อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ที่จำเป็นมีอะไรบ้าง เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงบางรายเมื่อมีอาการดีขึ้นเเล้ว แพทย์จะอนุญาตให้กลับมารักษาที่บ้าน ซึ่งนอกจากจำเป็นจะต้องมีผู้ดูแลแล้ว อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านหรือของใช้จำเป็นที่ผู้ป่วยติดเตียงควรมีก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงนอกจากจะช่วยในการรักษาแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยติดเตียง และแบ่งเบาภาระให้กับผู้ดูแล ผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้านแต่ละคนจะมีลักษณะอาการป่วยและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่ต้องใช้ก็แตกต่างเช่นกัน

ขอแนะนำ อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

1.อุปกรณ์ช่วยเดินหรือช่วยการเคลื่อนที่ (mobility aids) คือ อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ที่มีปัญหาเดินลำบาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เดินหรือเคลื่อนที่ได้สะดวกขึ้น เพิ่มฐานการรับน้ำหนัก ทำให้การทรงตัวดีและปลอดภัย และช่วยลดการลงน้ำหนักที่ขา อุปกรณ์ช่วยเดินหรือเครื่องช่วยการเคลื่อนที่มีหลากหลายชนิด ได้แก่ ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน เครื่องช่วยเดินสี่ขา
อุปกรณ์ช่วยเดิน

2.เตียงผู้ป่วย มี 2 ประเภทหลัก

2.1 เตียงไฟฟ้า (Electric Hospital Bed) เป็นเตียงผู้ป่วยที่สามารถปรับระดับได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

ข้อดี
2.1.1 ลดภาระงานของผู้ดูแล
2.1.2ผู้ป่วยสามารถปรับเตียงได้ด้วยตัวเองทันที ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกตระหนักถึงคุณค่าในตัวเองจากการช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น
ข้อเสีย
2.1.3 ราคาสูง (เริ่มต้นที่ 24,000 บาท)
2.1.4 อาศัยระบบไฟฟ้าในการทำงาน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เมื่อไฟฟ้าขัดข้องหรืออาจชำรุดง่ายกว่าแบบมือหมุน
2.1.5 ต้องอาศัยการเรียนรู้ระบบการทำงานของเตียงเล็กน้อย

2.2 เตียงแบบมือหมุน (Manual Hospital Bed) เป็นเตียงผู้ป่วยที่ต้องอาศัยแรงในการหมุนเพลาเพื่อปรับระดับ

ข้อดี
2.2.1 ราคาไม่สูง (เริ่มต้นที่ 9,000 บาท)
2.2.2 ใช้งานได้ตลอดเวลา แม้ไม่มีไฟฟ้า
2.2.3 น้ำหนักเบากว่าเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
ข้อเสีย
2.2.4 ต้องก้มและใช้แรงหมุนเพื่อปรับระดับ อาจส่งผลเสียกับสุขภาพของผู้ดูแลในระยะยาวได้
2.2.5 ผู้ป่วยไม่สามารถปรับระดับเองได้ คลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเลือกเตียงให้ผู้ป่วย เตียงสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

3.ที่นอนป้องกันแผลกดทับ ปัจจุบันมีที่นอนป้องกันแผลกดทับอยู่หลายประเภทให้เลือก อย่างไรก็ตามการจะเลือกที่นอนให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ผู้ดูแลจำเป็นต้องพิจารณาหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับของแผลกดทับ น้ำหนักตัวผู้ป่วย โรคประจำตัวอื่นๆ ของผู้ป่วย ราคา ฯลฯ โดยผู้ดูแลสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติที่นอนที่ควรพิจารณาร่วมในการเลือกที่นอนให้ผู้ป่วยติดเตียงได้ที่ลิงค์นี้ สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนขออธิบายคล่าวๆ เกี่ยวกับที่นอนแต่ละประเภทที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

3.1เตียงลม หรือที่นอนลม แบ่งเป็นสองประเภทที่นิยมใช้กัน
♦ 3.1.1 นอนลมแบบลอนขวาง: สามารถลดแรงกดทับได้ดีกว่า ลดโอกาสที่แผลจะสัมผัสกับผิวเตียงเป็นเวลานานๆ โดยใช้พลังงานปั๊มลมไฟฟ้าในการทำให้เตียงขยับตามช่วงเวลา
♦ 3.1.2 ที่นอนลมแบบรังผึ้ง: ที่นอนลมแบบรังผึ้ง มีลักษณะเหมือนบับเบิ้ล สามารถยุบสลับกันไปมาบนเตียง
ที่นอนลม ถือเป็นที่นอนป้องกันแผลกดทับที่มีมานาน และเป็นที่นิยม เนื่องจากราคาที่ไม่แพง และหาซื้อง่าย แต่เนื่องจากที่นอนลมให้พลังงานไฟฟ้าในการปั๊มลม จึงมีความเสี่ยงจากการเกิดไฟดับ ไฟฟ้ารั่ว ได้ ผู้ดูแลจึงควรเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในกรณีไฟฟ้าดับระหว่างใช้ที่นอนลม
ที่นอนลม

3.2 ที่นอนยางพารา ด้วยเนื้อยางพาราเป็นเนื้อที่มีความหนาแน่น พร้อมทั้งมีรูระบายอากาศทั่วทั้งแผ่น นอกจากจะไม่แข็งจนทำให้เกิดแรงกดทับที่มากแล้ว ยังช่วยระบายความร้อน และยืดหยุ่นรองรับน้ำหนักตัวของผู้ป่วยได้ดีที่สุด ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตลอดทั้งวัน
เลือกที่นอนยางพาราป้องกันแผลกดทับให้ผู้ป่วย
อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

3.3 ที่นอนโฟม นอกจากคุณสมบัติในการลดสาเหตุของแผลกดทับแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติม ก็คือ ความเหมาะสมในการใช้งานของผู้ป่วยที่นอนโฟม – เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ยังไม่เป็นแผลกดทับ แต่มีความเสี่ยง หรือเป็นแผลกดทับในระดับที่ 1-2
ที่นอนโฟมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

4.รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รถเข็น wheelchair รถนั่งคนพิการ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนที่ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ เป็นอัมพาต ขาขาด การทรงตัวเสีย มีข้อห้ามในการลงน้ำหนัก เช่น มีอาการปวด กระดูกขาหัก 2 ข้าง
อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

5.ราวจับพยุงผู้ป่วย ราวพยุงตัวผู้สูงอายุและราวจับในรูปแบบต่างๆ ทั้งราวจับบันได ราวจับกันลื่น ราวจับกันลื่นในห้องน้ำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและหกล้มในผู้สูงอายุ โดยราวพยุงตัวที่ใช้อาจจะเป็น ราวกั้น หรือราวจับ ที่ใช้เพื่อช่วยพยุงตัว เป็นการใช้เพื่อตอบสนอง ภาวะของผู้สูงอายุ ที่ต้องเพิ่มความมั่นคงในการเดิน การยืน การนั่ง การเคลื่อนไหว โดยเฉพาะ ทางเดินต่างระดับ ในห้องน้ำนั่นเอง
ราวจับพยุง

6.เครื่องตรวจวัดต่างๆ เช่น

6.1 เครื่องวัดความดันโลหิต ปัจจุบันมีเครื่องวัดความดันโลหิต 2 ชนิด ได้แก่
♦ 6.1.1 เครื่องวัดความดันโลหิตแบบเชิงกล (Non-invasive mechanical sphygmomanometers) มีการใช้งานร่วมกับหูฟัง (Stethoscope) เหมาะกับการใช้งานโดยผู้ที่มีทักษะในการวัดภายในสถานพยาบาล ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท (Mercurial manometer) เครื่องวัดความดันโลหิตหน้าปัดนาฬิกา (Aneroid manometer) หรือเครื่องวัดความดันโลหิตที่แสดงค่าความดันเป็นดิจิตอล (digital display)
♦ 6.1.2 เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ (Non-invasive automated sphygmomanometers) ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีระบบตรวจวัดค่าความดันโลหิตในตัว และแสดงค่าความดันโดยอัตโนมัติ เป็นดิจิตอล (digital display) มีทั้งต้นแขนและแบบข้อมือ ซึ่งปัจจุบันมีจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์ หรือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อ มาใช้เองภายในบ้าน

6.2 เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

6.3 เครื่องวัดระดับออกซิเจน
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) คือ อุปกรณ์ที่ใช้วัดระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) รวมทั้งยังสามารถใช้วัดอัตราการเต้นของหัวใจได้อีกด้วย ตัวเครื่องมีลักษณะคล้ายคลิปหรือเครื่องเย็บกระดาษ ใช้งานโดยการหนีบที่บริเวณปลายนิ้วของผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่ใช้กันมากในโรงพยาบาล แต่ประชาชนทั่วไปก็สามารถซื้อมาใช้เองได้ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์นี้ใช้งานไม่ยาก โดยส่วนมากจะนำมาใช้ติดตามอาการของโรค

6.4 เครื่องวัดอุณหภูมิทางร่างกาย
แบบดิจิทอล แบบอินฟราเรด ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
เครื่องวัดของผู้ป่วย

สรุปสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่กลับมาพักฟื้นที่บ้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีอุปกรณ์ไว้ช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้การใช้ชีวิตที่บ้านของผู้ป่วยเป็นไปด้วยความราบรื่น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้อาจตามมาซึ่งค่าใช้จ่ายมากมาย สิ่งที่ดีที่สุด คือการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ป่วยไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ ปอดอักเสบ เป็นต้น รวมทั้งผู้ดูแลควรดูแลตนเองให้แข็งแรงด้วย เพื่อจะได้ดูแลบุคคลอันเป็นที่รักอย่างมีความสุข