4 เทคนิคสร้างบรรยากาศในบ้านให้น่าอยู่เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ป่วยติดเตียง

เทคนิคสร้างบรรยากาศให้บ้านน่าอยู่

หากคุณมีผู้ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน นอกเหนือจากการดูแลไม่ให้เกิดแผลกดทับ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ แล้ว ยังจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้เหมาะสม น่าอยู่ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายและใจที่ดีในทุก ๆ วัน ซึ่งวันนี้เรามี 4 เทคนิคง่าย ๆ ในการเนรมิตบรรยากาศภายในบ้านให้น่าอยู่มาฝาก จะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปดูกันได้เลย

ความสะอาดคือหัวใจสำคัญ

1. ความสะอาดคือหัวใจสำคัญ

ต่อให้คุณจะสร้างบ้าน หรือจัดบ้านที่น่าอยู่และสวยงามขนาดไหน แต่บ้านกลับเต็มไปด้วยคราบฝุ่นและกองขยะ รวมถึงกลิ่นอับชื้นที่ไม่พึงประสงค์ สิ่งเหล่านี้ก็จะกลบความน่าอยู่ไปจนหมดสิ้น ฉะนั้นเทคนิคแรกที่ควรเริ่มทำเป็นประการแรก คือการโละ รื้อ ทิ้ง และปัดกวาดเช็ดถูภายในบ้านเสียใหม่ โดยเฉพาะการทำความสะอาดที่นอน ไม่ว่าจะเป็นที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ หรือ ที่นอนป้องกันแผลกดทับประเภทใดก็ตามที่ผู้ป่วยใช้นอนอยู่เป็นประจำ เพื่อมอบสุขอนามัยที่ดี ก่อนนำไปสู่ก้าวต่อไปของการสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

อากาศถ่ายเทได้สะดวก

2. อากาศถ่ายเทได้สะดวก

เมื่อห้องสะอาดแล้ว เทคนิคต่อไปเป็นการจัดการเรื่องอากาศภายในบ้าน บ้านที่อบอ้าว อึดอัด ปิดมืดดูขมุกขมัว จะส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยโดยตรง โดยเฉพาะในบริเวณที่นอนผู้ป่วยติดเตียงที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีลมโชยอ่อน ๆ มีโซนรับไออุ่นจากแสงแดดยามเช้า สิ่งเหล่านี้จะนำพามาซึ่งสุขภาพกายที่ดีขึ้น และส่งผลให้สุขภาพใจดีตามไปด้วย เรียกได้ว่าแม้ตัวป่วยแต่ใจไม่ป่วยตาม

มีพื้นที่สีเขียว

3. มีพื้นที่สีเขียว

นอกจากที่นอนป้องกันแผลกดทับที่จะช่วยเยียวยาและบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ธรรมชาติก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยติดเตียงได้เช่นกัน เทคนิคที่ 3 ในการสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้น่าอยู่จึงควรมีพื้นที่สีเขียวในบริเวณที่ผู้ป่วยติดเตียงสามารถมองเห็นและเพลิดเพลินได้ในทุก ๆ วัน เพราะสีเขียวของธรรมชาติจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดลงได้ และนอนหลับได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

มีแสงสว่างภายในบ้านที่เหมาะสม

4. มีแสงสว่างภายในบ้านที่เหมาะสม

บ้านที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ มืดทึบ อาจส่งผลให้จิตใจของผู้อยู่อาศัยหม่นหมองตามได้ ผู้ดูแลจึงควรใส่ใจเรื่องความสว่างภายในบ้าน และห้องนอนของผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสม โดยแสงที่ดีที่สุดคือแสงธรรมชาติ หากเป็นไปได้ควรเลือกห้องนอนผู้ป่วยติดเตียงที่มีหน้าต่างให้แสงส่องเข้ามาภายในห้องได้อย่างเพียงพอ เพราะแสงธรรมชาติคือแสงที่สบายตาที่สุดสำหรับมนุษย์ แต่หากแสงธรรมชาติส่องเข้ามาในห้องผู้ป่วยติดเตียงไม่เพียงพอ เราสามารถเพิ่มแสงสว่างด้วยหลอดไฟได้ โดยควรใช้หลอดไฟโทน natural white หรือ warm white ซึ่งสร้างความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลายให้กับผู้ป่วยได้ดีกว่าหมอนไฟ cool white

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ SeniaCare

ท้ายที่สุดบรรยากาศในบ้านจะน่าอยู่มากน้อยเพียงใด สิ่งสำคัญอีกประการก็คือสมาชิกภายในบ้าน ที่ต้องมีความเข้าใจในอาการของผู้ป่วย มีรอยยิ้มและกำลังใจให้อยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดาย แม้อาการทางกายอย่างแผลกดทับหรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ จะดูน่ากลัว แต่อาการทางใจที่เกิดจากสภาพจิตใจที่ขาดการดูแลเอาใจใส่จนสามารถเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้ ก็น่ากลัวไม่แพ้กัน และต้องไม่ลืมที่จะเลือกที่นอนผู้ป่วยติดเตียง ที่เหมาะสม ที่สามารถช่วยป้องกันแผลกดทับ เพื่อไม่สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นด้วย

เห็นไหมว่าเทคนิคทั้ง 4 ข้อที่นำมาฝากนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ยากเลย เทคนิคง่าย ๆ ที่หลาย ๆ คนอาจหลงลืมไปบ้าง แต่ในเมื่อตอนนี้ได้รู้แล้วก็อย่าลืมทำทุกข้อให้ครบถ้วน เพื่อมอบบ้านที่น่าอยู่ให้ผู้ป่วยติดเตียงได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในทุก ๆ วัน