ใบหน้าเป็นการแสดงออกทางใบหน้าและบ่งบอกถึงอารมณ์ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการยักคิ้ว การขยิบตา หรือการยิ้ม การเบ้ปาก แต่หากเราไม่สามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ นั่นหมายถึงว่าใบหน้าเรานั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือที่รู้จักในอีกชื่อที่เรียกว่า Bell’s palsy ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของเส้นประสาท และเป็นโรคที่อันตรายโดยสามารถพบเจอและเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย
โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือ Bell’s palsy คืออะไร
ภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือเกิดอัมพาตใบหน้าชั่วขณะ ทำให้ไม่สามารถขยับใบหน้าซีกนั้นได้ โดยมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้า หรือเส้นประสาทสมอง (Cranial Nerve) คู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติจากเชื้อไวรัส หรือมีการอักเสบทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงด้านเดียวกัน คือ เปลือกตาตกลง มุมปากตกลง หลับตาไม่สนิท น้ำไหลมุมปาก ขยับยิ้มมุมปากด้านนั้นๆ ไม่ได้
สาเหตุของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
มีอักเสบจากเชื้อไวรัส มีหลักฐานพบว่ามักเป็นจากเชื้อเริม หรือร้อนในที่ทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากและอวัยวะเพศ นอกจากนั้นอาจเป็นจากเชื้ออื่นๆ ที่แฝงอยู่ในปมประสาท เช่น งูสวัดการอักเสบไวรัสโรคอีสุกอีใส ไวรัสเอปสไตน์บาร์ หรือเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคไลม์ ทำให้เส้นประสาทบวม มีผลทำให้เส้นเลือดเล็กๆ ที่เลี้ยงเส้นประสาทส่งเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทไม่ได้ รบกวนการทำงานของเส้นประสาททำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าให้ทำงานได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
- หญิงตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า โดยเฉพาะระยะสามเดือนสุดท้าย และหลังคลอดบุตร
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือติดเชื้อ HIV เป็นต้น
- กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
- ผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง
- ผู้ที่มีภาวะเครียดสูง ทำงานหนัก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอร่างกายอ่อนแอ ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำลง
- ผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจมาก่อน เช่น โรคหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่
อาการของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
อาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และรุนแรงภายใน 48 ชั่วโมง โดยจะมีอาการ ดังนี้
- มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ใบหน้าชา
- ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ หรือมีเศษอาหารตกค้างอยู่บริเวณกระพุ้งแก้มข้างที่มีอาการ
- ไม่สามารถยักคิ้วได้ ตาปิดไม่สนิท หนังตาตก
- ปากเบี้ยว มุมปากตก เมื่อดื่มน้ำจะมีแล้วไหลออกมาจากมุมปาก
- บางรายอาจมีอาการปวดบริเวณหลังใบหู และได้ยินเสียงดังมากผิดปกติระยะแรก
- มีอาการระคายเคืองที่ตา รู้สึกตาแห้ง หรือมีน้ำตาไหล
- รับรสชาติได้น้อยลง
การรักษาโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
- การใช้ยาแก้อักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ การให้ยาฆ่าเชื้อไวรัส
- การกายภาพบำบัด เพื่อฝึกหรือกระตุ้นให้กล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงได้ทำงาน รอการฟื้นตัวของเส้นประสาท สามารถทำได้ดังนี้
- ประคบอุ่นบริเวณใบหน้าซีกที่มีอาการ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อใบหน้า
- กระตุ้นไฟฟ้าบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้าที่มีอาการอ่อนแรง เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีการหดคลายตัวเป็นการชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อและฝึกการเรียนรู้
- การนวดใบหน้า เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีการหดคลายตัวเป็นการชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
- การบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรง โดยมีท่าดังนี้
- ท่ายักคิ้วขึ้นทั้งสองข้าง
- ท่าขมวดคิ้วเข้าหากัน
- ท่าหลับตาปี๋
- ท่าย่นจมูกขึ้น
- ท่าทำจมูกบาน
- ท่ายิ้มเห็นฟัน
- ท่ายิ้มไม่เห็นฟัน
- ท่าทำปากจู่
- ท่าหย่นคาง
อย่างที่ทราบกันว่าโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ฉะนั้นเราควรระมัดระวังให้มากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยติดเตียงอยู่แล้ว เราก็ควรระวังเช่นกัน ไม่ใช่เพียงระวังแต่ภาวะแทรกซ้อนอย่างแผลกดทับ ที่สามารถใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับช่วยป้องกันได้ แต่อาการเหล่านี้ควรสังเกต และทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ในส่วนของผู้ดูแลก็สามารถเกิดได้เช่นกันฉะนั้นทำจิตใจให้แจ่มใสและผ่อนคลายให้สบาย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิด