แผลกดทับนับเป็นอีกหนึ่งปัญหาแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ดูแลหนักใจ
เพราะเมื่อเกิดแผลกดทับขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็มากขึ้นและยังยืดระยะเวลาออกไปอีก การเลือกใช้อุปกรณ์เสริมในการลดแรงกดทับจึงเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ในระยะยาว และเป็นอีกวิธีที่ช่วยในการป้องกันแผลกดทับ อุปกรณ์ที่ช่วยในการลดแรงกดทับที่เรารู้จักกันดีนั่นก็คือ เตียงลม หรือที่นอนลม แต่ก่อนที่จะเลือกอุปกรณ์ที่ช่วยในการลดแรงกดทับ เตียงลม หรือที่นอนลมกันแผลกดทับ สิ่งหนึ่งที่ผู้ดูแลต้องมีความรู้และความเข้าใจเลยก็คือแผลกดทับอยู่ในระดับไหน มีความรุนแรงมากแค่ไหน เพื่อที่จะได้ดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
แผลกดทับ คือ แผลที่เกิดจากการถูกกดทับเป็นเวลานานๆ จนทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย กลายเป็นแผลขึ้นมา มักเกิดบริเวณปุ่มกระดูก หรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับ ไม่สามารถขยับตัวพลิกไปมา ทำให้เลือดไม่สามารถผ่านไปยังพื้นที่ที่น้ำหนักตัวกดทับได้ เช่น ศีรษะ ไหล่ แผ่นสะโพก หลัง ข้อศอก เท้า จึงเกิดการตายของเนื้อเยื่อและเกิดเป็นแผลกดทับ สร้างความทรมานให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
ปัญหาแผลกดทับเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงวัยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ช่วยเหลือตนเองได้น้อย ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการแผลกดทับ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากผู้ป่วยได้รับการใส่ใจดูแลเป็นอย่างดี ก็จะทำให้แผลของผู้ป่วยหายเร็ว ลดโอกาสการเกิดแผลใหม่ๆ ขึ้นมา ช่วยลดความทรมานให้ผู้ป่วยได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ คิดว่าเป็นแค่แผลธรรมดา อาจทำให้กลายเป็นแผลขั้นรุนแรงมากได้
ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016.
1. ระดับ1 ผิวหนังยังสมบูรณ์แต่พบรอยแดงเฉพาะที่พบความเจ็บปวด แข็ง นิ่ม ร้อน หรือ เย็น กว่าผิวหนังข้างเคียง
2. ระดับ2 มีการสูญเสียของชั้นdermisลักษณะพื้นผิวแผลสีแดงชมพู อาจมีลักษณะผิวหนังที่มีตุ่มพองน้ำที่มีน้ำเหลืองอยู่ข้างใน (serum-filled blister) อยู่บนผิวหนัง หรือมีการแตกของตุ่มพองน้ำ อาจจะพบเป็นแอ่งตื้นๆ เห็นเป็นมันวาวหรือแห้งไม่รวมผิวหนังที่ฉีกขาดจากการดึงรั้งของ พลาสเตอร์ หรือผิวหนังที่เปื่อยยุ่ย อักเสบ หรือถูกทำลายจากการสัมผัสความเปียกชื้น
3 .ระดับ3 มีการสูญเสียของผิวหนังทั้งหมดคือชั้น epidermis และdermis และอาจถึงชั้นsubcutaneous fat แต่จะไม่ถึงชั้นกล้ามเนื้อเส้นเอ็นและกระดูกพื้นผิวแผลบางส่วนจะมีเนื้อตายแต่เนื้อตายไม่ปิดบังความลึกของชั้นเนื้อเยื่อที่สูญเสียไปอาจจะมีโพรงแผล และหลุมแผลเกิดขึ้น
4.ระดับ4 มีการสูญเสียผิวหนังทั้งหมดแผลมองเห็นชั้นกล้ามเนื้อเส้นเอ็นและกระดูกอาจจะมีเนื้อตายที่มีลักษณะเหนียว (slough) หรือเนื้อตายที่เป็นสะเก็ด (eschar) แผ่นหนาติดอยู่ที่พื้นแผลส่วนใหญ่พบร่วมกับโพรงและช่องใต้ผิวหนัง
จากการศึกษาของ Rujapa Jiamtanopachai และSuvimon Sanveingchan16 พบว่า การลดแรงกดทับโดยการเปลี่ยนท่านอนด้วยการพลิกตัวทุก 2,3,4ชั่วโมง การใช้ที่นอนเฉพาะเช่น โฟม สามารถลดและกระจายแรงดันที่ผิวหนัง ส่งผลให้อัตราการเกิดแผลกดทับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถเลือกที่นอนน้ำหรือที่นอนลมก็ได้ เนื่องจากการศึกษาของWorsley และคณะ17 พบว่า แรงกดบนพื้นผิวเบาะไม่แตกต่างกันทั้งชนิดและยี่ห้อที่นอนลมหรือ เตียงลม เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยบรรเทาความทุกข์จากการเกิดแผลกดทับให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับตัวได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยนอนติดเตียง
ที่นอนลมเหมาะกับผู้ป่วยแบบไหน
ข้อจำกัดของที่นอนกันแผลกดทับแบบลม
1. ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Phlebothrombosis) ผู้ป่วยกระดูกสันหลังหัก ซึ่งอาจมีการเคลื่อนที่ของกระดูก (Unstable spinal fractures) และผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บเกี่ยวกับไขสันหลัง มีการแตกหักของกระดูกที่ยังไม่เข้าที่ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของผิวแผ่นที่นอนลมอาจเป็นอันตรายได้
2.เตียงลม หรือที่นอนลมกันแผลกดทับพบว่ามีการใช้งาน 24 ชั่วโมง จะพบเรื่องการไม่พร้อมใช้เนื่องจากการส่งซ่อมบำรุงบ่อย ส่วนใหญ่มาจากสาเหตุการโดนของมีคมเกี่ยวจนเป็นรูรั่วเมื่อพบเพียงจุดเดียวอาจมีการเสียหายจุดอื่นตามมา หรืออาจเกิดจากปั๊มลมที่นอนลมชำรุดหรืออื่นๆ
3.เตียงลม หรือที่นอนลมอาจทำให้เกิดอาการช็อคหมดสติจากการทำงานผิดปกติของเครื่อง หรืออาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกายจากการรั่วของกระแสไฟฟ้าได้
ถ้าผู้ดูแลมีความจำเป็นต้องใช้เตียงลม หรือที่นอนลมที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้ ก็จะพบปัญหาตามมาคือ แผลกดทับเดิมจะรุนแรงขึ้นและจะเกิดแผลกดทับใหม่ได้ ดังนั้นผู้ดูแลควรส่งซ่อมเตียงลม หรือที่นอนลมทันทีและควรมีเตียงลม หรือที่นอนลมกันแผลกดทับสำรองไว้
ที่นอนกันแผลกดทับหลักๆ แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันดังนี้
1.เตียงลม หรือที่นอนลม แบ่งเป็นสองประเภทที่นิยมใช้กัน
• ที่นอนลมแบบลอนขวาง: สามารถลดแรงกดทับได้ดีกว่า ลดโอกาสที่แผลจะสัมผัสกับผิวเตียงเป็นเวลานานๆ โดยใช้พลังงานปั๊มลมไฟฟ้าในการทำให้เตียงขยับตามช่วงเวลา
• ที่นอนลมแบบรังผึ้ง: ที่นอนลมแบบรังผึ้ง มีลักษณะเหมือนบับเบิ้ล สามารถยุบได้หลาสลับกันไปบนเตียง
2.ที่นอนยางพารา ด้วยเนื้อยางพาราเป็นเนื้อที่มีความหนาแน่น พร้อมทั้งมีรูระบายอากาศทั่วทั้งแผ่น นอกจากจะไม่แข็งจนทำให้เกิดแรงกดทับที่มากแล้ว ยังช่วยระบายความร้อน และยืดหยุ่นรองรับน้ำหนักของผู้ป่วยได้ดีที่สุด ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตลอดทั้งวันรองรับน้ำหนักตัวได้ดี ที่นอนยางพาราเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ช่วยลดการกดทับของน้ำหนักตัว อันเป็นสาเหตุของการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะไหล่ หลัง สะโพก ทำให้นอนหลับสบาย หลับสนิท ตลอดการพักผ่อน ประการสำคัญเวลาที่คนสูงอายุนั่งหรือนอนลงไป จะทำให้เกิดแรงต้านจากชิ้นโฟมยางพารา จึงเสมือนเป็นการนวดตัว ทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากอาการปวดเมื่อย เนื่องจากที่นอนทั่วไปจะทำให้เกิดแรงกดที่นุ่มยวบ จึงทำให้รู้สึกปวดเมื่อยเวลาใช้งาน ซึ่งทีนอนยางพาราเหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยนอนติดเตียง และผ่าตัดกระดูกสันหลังจากการที่กระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งทำให้รู้สึกปวดเมื่อยหลัง หรือผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บเกี่ยวกับไขสันหลังต้องอยู่ในท่าที่ไม่เคลื่อนไหว ตลอดจนวัยทำงานที่รักสุขภาพ
กล่าวคือเมื่อผิวหนังที่บอบบางของผู้สูงวัยถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวกเท่าที่ควร ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะมีรอยแดง เกิดความอับชื้นสูงขึ้น แรงกดทับทำให้เกิดการบาดเจ็บทำลายของผิวหนัง ถ้าท่านไม่ได้รับการป้องกันดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับตามมาได้ เป็นอันตราย ส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ รวมถึงก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อและเสียชีวิตได้
ท่านสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เสริมได้ เช่น หมอนนุ่มๆ ขนาดต่างๆลดแรงกดทับ เตียงลม หรือที่นอนลม หรืออาจจะเป็นที่นอนยางพาราเพื่อป้องกันการกิดแผลกดทับ ปัจจุบันนี้ราคาย่อมเยาว์ขึ้น หาซื้อได้ง่ายมากขึ้น การป้องกันแผลกดทับเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลกระทบให้เกิดแผล ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับตามมาได้
ผู้เขียนขอเสนอความเห็นว่า การเปลี่ยนท่านอนด้วยการพลิกตัวทุก 2,3,4ชั่วโมง ร่วมกับการใช้เตียงลม หรือที่นอนยางพาราซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดแผลกดทับลงได้ ทั้งนี้ยังคงต้องดูแลรักษาความสะอาดอุปกรณ์ที่ช่วยในการลดแรงกดทับ ผู้ดูแลต้องใส่ใจในทุกเรื่องของผู้ป่วยด้วย เพราะหากผู้ป่วยได้รับการใส่ใจดูแลเป็นอย่างดี ก็จะทำให้แผลของผู้ป่วยหายเร็วขึ้น ลดโอกาสการเกิดแผลกดทับใหม่ๆ ขึ้นได้ ช่วยลดความทรมานให้ผู้ป่วยได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ คิดว่าเป็นแค่แผลธรรมดา อาจทำให้กลายเป็นแผลขั้นรุนแรงมากได้ รวมทั้งเมื่อเกิดแผลกดทับขึ้น การได้ปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมตามระดับของแผล เป็นการป้องกันไม่ให้แผลลุกลามมากขึ้นได้ การลดแรงกดที่เหมาะสมรวมทั้งการดูแลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็จะทำให้การหายของแผลกดทับเป็นไปได้อย่างดี