เทคนิคกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง

เทคนิคกระตุ้นสมองผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้น หรือเมื่อมีภาวะผิดปกติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะติดเตียง หรือทุพพลภาพ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นได้ ปัญหาสมองเสื่อมเป็นปัญหาสําคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชากร ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทํางานของสมองด้านการรู้คิดและสติปัญญา ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมทำให้มีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติไปจากเดิม และมีพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไป อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อยเริ่มเปลี่ยนแปลง จนทำให้เกิดปัญหาต่อการทำงาน และกิจวัตรประจำวัน

ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุติดเตียง

วิธีป้องกัน หรือช่วยชลอภาวะความจำเสื่อมในผู้สูงวัย และผู้สูงวัยติดเตียงได้นั้น มีหลายกิจกรรมด้วยกัน กิจกรรมที่เหมาะสม สามารถกระตุ้นสมองและความจำสำหรับผู้สูงวัย และผู้สูงวัยติดเตียงจะมีลักษณะที่ใช้การทำงานของสมองหลายๆ ส่วนทั้ง…

  • สมาธิ
  • การจดจำ
  • จินตนาการ
  • คำนวณ
  • ตรรกะเหตุผล
  • การวางแผน
  • การตัดสินใจ
  • การพูดคุยสื่อสาร ทั้งสมองซีกซ้ายและขวาอย่างสมดุลควรจะต้องฝึกสมองได้คิดบ่อย ๆ เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ คิดเลข หรือเล่นเกมส์ตอบปัญหา

กิจกรรมที่เหมาะสำหรับผู้สูงวัย หรือผู้สูงวัยติดเตียงที่มีปัญหาความจำ หลงลืม ดังนี้

1.ให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงลิสต์กิจกรรมที่จะต้องทำเป็นประจำ การฝึกวางแผนที่จะทำสิ่งต่างๆอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ อาจจะใช้อุปกรณ์ช่วยความจำ โดยการจดโน๊ต บันทึกสิ่งที่ต้องทำลงปฏิทินในรายสัปดาห์หรือรายเดือน เป็นการฝึกทำลำดับความสำคัญในสิ่งที่จะต้องทำในแต่ละวันที่จะเกิดขึ้น หากเป็นไปได้ให้ลำดับความสำคัญในรายละเอียดของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวันลงไปด้วยก็จะทำให้การทำงาน การสะสางสิ่งที่ต้องทำบรรลุและลุล่วงไปได้ด้วยดี


การบันทึกแก้สมองเสื่อม

2.หางานอดิเรกที่น่าสนใจให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง ทำอยู่บ่อยๆ ทำกิจกรรมยามว่างที่ท่านชื่นชอบ อาจจะเป็นสิ่งที่ท่านคุ้นเคยมีความชำนาญอยู่แล้วหรือเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ไม่เคยลองมาก่อนก็ได้ หากเป็นเกี่ยวกับศิลปะดนตรีก็จะช่วยได้มากเพราะสิ่งนั้นมันจะช่วยสร้างเสริมจินตนาการ และการได้ลงมือทำกิจกรรมจะทำให้เชื่อมสมองกับร่างกายและอารมณ์แจ่มใสได้เป็นอย่างดี

3. หากิจกรรมเพลินๆ ไม่เคร่งเครียดให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงทำ การค้นหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด ความกังวล รวมถึงภาวะซึมเศร้าที่อาจจะเกิดขึ้น อาจจะลองหาจากกิจกรรมที่น่าสนใจใน เว็บไซต์, อินเตอร์เน็ต, หนังสือ หรือกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง การเข้ากลุ่มสังคมได้พูดคุยรวมถึงการจัดทำกิจกรรมแบบเพื่อนเพลินกับเพื่อนร่วมก๊วนวัยเดียวกันก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้วันนั้นของท่านเป็นวันสบายๆ คลายเครียด ผ่อนคลายอารมณ์ได้เป็นอย่างดี อาจหากิจกรรมที่ฝึกส่วนนี้เป็นหลัก เช่น การอ่านหนังสือ การคิดเลขคณิต การเล่นเกม ฝึกปัญหาเชาว์ รวมถึงการฝึกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้

การทำกิจกรรมเพื่อกระตุ้นสมอง

4.ให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากิจกรรมเพื่อให้ร่างกายได้ออกแรง รวมถึงการวางโปรแกรมที่จะออกกำลังกายอย่างจริงจัง หากสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนสามารถควบคุมน้ำหนักให้ไม่เกินเกณฑ์ได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีมากๆ มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ออกมามากมายว่าการออกกำลังกายรวมไปถึงแม้แต่การเดินในระยะเวลาที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มและคงรักษาสมรรถภาพการทำงานของสมอง รวมถึงการป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้

ผู้สูงอายุออกกำลัง

5.การไม่ให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง รับประทานแอลกอฮอล์ มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุอย่างชัดเจนว่าการบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป มีผลโดยตรงต่อความเสื่อมถอยของสมอง เนื่องจากส่งผลกระทบโดยตรงในการทำลายสมองโดยพิษของแอลกอฮอล์เอง อีกทั้งการบริโภคแอลกอฮอล์ยังมีผลต่อระบบประสาทในด้านการควบคุมการทรงตัวรวมถึง ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วยหมอแนะนำว่าหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงจะดีกว่าครับ

แอลกอฮอล์ทำให้สมองเื่อมถอย

6.ให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงได้สวดมนต์และมีสติ ในทุกๆช่วงเวลา ในการทำสิ่งต่างๆ ทำอย่างตั้งใจ
รู้ตน …
รู้เวลา …
รู้กิจกรรม …ที่ท่านเองทำอยู่ตลอดเวลา ฝึกให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง นั่งสมาธิ อยู่สม่ำเสมอก็จะเป็นวิธีที่ช่วยได้อย่างมาก

ผู้ป่วยติดเตียงฝึกจิตสวดมนตร์

ขณะเดียวกันควรมีการกระตุ้นพัฒนาสมองขั้นสูงให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง ได้แก่ การฝึกสติและสมาธิ การคิดจินตนาการหรือสร้างภาพขึ้น การกระตุ้นสมอง (Cognitive stimulation) การระลึกถึงความหลัง การเล่าข่าว การเล่นเกมที่ไม่ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง เครียดมากเกินไป การฝึกแบบนิวโรบิคเอ็กเซอร์ไซด์ ที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายประเภทมากระตุ้นการทำงานของสมอง เช่น การทำสิ่งที่ไม่ถนัดหรือคุ้นชิน เช่น แปรงฟันด้วยมือซ้าย การเปลี่ยนแปลงเส้นทางไปทำงาน การสูดดมหรือสัมผัสด้วยมือแทนการมองเห็นสำหรับของที่ไม่เป็นอันตรายนอกจากนี้การฝึกกิจกรรมทางกายที่กระตุ้นการทำงานของสมอง ได้แก่ การเล่นเปียโน การทำงานฝีมือ การฝึกลีลาศ เป็นต้น จะเป็นการกระตุ้นให้มีเซลล์ประสาทแตกแขนงเพิ่มขึ้นจากการใช้หรือกระตุ้นกล้ามเนื้อ หรือการทำกิจกรรมที่ใช้มือและเท้าเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่เหมือนกันจัดเป็นการฝึกสมองไปด้วย

เมื่ออายุมากขึ้นส่วนต่างๆของร่างกายก็จะเสื่อมถอยไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบกล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด ฯลฯ รวมถึง ”สมอง” ของทุกคนก็เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีสมองก็เป็นอวัยวะหนึ่งคล้ายกับอวัยวะอื่นๆ คือหากมี ปฏิสัมพันธ์ ฝึกให้สมองในทางสร้างสรรค์ การพาผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงเข้าสังคม พบปะสังสรรค์ พูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ มีสังคม เข้าชมรมเพื่อทำกิจกรรมต่างๆระหว่างวัน เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นฝึกสมองลับให้คมอย่างดีทีเดียว รวมทั้งการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันภาวะสมองเสื่อม

ฝึกลับสมองให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง