4 เหตุผลที่ต้องป้องกันแผลกดทับ ไม่ให้เกิดกับผู้ป่วยติดเตียง เพราะสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงแล้ว สิ่งที่น่ากังวลที่สุดอย่างหนึ่งคือแผลกดทับติดเชื้อที่สร้างความเจ็บปวดทางร่างกายของผู้ป่วย จนอาจคิดไม่ตกว่าควรจะพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยแค่ไหน ต้องจัดท่านั่งและท่านอนให้กับผู้ป่วยอย่างไรบ้าง จะต้องดูแลความสะอาดบนที่นอนผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร ฯลฯ สารพัดความกังวลเหล่านี้จะลดลง เพียงเรียนรู้ถึงสาเหตุที่ต้องป้องกันแผลกดทับ ก็จะช่วยให้เข้าใจที่มาที่ไปและวิธีดูแลผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น ไม่ทำให้เราเผลอดูแลร่างกายผู้ป่วยแบบผิด ๆ ถูก ๆ อีกต่อไป
1. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา
เมื่อเกิดแผลกดทับไปถึงระยะที่ 3 และระยะที่ 4 แล้ว แผลจะเสี่ยงติดเชื้อมากยิ่งขึ้น เพราะปากแผลเปิดถึงระดับเนื้อเยื่อ ภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาหลังติดเชื้อมีตั้งแต่เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะเนื้อเน่าหรือแบคทีเรียกินเนื้อจนต้องตัดอวัยวะบริเวณดังกล่าว ติดเชื้อที่กระดูกและข้อต่อ ไปจนถึงมะเร็งผิวหนัง สิ่งเหล่านี้แม้จะดูน่ากลัวแต่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการของแผลกดทับในระยะแรก ดังนั้นการหมั่นสังเกตผิวของผู้ป่วยอยู่เสมอจะช่วยให้เราสามารถรักษาอาการของแผลกดทับได้ตั้งแต่ในระยะแรก
2. ป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์
เมื่อเกิดแผลแล้ว สารคัดหลั่งต่าง ๆ ที่เปรอะเปื้อนบนที่นอนผู้ติดเตียงอาจสะสมอยู่จนส่งผลให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้ดูแล การทำความสะอาดจึงเป็นสิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง อีกทั้งกลิ่นยังเป็นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่ง หากดูแลรักษาความสะอาดอย่างดี มีกลิ่นในห้องนอนที่สะอาดสดชื่น ก็จะช่วยให้บรรยากาศรอบตัวดี จิตใจของผู้ป่วยก็พลอยดีตามไปด้วย
3. ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของผู้ป่วยติดเตียง
แน่นอนว่าเมื่อเกิดแผลบนผิวหนังย่อมทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่น่าดูเท่าไรนัก การป้องกันแผลกดทับจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยรักษาภาพลักษณ์ของคนที่เรารัก เพราะภาพลักษณ์สามารถส่งผลถึงสภาพจิตใจได้อย่างมีนัยสำคัญ หากผู้ดูแลให้ความเอาใจใส่ดูแลภาพลักษณ์ของผู้ป่วยอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตที่ดี และมีกำลังใจในการฟื้นฟูร่างกาย
4. อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
แผลกดทับสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนดังที่ได้กล่าวไปในข้อที่ 1 เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว จากเดิมที่มีปัญหาเพียงบนผิวหนังก็จะลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ จนส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายทั้งระบบ เมื่อถึงเวลานั้นก็จะทำให้ทุกอย่างสายเกินแก้ได้ จึงควรป้องกันแผลกดทับด้วยการตรวจสภาพผิวหนังของผู้ป่วยติดเตียงอย่างสม่ำเสมอ
วิธีป้องกันแผลกดทับมีตั้งแต่การตรวจสภาพผิวหนังของผู้ป่วยติดเตียง การทำความสะอาดที่นอน การทำความสะอาดแผลที่ถูกต้องในระยะแรก ๆ ไปจนถึงการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง โดยเลือกใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับเพื่อช่วยกระจาย และลดแรงกดทับบนที่นอนผู้ป่วยติดเตียง อาจเป็นที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ แต่จะมีความยุ่งยากเรื่องการใช้ไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือจะใช้ที่นอนยางพาราชนิดพิเศษของ SeniaCare ที่ได้รับการยืนยันจากผู้ใช้งานจริงหลายรายว่าสามารถช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อย ด้วยความยืดหยุ่นของยางพาราจึงช่วยรองรับสรีระร่างกายได้อย่างดี ช่วยบรรเทาอาการแผลเก่า ป้องกันไม่ให้เกิดแผลใหม่ รักษาความสะอาดได้ง่ายกว่าที่นอนผ้า จึงเป็นตัวช่วยดี ๆ ที่จะคืนความสุขให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแลได้ในเร็ววัน