อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุติดเตียง / ผู้สูงอายุพึ่งพิง

อาหารสำหรับผู้สูงอายุ

ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน การแพทย์ ส่งผลให้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น จนทำให้สังคมในปัจจุบันนั้นเริ่มก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ หลายครอบครัวจึงอาจต้องประสบปัญหาการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการดูแล ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิง ซึ่งควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดกับผู้ป่วยติดเตียง การป้องกันการเกิดแผลกดทับ และการเลือกอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียง

อาหารและโภชนาการนับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งก่อนสิ้นอายุขัยเพื่อการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกายจิตใจและสติปัญญา และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นสรีระร่างกายและระบบต่างๆ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งแต่ละคนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงช้าหรือเร็วต่างกัน ขึ้นอยู่กับ กรรมพันธุ์ โภชนาการ วิถีชีวิต โรคภัยไข้เจ็บ และสภาพแวดล้อม แต่ผู้สูงอายุสามารถยืดเวลาสำหรับการมีร่างกายแข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นานขึ้น ด้วยการมีโภชนาการที่ดี ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียงต้องการสารอาหารต่างๆเหมือนกับคนทั่วไปไม่ว่าจะเป็นโปรตีนคาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ แต่ในปริมาณที่ต่างกับผู้ที่อายุน้อยกว่าการได้สารอาหารที่ครบถ้วนอาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก สำหรับผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงที่มีปัญหาทางสุขภาพที่ทำให้การรับประทานอาหารถูกจำกัด เช่น ปัญหาของระบบทางเดินอาหาร ปัญหาการเคี้ยว การกลืนอาหาร หรือแม้แต่ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิง ที่ต้องรับประทานยามากๆ จนอาจทำให้ไม่หิว รวมไปถึงประสาทรับรู้รสที่เปลี่ยนไป

อาหารและโภชนามการผู้สูงวัย

ภาวะโภชนาการเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อภาวะสุขภาพและความผาสุกของผู้สูงอายุ เนื่องจากวัย
สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย พบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะเป็นผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิง จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดทุพโภชนาการ ปัญหาการย่อยการดูดซึม ปัญหาการขับถ่าย ปัญหาความต้องการใยอาหารเพิ่มเป็นพิเศษ ปัญหาความต้องการรับอาหารทางสายยาง เหล่านี้เป็นเหตุผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงแต่ละกลุ่มควรได้รับประทานอาหารสูตรเฉพาะ แต่ยังคงมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพครบ 5 หมู่อย่างครบถ้วน นั่นคือ

อาหาร 5 หมู่

หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ให้สารอาหารประเภทโปรตีน ที่มีหน้าที่เสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เนื้อสัตว์ที่ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงควรรับประทานคือ เนื้อสัตว์ที่ไม่มีหนังหรือไขมันมากเกินไป ควรรับประทานประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ

ในคนปกติทั่วไปร่างกายต้องการโปรตีนประมาณ วันละ 0.8-1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ผู้ที่มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ต้องการโปรตีนประมาณ 48-60 กรัมต่อวัน เมื่อผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงมีภาวะแผลกดทับขึ้น ร่างกายมีความจําเป็นในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ต่อสู้กับการติดเชื้อ ซ่อมแซมกระดูก ร่างกายมีความต้องการโปรตีนมากกว่า 2 กรัม/น้ําหนักตัว 1 กิโลกรัมแหล่งโปรตีนจากอาหารได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ชีส โยเกิร์ต ถั่วลิสง พืชตระกูลถั่ว

  • ปลา เหมาะมากสำหรับผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิง แต่ควรแกะก้างออกให้หมด
  • ไข่ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงเพราะมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ไข่แดง มีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ปกติสามารถรับประทานได้สัปดาห์ละ 3-4 ฟอง แต่ถ้าผู้ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงควรลดจำนวนลงหรือบริโภคเฉพาะไข่ขาวเท่านั้น
  • ไข่ขาว จัดเป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด โดยมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบประมาณ ร้อยละ 11 นอกจากนี้ ยังพบว่าโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบในไข่ขาว ยังสามารถแสดงคุณสมบัติเชิงหน้าที่ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้ เช่น มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ กระตุ้นการเจริญของเซลล์ และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ไข่ขาวจึงเป็นแหล่งของโปรตีนที่เหมาะสม สำหรับนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีความต้องการโปรตีนสูง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังเหมาะกับผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น และผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิง
  • นม เป็นอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงควรดื่มวันละ 1 แก้ว สำหรับผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงหรือน้ำหนักตัวมากอาจดื่มนมพร่องมันเนยหรือนมถั่วเหลืองแทนได้
  • ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและราคาถูก ใช้แทนอาหารพวกเนื้อสัตว์ได้

หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน อาหารหมู่นี้ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกายผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงต้องการอาหารหมู่นี้ลดลงกว่าวัยทำงาน จึงควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้แต่พออิ่ม คือ ข้าวมื้อละ 2 ทัพพี ควรเลือกเป็นข้าวไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและของหวาน

หมู่ที่ 3 ผักต่าง ๆ ผักให้สารอาหารพวกวิตามินและแร่ธาตุ ผู้สูงอายุควรเลือกกิน ผักหลาย ๆ ชนิดสลับกัน ควรปรุงโดยวิธีต้มสุกหรือนึ่งเพราะจะทำให้ย่อยง่ายและช่วยให้ขับถ่ายเป็นปกติ แต่ละวันผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงควรรับประทานผักให้ได้มื้อละ 2 ทัพพี

หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ เป็นอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายคล้ายอาหารหมู่ที่ 3 มีวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย และยังมีรสหวานหอม มีปริมาณของน้ำอยู่มาก ทำให้ ร่างกายสดชื่นเมื่อได้กินผลไม้ ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงสามารถกินผลไม้ได้ทุกชนิดและควรกินผลไม้ ทุกวันเพื่อจะได้รับวิตามินซีและเส้นใยอาหาร ควรเลือกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย เช่น มะละกอ กล้วยสุก ส้ม ควรรับประทานอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 6-8 ชิ้น สำหรับผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงที่อ้วนหรือเป็นเบาหวานให้หลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน เป็นต้น

หมู่ที่ 5 ไขมันจากสัตว์และพืช อาหารหมู่นี้นอกจากจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น วิตามินเอ ดี และเค ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงต้องการไขมันในปริมาณน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ และถ้าบริโภคไขมันมากเกินไป จะทำให้อ้วน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการท้องอืดท้อง เฟ้อหลังอาหารได้ ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิกปรุงอาหาร เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะกอก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ไขมันจากสัตว์

การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการพลังงานและสารอาหารแตกต่างจากผู้ที่มีสุขภาพร่างกายปกติ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของระบบต่างๆ ดังนั้น จึงต้องมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการเป็นอย่างดี ซึ่งความต้องการพลังงานและสารอาหารในผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน จากการที่ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานาน หากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ร่างกายจะกระตุ้นกระบวนการสลายกล้ามเนื้อให้เปลี่ยนเป็นกรดอะมิโน และเปลี่ยนเป็นกลูโคสที่ตับเพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้ร่างกาย ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะทุพโภชนาการ และเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา

โภชนาการผู้ป่วยติดเตียง

จากการค้นพบที่ผ่านมาพบว่า ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงมีภาวะของโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิง ยังมีการเคลื่อนไหวของลำไส้น้อย อาหารย่อยช้า ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร ส่งผลให้มีปัญหาท้องผูกตามมาด้วย และหากผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิง ได้รับการดูแลไม่ดีพอ ยังอาจทำให้ขาดสารอาหารและขาดน้ำได้ด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักส่งผลกระทบต่อระบบขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วใน กระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้นด้วย

ช่วงท้ายขอฝากไว้ว่า การสร้างบรรยากาศการรับประทานอาหารให้อร่อย ด้วยการรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น ร่วมกันปรุงประกอบอาหาร เปลี่ยนบรรยากาศ
การรับประทานให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ไม่รับประทานของซ้ำๆเดิมๆ มีปริมาณที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันตามตารางแนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิง เพียงเท่านี้ผู้สูงอายุติดเตียง/ผู้สูงอายุพึ่งพิงก็จะมีภาวะโภชนาการที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง ต่อสู้กับการเสื่อมถอยของร่างกายได้เป็นอย่างดี

การรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม