้ป่วย

นอกจากความสามารถในการป้องกันแผลกดทับแล้ว ผู้ดูแลยังจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับที่นอนที่สามารถรองรับสรีระของผู้ป่วยด้วย เพราะหากที่นอนไม่มีความยืดหยุ่นที่ดี การนอนบนที่นอนเป็นระยะเวลานาน ๆ ของผู้ป่วย อาจก่อให้เกิดความปวดเมื่อย หรือปัญหาเกี่ยวกับกระดูกตามมาได้ ที่นอนที่ยืดหยุ่นได้ดี จะช่วยพยุงสรีระของผู้ป่วย และป้องกันกระดูกขดโก่ง

4. ความสามารถในการระบายอากาศ

ด้วยสภาพอากาศของประเทศไทย ที่นอนที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดีจะเหมาะสมกับการใช้งานมากกว่า เพราะจะช่วยไม่ให้เกิดความอับชื้นซึ่งเป็นต้นตอของเชื้อโรคและแบคทีเรีย และสาเหตุของผิวหนังเปราะบาง เมื่อเป็นที่นอนป้องกันแผลกดทับที่สามารถระบายอากาศได้ดี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงทั้งต่อการเกิดแผลติดเชื้อ และถือเป็นการถนอมผิวหนังผู้ป่วยไปในตัว

5. ความง่ายในการทำความสะอาดและการป้องกันเชื้อโรค

ที่นอนผู้ป่วยติดเตียงควรเป็นที่นอนที่ทำความสะอาดได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และหลาย ๆ ท่านอาจะสูญเสียความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายไปด้วย จึงควรดูแลเรื่องการทำความสะอาดร่างกายไปพร้อมกับการดูแลความสะอาดบนที่นอนของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นที่นอนที่ทำความสะอาดได้ง่ายก็จะช่วยลดภาระเรื่องการทำความสะอาดได้อีกขั้น หรือใช้ปลอกผ้าหุ้มที่มีคุณสมบัติกันน้ำก็จะช่วยให้ทำความสะอาดที่นอนได้ง่ายขึ้น

6. ความคุ้มค่าและอายุการใช้งาน

วัสดุที่ใช้ผลิตที่นอนผู้ป่วยติดเตียงมีผลต่อความคุ้มค่าและอายุการใช้งานอย่างมาก หากเป็นที่นอนลมป้องกันแผลกดทับจะใช้งานได้ประมาณ 1-2 ปี ที่นอนที่ยืดอายุได้มากขึ้นอีกนิดคือที่นอนโฟม มีอายุการใช้งานประมาณ 4-8 ปี ในขณะที่ที่นอนยางพาราจะใช้งานได้นานมากกว่า 10 ปีเลยทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของผู้ป่วย และควรพิจารณาร่วมกับคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้สามารถเลือกที่นอนได้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือคุณภาพของที่นอนป้องกันแผลกดทับที่มีความน่าเชื่อถือ อย่างเช่นที่นอนของ SeniaCare ที่ได้รับการรับรองจากอนุสิทธิบัตรในประเทศไทย อีกทั้งยังได้รับการรับรองสิทธิบัตรจากต่างประเทศอีกหลายแห่ง จึงสามารถตรวจสอบคุณภาพของที่นอนได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีแผลระดับใด เพียงมีที่นอนของ SeniaCare บวกกับกำลังใจและการดูแลของคนรอบข้างก็ช่วยให้คนที่คุณรักฟื้นฟูร่างกายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น