เราต้องยอมรับเลยว่าเมื่อเกิดสภาวะใดแก่ร่างกายหนักๆอาจนำไปสู่พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเกิดความกลัว ความไม่สบายใจ ความน้อยใจ หรือเรื่องอื่นๆ ที่ทำให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลอาจเกิดการผิดใจกันได้ โดยวันนี้ทาง SeniaCare มี 5 การรับมือกับปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เพื่อสร้างความเข้าอก เข้าใจ ในตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลมากยิ่งขึ้น
1. การถามซ้ำซาก
ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ดูแลหรือคนใกล้ชิด
วิธีรับมือ
- เบี่ยงเบนความสนใจ ชวยคุยหรือหากิจกรรมที่ผู้ป่วยชอบมาทำรวมกัน
- ถ้าผู้ป่วยสามารถอ่านได้ให้จดคำตอบใส่ในกระดาษไว้ให้อ่านเมื่อถาม
2. ก้าวร้าว
ก่อให้เกิดการทำร้าย พูดจาหยาบคาย
วิธีรับมือ
- ไม่โต้เถียงหรือชี้แจงความจริง ให้พูดด้วยน้ำเสียงนุ่มอ่อยโยน
- จัดสภาพแวดล้อมให้สบายตา มีอากาศที่สบาย เลี่ยงเสียงดังและความวุ่นวาย
- ผู้ดูแลไม่รีบเร่งในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย และจัดทำกิจวัตรให้เป็นระเบียบ
- หากมีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์
3. การรับรู้ผิดปกติและหลงผิด
เช่น เห็นภาพหลอน หูแว่ว ได้กลิ่น ได้รสชาติ หรือรู้สึกถึงบางอย่างที่ไม่ได้อยู่ตรงหน้าจริงๆ ทำให้ผู้ดูแลเกิดอาการตกใจหรือมีกังวลได้
วิธีรับมือ
- ควบคุมสติตัวเองไม่หวั่นไหวตาม
- ไม่เถียง หรือให้เหตุผล พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ
- ช่วยปลอบใจ คลายความกังวล
- หลีกเลี่ยงให้ผู้ป่วยรับข่าวสารที่มีความรุนแรง ก้าวราว
- ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ
4. กล่าวว่าคนอื่นขโมยของและซ่อนของ
ทำให้ผู้ดูแลหรือคนใกล้ชิด โกรธและเข้าใจผิด หวาดระแวงกันเอง
วิธีรับมือ
- จัดเก็บข้าวของสำคัญไว้ ให้เป็นระเบียบ แจ้งให้แก่ผู้ป่วยทราบ
- หากล่องหรือตู้ แล้วจัดของสำคัญที่ใช้ประจำ ไว้ใกล้ผู้ป่วยและล็อคแล้วไว้กุญแจใกล้ผู้ป่วย
- รับฟังและช่วยเหลือเมื่อของหาย
- ไม่เถียง แต่ให้เบี่ยงเบนความสนใจไปทางอื่นแทน
5. พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม
ยับยั้งชั่งใจหรือควบคุมตัวเองไม่ได้ หรืออาจคุกคามผู้ดูแล
วิธีรับมือ
- หาผู้ดูแลมากกว่า 1 คน หรือเป็นเพศเดียวกัน
- หาสาเหตุที่แท้จริง ว่าที่ทำไปเกิดจากอะไร ร้อนไม่สบายตัว ปวดปัสสาวะ แต่ไม่สามารถสื่อสารได้
- จัดห้องให้เย็นสบาย สร้างความผ่อนคลาย
- พบแพทย์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขต่อไป
สรุป
ทางเราขอสรุปการรับมือกับการรับมือกับปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์นั้นมีด้วยกันหลายวิธี แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น ไม่พูดจาแรงๆ ใช่เหตุผลในการแก้ไขปัญหา และเมื่อเรารับมือในการดูแลผู้ป่วยแล้ว เราอย่าลืมดูแลตัวเอง เพิ่มกำลังใจและคืนพลังให้ตัวเองด้วย เพื่อให้เราได้มีแรงกลับมาดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที