เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วย

เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วย

เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วย การทานอาหาร เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะวัยสูงอายุที่มีการเสื่อมถอยของร่างกาย ผู้ป่วย / ผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องการสารอาหารในการฟื้นฟูร่างกาย จึงต้องทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับสารอาหาร ผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายเสื่อมสลายลง มากกว่าสร้างเสริม เหมือนช่วงวัยอื่นๆ และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก็ส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในหลายๆ ด้าน รวมถึงเรื่องสำคัญอย่างการรับประทานอาหาร

ภาวะทุพโภชนาการเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกาย ความไม่สมดุลนี้ทำให้เกิดการสูญเสียอาจมีปัจจัยร่วมหลายอย่างเนื้อเยื่อโดยเฉพาะเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อทำให้มีผลโภชนาการได้ และพบว่าภาวะทุพโภชนาการกระทบต่อการทำหน้าที่ของร่างกายที่เป็นอันตราย ในผู้สูงอายุกับภาวะทุพโภชนาการ ทำให้เกิดภาวะสุขภาพที่อ่อนแอลง คลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุติดเตียง หรือผู้สูงอายุพึ่งพิง

อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่พบปัญหาทุพโภชนาการมากโรคหนึ่ง คือโรคไต ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตนั้นมีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน นอกจากจะใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาแล้ว ควรที่จะต้องมีการรักษา โดยการควบคุมอาหารให้พอเหมาะกับชนิดและระยะของโรคด้วย เพราะอาหารของผู้ป่วยโรคไตนั้น จำเป็นต้องจำกัดสารอาหารบางชนิด เช่นโซเดียม ซึ่งมาจากพวกเกลือ อาหารรสเค็มต่างๆ และเครื่องปรุงทุกชนิดทำให้อาหารที่ผู้ป่วยต้องทานนั้นมีรสจืด ซึ่งผิดวิสัยการบริโภคอาหารของคนไทย ที่ส่วนใหญ่ชอบทานอาหารรสจัด ถ้าอาหารไม่ถูกปาก ความอร่อยของอาหารก็จะลดลงไปด้วย ดังนั้นผู้ป่วยก็จะรับประทานอาหารไม่ได้ตามที่ร่างกายต้องการ หรือไม่รู้ว่าควรทานประเภทใด ควรงดประเภทใด และในที่สุดอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้

อาหารผู้ป้วยโรคไต

“กินอาหารเช่นไร ได้สุขภาพเช่นนั้น” ยิ่งถ้าเป็นในกลุ่มของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังแล้ว การเลือกวัตถุดิบมาทำอาหารให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้อาการป่วยแย่ลง ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติ
ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงอาหารผู้ป่วยโรคไต เพื่อที่จะได้เลือกรับประทานอาหารในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม และถือเป็นการบำบัดโรคด้วยอาหาร ช่วยชะลอความเสื่อมของไตลงได้

ตัวอย่าง เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วย โรคไต
สำหรับมือใหม่ที่ต้องดูแลผู้ป่วย (หรืออาจจะทำให้ตัวเองรับประทานเอง) อาจจะรู้สึกยุ่งยากในช่วงเริ่มต้นใหม่ ๆ เพราะดูเหมือนจะมีข้อจำกัดมากมายเต็มไปหมด แต่ที่จริงแล้ว เราสามารถสร้างสรรค์เมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตกินได้ ให้หลากหลาย แต่อาจจะนำมาอธิบายได้ไม่หมดในคราวเดียว จึงขอยกตัวอย่างแนวทางง่าย ๆ ในการสร้างสรรค์เมนูอาหารผู้ป่วยโรคไต ดังนี้

  1. ต้มฟักน่องไก่: เหตุผลที่ใช้น่องไก่เป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหารผู้ป่วยโรคไต เพราะเราต้องหลีกเลี่ยงส่วนของเนื้อสัตว์ที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในและส่วนปีกสัตว์ปีก นอกจากนี้ยังต้องเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมันอีกด้วย
  2. ผัดบวบใส่ไข่: เป็นอีกเมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตที่ทำง่าย รสชาติอร่อย (อะไรใส่ไข่ก็อร่อย) เหตุผลที่เลือกใช้บวบ เพราะเป็นผักที่มีโพแทสเซี่ยมต่ำ มีข้อแนะนำเพิ่มเติมว่า ให้ใช้น้ำมันน้อย ๆ อาจปรุงรสได้บ้าง แต่ให้จำกัดปริมาณเครื่องปรุงแต่พอดี
  3. มะระผัดไข่: มะระจีน คนเป็นโรคไตสามารถรับประทานได้ แต่ตอนผัดอย่าเผลอใส่น้ำมันและเครื่องปรุงรสมากเกินไป
  4. แกงส้ม: หลายคนอาจกังวลว่าแกงส้มไม่เหมาะจะเป็นอาหารผู้ป่วยโรคไต เพราะน่าจะมีรสจัด กลัวว่าจะมีโซเดียมสูงเกินไปหรือไม่ แต่แน่นอนว่าเมนูนี้ เราแนะนำให้ปรุงรสให้กลมกล่อมก็พอ ไม่ต้องหนักมือมาก ที่สำคัญ ต้องงดใส่กะปิ และผงชูรสโดยเด็ดขาด และเลือกใช้เฉพาะผักที่มีสีขาวหรือสีอ่อน (โพแทสเซี่ยมต่ำ) อย่างเช่น ผักกาดขาว ฟัก ข้าวโพดอ่อน เป็นต้น
  5. ต้มจืดตำลึงหมูสับ: เป็นเมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตที่ตัดเลี่ยนได้ดี เหมาะกับหลายโอกาส หากต้องการให้อยู่ท้องหน่อย อาจใส่วุ้นเส้นเข้าไปในต้มจืด หรือผสมวุ้นเส้นกับหมูสับที่ปั้นเป็นก้อนก็ได้ มีข้อแม้ว่าห้ามใส่ผักชี (เพราะมีโพแทสเซียมสูง) และผงชูรส
  6. ถั่วงอกผัดเต้าหู้และเห็ดหูหนู: ถั่วงอกเป็นผักสีขาวที่มีโพแทสเซียมต่ำ ส่วนเต้าหู้ ให้เลือกใช้เต้าหู้แข็งขาว ในปริมาณ ½ ก้อน จะให้ปริมาณฟอสฟอรัสไม่สูงเกินไป ส่วนเห็ดหูหนูนั้น มีค่าโพแทสเซียมต่ำมากในบรรดาเห็ดต่าง ๆ แถมยังมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย เหมาะกับใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารผู้ป่วยโรคไตจริง ๆ
  7. ผัดกะเพราไก่: พยายามปรุงรสให้เบามือ และห้ามใส่ถั่วฝักยาว เนื่องจากเป็นผักที่มีโพแทสเซียมสูง นอกจากนี้ ให้ระวังการใช้ส่วนอกไก่ที่มีโปรตีนสูง และส่วนปีกไก่ที่มีพิวรีนสูง

เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วย

การปรับพฤติกรรม ต้องทำให้น่าสนใจ ไม่ใช่น่าเบื่อเนื่องจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันหลายอย่าง แถมยังต้องอยู่กับพฤติกรรมใหม่ไปอีกยาวนาน เราจึงแนะนำให้ค่อย ปรับพฤติกรรม อย่าหักโหมหรือใช้วิธีหักดิบ เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของอาหารผู้ป่วยโรคไต แม้จะมีสิ่งที่ควรเลี่ยงอยู่บ้าง แต่หลักสำคัญนั้นไม่ใช่ให้เลิกกินอาหารทุกประเภทที่เป็นข้อห้ามทั้งหมด แต่เป็นการจำกัดสารอาหารเหล่านั้นให้มีปริมาณน้อยๆ
ยกตัวอย่างเช่น เนื้ออกไก่ มีโปรตีนสูง ผู้ป่วยโรคไตอาจรับประทานได้ แต่ต้องกินแต่น้อย หรือเต้าหู้ ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ (เพราะทำมาจากถั่วเหลือง) ก็ให้เราจำกัดปริมาณเต้าหู้ที่กิน โดยศึกษาคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ เป็นต้น

เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วย

เนื่องจากโรคไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ เพราะไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้เหมือนเดิม หากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมแล้ว ก็อาจส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักแล้วมีอาการทรุดลงได้ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจึงควรเรียนรู้ว่าอาหารชนิดไหนทานได้ อาหารชนิดไหนควรหลีกเลี่ยง ในช่วงแรกอาจจะทดลองปรุงอาหารผู้ป่วยไตตามเมนูแนะนำนี้ก่อน แล้วค่อยปรับเปลี่ยนหรือสร้างสรรค์โดยพิจารณาเกณฑ์ในการเลือกอาหาร

อาหารผู้ป่วยโรคไต