ภาวะซึมเศร้าหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง

ซึมเศร้าหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะซึมเศร้าหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยสูงอายุนั้นเป็นผลกระทบทางประสาทจิตเวชศาสตร์ ที่พบได้บ่อยสุดและเป็นภาวะแทรกซ้อน ทางจิตประสาทที่สำคัญ พบได้ทั้งในระยะเริ่มแรกและระยะหลังของการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลต่อการรักษาและการฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง ก่อให้เกิดความบกพร่องในการ ทำงาน ทั้งยังเพิ่มอัตราเสียชีวิตอีกด้วย

ภาวะซึมเศร้าหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง

เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดหลังโรคหลอดเลือดสมอง โดยมีทั้งโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุ และไม่มีสาเหตุ โรคหลอดเลือดสมองมีทั้งชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออกในสมอง รวมภาวะซึมเศร้าที่เกิดหลังโรคหลอดเลือดสมองทันทีและภาวะซึมเศร้าที่เกิดภายหลังเมื่อ ระยะเวลาผ่านไป

อาการในภาวะซึมเศร้าหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง

  • อาการด้านอารมณ์ เช่น อารมณ์เศร้า รู้สึกผิด รู้สึกไร้ค่า อาการกระสับกระส่าย
  • อาการด้านการรู้คิด เช่น ไม่มีสมาธิ ความคิดอยากตาย
  • อาการด้านร่างกาย เช่น นอนไม่หลับ ไม่มีแรง น้ำหนักลด ความอยากอาหารที่เปลี่ยนแปลง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง

  • ความรุนแรงของโรค : นั้นจะประกอบไปด้วยหลายอย่าง คือ ขีดจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัด ระดับความพิการทางด้านการเคลื่อนไหว และภาวะพร่องของสมรรถภาพสมอง หากผู้ที่ความพิการในขันรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา อ่อนแรงทั้งหมด จึงส่งผลให้ความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันลดลง ผู้ป่วยต้องพึ่งพาญาติ หรือผู้ดูแลในการทำกิจกรรมทั้งหมด ทำให้ขาดการเข้าร่วม หรือขาดสัมพันธ์กับสังคม ไม่สามารถทำงานประกอบอาชีพหรือกิจกรรมต่างๆได้เหมือนเดิม จึงเป็นผลทำให้ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้า ได้มากขึ้น
  • ตำแหน่งพยาธิสภาพ : ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่สมองซีกซ้ายจะมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่า แต่บางการศึกษา ไม่พบความแตกต่างกัน นอกจากนี้ตำแหน่งของรอยโรคบริเวณ Pallidum จะมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้เพิ่มขึ้น
  • ประวัติโรคประจำตัวทางจิตเวช : การมีโรคทางจิตเวชหรือโรคซึมเศร้าเดิมมีความเสี่ยงในการเป็น PSD ทั้งในช่วง 3 เดือนแรกหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือช่วงหลังจากนั้น
  • ประวัติโรคทางจิตเวชในครอบครัว : ผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวมีประวัติโรคทางจิตเวชจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น PSD 1.5 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ ไม่มีประวัติโรคทางจิตเวชในครอบครัว
  • เพศ : มีโอกาสที่เกิดขึ้นได้เท่าๆกันขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละเพศ

ภาวะซึมเศร้าหลังโรคหลอดเลือดสมองนั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1.แบ่งตามลักษณะอาการ

  • Major depression มีอาการความพึงพอใจในสิ่งต่างๆลดลง การรับรู้ความคิดบกพร่อง น้ำหนักลดลง มีความคิดอยากตายมากตลอดเวลา มีประวัติเคยเป็นโรคทางจิตเวช และมีรอยโรคใกล้สมองส่วนหน้า
  • Minor depression มีอาการความพึงพอใจในสิ่งต่างๆลดลง การรับรู้ความคิดบกพร่อง น้ำหนักลดลง มีความคิดอยากตายน้อยกว่าแบบแรก และมีรอยโรคส่วนหลังทางสมองซีกซ้าย

2.แบ่งตามระยะเวลาหลังโรคหลอดเลือดสมอง

  • Acute onset คือผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะของการซึมเศร้าหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง หลังช่วงที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ไม่นาน มักเป็นช่วงที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล
  • Delay onset คือกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยในช่วงติดตามการรักษาผู้ป่วยนอกหรือในช่วงฟื้นฟู

อย่างไรก็ตามภาวะซึมเศร้าหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองทำให้มีผลกระทบต่อขบวนการรักษาการฟื้นฟู อาจจะไม่ได้รับประโยชน์ในการฟื้นฟูอย่างเต็มประสิทธิภาพ การเข้าใจถึงขบวนการการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะทำให้สมาชิกในครอบครัวเข้าใจผู้ป่วยได้มากขึ้น ลดความเครียด ความกังวล ส่งผลให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นและอาการโรคหลอดเลือดสมองใช้เวลาพอสมควรทั้งการรักษาด้วยยาและการฟื้นฟูร่างกาย การรักษาต้องทำร่วมกันทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจถึงจะมีผลและประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงการเข้าใจของคนในครอบครัวและตัวผู้ป่วยเอง