โรคหลอดเลือดสมอง หนึ่งสาเหตุที่ทำให้ติดเตียง

โรคหลอดเลือดสมองสาเหตุนอนติดเตียง

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุอันดับต้นๆของการเสียชีวิตหรือติดเตียงในประเทศไทย โดยโรคหลอดเลือดสมองคือภาวะที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้สมองขาดเลือดหรือออกซิเจน หากไม่ได้รักการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจนำไปสู่การสูญเสียได้

โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 ชนิด

1.โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic stroke) แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย

  • ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic stroke) เกิดจากการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง โดยเกิดจากภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้
  • การอุดตัน (Embolic stroke) เกิดจากการที่หลอดเลือดอุดตันจนทำให้เลือดไปไหลเวียนที่สมองไม่เพียงพอ

2.โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke)

  • โรคหลอดหลอดสมองโป่งพอง (Aneurysm) เกิดจากการที่หลอดเลือดอ่อนแอ
  • โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ (Arteriovenous Malformation) เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดสมองตั้งแต่กำเนิด

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 แบบ

1.ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

  • อายุ : ผู้สูงอายุที่มากกว่า 45 ปี ขึ้นไป แต่ในช่วงอายุอื่นๆก็สามารถเกิดได้เช่นกัน
  • เพศ : ชาย มากกว่า หญิง
  • พันธุกรรม : ครอบครัวมีประวัติ

2.ปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

  • โรคประจำตัว (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง)
  • บุหรี่ แอลกอฮอล์
  • ความอ้วน
  • โรคหัวใจ
  • สารเสพติด
  • คลอเรสเตอรอลสูง

อาการและอาการแสดง

สามารถพบได้หลายอาการ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหลอดเลือดที่เกิดพยาธิสภาพ โดยที่อาการที่พบบ่อยและช่วยในการสังเกต ได้แก่

  • อาการอ่อนแรง อาการชา เกิดขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยส่วนมากมักเกิดขึ้นกับร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง
  • การทรงตัวมีปัญหา
  • เวียนศีรษะเฉียบพลัน
  • การพูด เช่น พูดติด เสียงไม่ชัด พูดไม่ได้
  • เห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็นบางส่วน

ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือเกิดขึ้นชั่วคราวขณะหนึ่งเพื่อเป็นสัญญาณเตือนแล้วหายไปเองหรือเกิดขึ้นหลายครั้งจนเป็นอาการแบบถาวร เรียกว่าภาวะมีสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA)

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

  • รับประทานอาการที่มีประโยชน์ ลด อาการไขมันสูง รสเค็มจัด
  • ควบคุมตามหนักให้อยู่ในเกินมาตรฐาน
  • ออกกำลังกาย แบบแอโรบิก ประมาณ 3 – 5 วันต่อสัปดาห์
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ในผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรทานยาให้ตรงตามแพทย์สั่งไม่ขาดหรือเกิน ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควบคุมให้อยู่ในค่าที่เหมาะสม คือไม่เกิน 140/90 มม.
  • งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
  • กรณีที่เป็นโรคหัวใจควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะควรได้รับยาป้องกันเลือดแข็งตัว

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

  • ยาละลายลิ่มเลือด ใช้เพื่อละลายเลือดที่อุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนดีขั้น ได้รับเร็วเท่าไรยิ่งเนื่องจากจะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาดียิ่งขั้น
  • ยาต้านเกล็ดเลือด ช่วยป้องกันการก่อตัวของเกล็ดเลือด ทำให้การอุดตันลดน้อยลดลง
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ใช้ในผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำในระยะยาว
  • การทำกายภาพบำบัด

หากผู้ป่วยเกิดมาอาการและเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของผู้ป่วยก็จะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ และอาจเริ่มกลับมาภายใน 6 เดือน แต่ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับส่วนที่ได้รับความเสียหายและหากได้รับการรักษาที่ช้าก็อาจใช้เวลานานในการฟื้นฟู ในช่วงที่รอการฟื้นฟูอาจมีเตรียมสิ่งของในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยการใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับ การช่วยออกกำลังกายในช่วงแรก เพื่อเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูในอนาคต