5 อุปกรณ์จำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

อุปกรณ์จำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ถ้าอยู่ ๆ คุณได้รับหน้าที่ให้ต้องดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุภายในบ้านที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่และหนักหน่วงที่ผู้ดูแลต้องเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ จึงจะสามารถผ่านโจทย์ที่แสนท้าทายนี้ไปได้ โดยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดไว้ที่บ้าน เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา ซึ่งอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นต้องมี จะมีอะไรบ้างนั้น วันนี้เราได้ลิสต์มาให้คุณแล้ว 5 อย่าง เตรียมหาซื้อมาให้ครบ แล้วคุณจะพบว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับนั้น ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย

5 อุปกรณ์มีไว้ดี ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงง่ายขึ้น

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

1. ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ อุปกรณ์ชิ้นแรกที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะชีวิตประจำวันกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยติดเตียงจะอยู่บนที่นอนเป็นส่วนมาก ฉะนั้นหากไม่เลือกที่นอนที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดแผลกดทับได้ โดยที่นอนผู้ป่วยติดเตียงที่นิยมใช้ประเภทหลักๆ คือ ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ ที่มีการใช้มาเป็นเวลานาน แต่ปัจจุบันได้มีที่นอนป้องกันแผลกดทับประเภทอื่นๆ ออกมาให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลได้เลือกเยอะขึ้น และบางรุ่นก็มีคุณสมบัติในการกระจายแรงกดทับได้ดี ทำให้ไม่จำเป็นต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ เทคนิคการเลือกที่นอนให้ผู้ป่วยติดเตียง

เตียงนอนผู้ป่วย

2. เตียงนอน

เมื่อได้ที่นอนแล้วอุปกรณ์ต่อไปที่จำเป็นไม่แพ้กัน และถือเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้คู่กันกับที่นอน ก็คือเตียงนอนนั่นเอง โดยเตียงนอนของผู้ป่วยติดเตียงควรเป็นเตียงที่มีราวกั้นด้านข้าง เพื่อป้องกันการพลัดตก รวมถึงต้องเป็นเตียงที่ปรับระดับได้ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งแบบมือหมุนและแบบไฟฟ้า โดยสามารถปรับได้ถึงระดับความสูงต่ำของเตียง และปรับพนักบริเวณหัวเตียง เพื่อให้สะดวกในการประคองผู้ป่วยเวลารับประทานอาหาร พลิกตัวเปลี่ยนท่า หรือเคลื่อนย้าย

อุปกรณ์ตรวจวัดทางการแพทย์

3. อุปกรณ์ตรวจวัดทางการแพทย์

กรณีผู้ป่วยติดเตียงที่มีโรคประจำตัว จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ตรวจวัดทางการแพทย์ เพื่อตรวจสภาพร่างกายว่ายังอยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่หรือไม่ เป็นการป้องกันการกำเริบของโรคประจำตัว รวมถึงป้องการการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วย โดยอุปกรณ์ตรวจวัดที่ต้องมีนั้น อาทิ อุปกรณ์ตรวจวัดความดัน อุณหภูมิร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด โดยให้จัดเก็บไว้ในตำแหน่งใกล้เตียงผู้ป่วย เพื่อให้สามารถหยิบใช้ได้ในทันที

รถเข็น

4. รถเข็น

อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่หากไม่มีคงสร้างความลำบากให้กับผู้ดูแลไม่น้อย นั่นก็คือ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายเพื่อไปห้องน้ำ เดินเล่นนอกบ้าน หรือนำส่งขึ้นรถเพื่อออกไปนอกบ้าน เพราะหากไม่มีอุปกรณ์ชิ้นนี้ช่วยเบาแรง เท่ากับว่าผู้ดูแลต้องแบกหรืออุ้มผู้ป่วยทุกครั้งที่ต้องการเคลื่อนย้าย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแต่ละวันของผู้ดูแลคงผ่านไปได้ค่อนข้างลำบากไม่น้อยเลยทีเดียว

ราวจับ

5. ราวจับ

ควรมีติดตั้งในทุก ๆ ที่ที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ ห้องน้ำ ทางเดินระหว่างเตียงถึงห้องน้ำ รวมถึงสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภายในบ้านที่เป็นมุมประจำอีกด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยช่วยพยุงตัวเองในการลุกนั่ง โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้นอกจากช่วยผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยเบาแรงผู้ดูแลได้พอสมควร

ได้ทราบกันไปแล้วว่าอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีสำหรับผู้ป่วยติดเตียงทั้ง 5 ชิ้นนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งล้วนแต่เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทั้งผู้ป่วย ช่วยทั้งคนดูแลไปพร้อม ๆ กัน โดยจะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ชิ้นที่สำคัญที่สุดนั้น คงหนีไม่พ้นที่นอน เพราะเป็นชิ้นที่รับหน้าที่หนักในการรองรับสรีระผู้ป่วยตลอดทั้งวัน จึงจำเป็นต้องเลือกที่นอนป้องกันแผลกดทับที่มีคุณภาพอย่างที่นอน SeniaCare ผู้เชี่ยวชาญด้านที่นอน และได้สร้างที่นอนที่ใช้เทคโนโลยี Intelligent body pressure release system (IBPRS) ลดแรงกดทับได้อย่างเห็นผล เป็นที่นอนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียงเป็นอย่างมาก ช่วยคืนการนอนหลับที่มีความสุข และมีคุณภาพหลับได้ลึกมากขึ้นกว่าเดิม