การสร้างความมั่นใจแก่ผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง

ผู้ดูแลเกิดความกังวลเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียง ความกังวลเรื่องภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น เช่นแผลกดทับ การสำลักจากการป้อนอาหาร หรือภาวะการติดเชื้อทางเดินหายใจ รวมทั้งความกังวลเรื่องความรู้ตัวของผู้ป่วยติดเตียงลดลง ความกังวลเหล่านี้ทำให้ผู้ดูแลขาดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

การสร้างความมั่นใจแก่ผู้ดูแลสิ่งแรกที่อยากพูดถึง คือการยอมรับจากผู้ป่วยติดเตียง

เทคนิคในการให้ผู้ป่วยไว้วางใจและเกิดการยอมรับ

การให้ความเคารพและอ่อนน้อมต่อผู้สูงอายุ

1. การให้ความเคารพและอ่อนน้อมต่อผู้สูงอายุไว้ก่อน โดยยึดหลักธรรมเนียมไทยคือการยกมือไหว้ผู้สูงอายุ การที่ผู้ดูแลยกมือไหว้ผู้สูงอายุจะทําให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าได้รับการให้เกียรติ ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น เกิดความรู้สึกอบอุ่นและภาคภูมิใจ การไหว้เป็นสิ่งที่ทําได้ง่ายมากไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ใดๆ แต่กลับมีพลังมหาศาลที่จะทําให้ผู้ดูแลเป็นคนอ่อนน้อม ถ่อมตน มีสัมมาคารวะ จะช่วยให้เกิดความเอื้ออาทรและความรู้สึกดีๆระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ และเป็นทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีที่ทําได้ง่ายๆก่อนที่จะใช้ทักษะการสื่อสารอื่นๆ

2. พยายามจดจําผู้สูงอายุให้ได้และจําชื่อเรียกผู้สูงอายุได้ถูกต้อง

กรณีที่ผู้สูงอายุพูดคุยความรู้สึกในแง่ลบ ก็เพื่อต้องการระบายความรู้สึก

3. กรณีที่ผู้สูงอายุพูดคุยความรู้สึกในแง่ลบ ก็เพื่อต้องการระบายความรู้สึก ผู้ดูแลควรฟังด้วยความตั้งใจและสนใจ ไม่ทําท่าเบื่อหน่าย รําคาญ หรือเห็นพฤติกรรมของผู้สูงอายุเป็นเรื่องน่าขัน ในบางกรณีอาจต้องใช้ภาษากายที่เหมาะสมเช่นการสัมผัสผู้สูงอายุเพื่อปลอบโยน

4. เลือกวิธีการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ต้องให้ความสําคัญกับความรู้สึกและอารมณ์ของผู้สูงอายุที่อยู่ตรงหน้า พยายามทําความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น ผู้สูงอายุไม่ชอบการฟังบทสวดมนตร์ก็พยายามเลือกบทเพลงที่ผู้สูงอายุชอบ

ระมัดระวังการให้ข้อมูลที่มากจนเกินไป เพราะการรับรู้และความสามารถด้านการจดจําของผู้สูงอายุเริ่มช้าลง

5.ระมัดระวังการให้ข้อมูลที่มากจนเกินไป เพราะการรับรู้และความสามารถด้านการจดจําของผู้สูงอายุเริ่มช้าลง ผู้ดูแลจึงควรสังเกตุอาการของผู้สูงอายุว่าเริ่มไม่สนใจ ผู้ดูแลควรหยุดพักไปก่อน

6.น้ำเสียงที่ใช้สื่อสารควรใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ตรงหน้า เช่น ผู้สูงอายุให้ความร่วมมือในการออกกำลังกาย ผู้ดูแลควรยิ้มและกล่าวชมผู้สูงอายุ อย่าลืมการแสดงความรู้สึกเป็นห่วง เห็นอกเห็นใจผู้สูงอายุที่อยู่ตรงหน้า

ผู้สูงอายุจะมีการปรับและพัฒนาองค์ประกอบจิตใจระดับต่างๆกันไป โดยทั่วไปจะมีการปรับระดับจิตใจในทางที่ดีงามมากขึ้น สามารถควบคุมจิตใจได้ดีกว่าจึงพบว่าเมื่อคนมีอายุมากขึ้นจะมีความสุขุมมากขึ้นด้วย ผู้สูงอายุมีลักษณะของโครงสร้างทางจิตใจเฉพาะเป็นของตนเอง ซึ่งจะเป็นรากฐานของการแสดงออกของคน แต่ลักษณะการแสดงออกขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆร่วมด้วย ได้แก่ บุคลิกภาพเดิม การศึกษา ประสบการณ์ สภาพสังคมในวัยเด็ก เมื่อผู้ดูแลเข้าใจด้านจิตใจในระดับต่างๆของผู้สูงอายุจะทำให้ผู้ดูแลมีความรู้สึกอยากช่วยเหลือ มีความเห็นอกเห็นใจผู้สูงอายุมากขึ้น

สร้างความมั่นใจแก่ผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำได้อย่างไร

ญาติผู้ป่วยควรสนับสนุนผู้ดูแลในการเพิ่มทักษะ

ญาติผู้ป่วยควรสนับสนุนผู้ดูแลในการเพิ่มทักษะในการดูแลด้านต่างๆเพื่อให้เกิดความชำนาญ อันนำไปสู่การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ดีทำให้ได้รับการยอมรับจากญาติผู้ป่วย/ผู้ป่วย ได้แก่

พัฒนาทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

การป้อนอาหารไม่ให้สำลักในผู้ป่วยติดเตียง

1. การป้อนอาหารไม่ให้สำลักในผู้ป่วยติดเตียง โดยไขหัวเตียงให้สูงขณะป้อนอาหาร และค่อยๆป้อนอาหารไม่รีบ คลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อควรระวังในการป้อนอาหารสูงอายุ / ผู้ป่วยติดเตียง
2. การจัดท่านอนให้ผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสม การพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงทุก 2 ชั่วโมงเพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดแผลกดทับ

การทำความสะอาดร่างกายแก่ผู้ป่วยติดเตียง

3. การทำความสะอาดร่างกายแก่ผู้ป่วยติดเตียง หลีกเลี่ยงการขัดถูบริเวณผิวหนัง เป็นการลดแรงเสียดสีซึ่งเป็นการทำลายผิวหนัง ควรใช้ผ้าขนหนูนุ่ม ๆ ซับผิวหนังให้แห้งหรือควรปล่อยให้ผิวหนังแห้งเอง
4. การเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อให้ถูกต้องตรงกับระดับของแผลกดทับ เช่นแผลกดทับระดับที่ 1จะปรากฏรอยแดงบนผิวหนังส่วนที่ถูกกดทับใช้สารเคลือบผิวหนัง เช่น วาสลีนทาบนรอยแดง เลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผล หากแผลมีน้ำเหลืองหลั่งเยอะ อาจเลือกใช้วัสดุปิดแผลที่ดูดซับได้ดี

ผู้ดูแลควรหมั่นสังเกตุผู้ป่วยติดเตียงจากการดําเนินชีวิตประจําวัน

ผู้ดูแลควรหมั่นสังเกตุผู้ป่วยติดเตียงจากการดําเนินชีวิตประจําวัน เพื่อนำไปแก้ปัญหา

1. การกินผิดปกติ อาจจะกินมากขึ้นกว่าเดิม ยิ่งไม่สบายใจก็ยิ่งกินมาก หรือบางคนก็ตรงข้าม คือกินน้อยลง เบื่ออาหาร ซูบผอมลงทั้งๆ ที่ไม่มีปัญหาทางร่างกาย บางคนมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
2. การนอน อาจจะมีการนอนหลับมากกว่าปกติ เช่น มีอาการง่วง เหงา ซึม เซื่อง อยากนอนตลอดเวลา หรือบางคนก็ตรงข้ามคือ นอนไม่หลับ ตกใจตื่นตอนดึกแล้วไม่สามารถหลับต่อได้อีก บางคนอาจมีอาการฝันร้ายติดต่อกันบ่อยๆ คลิกเพื่อเรียนรู้ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการนอนหลับของผู้ป่วยติดเตียง
3. อารมณ์ผิดปกติ หงุดหงิดบ่อยขึ้น เศร้าซึม เคร่งเครียด ฉุนเฉียว วิตกกังวลมากขึ้นกว่าเดิมจนสังเกตเห็นได้และสร้างความลําบากใจให้กับคนรอบข้าง
4. พฤติกรรมการแสดงออกที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เคยเป็นคนร่าเริงแจ่มใส ช่างพูด ช่างคุย ก็กลับซึมเศร้า เงียบขรึม ไม่พูดไม่จา บางคนก็หันไปพึ่งยาเสพติด เหล้า บุหรี่ เป็นต้น บางคนอาจเคยพูดน้อยก็กลายเป็นคนพูดมากหรือแสดงความสนใจในเรื่องเพศอย่างผิดปกติ เป็นต้น
5. มีอาการเจ็บป่วยทางกาย ซึ่งหาสาเหตุไม่พบ เช่น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศรีษะ ปวดกระดูก วิงเวียนศีรษะ ปวดท้อง เป็นต้น

เมื่อผู้ป่วยติดเตียงให้ความมั่นใจแก่ผู้ดูแล สิ่งที่จะสังเกตุได้คือ ผู้ป่วยสดชื่นแจ่มใส สามารถปฏิบัติตามแผนการรักษาและคำแนะนำได้ดี รวมทั้งผู้ป่วยสามารถตอบคำถามเรื่องลำดับขั้นตอนการปฏิบัติตัว เมื่อมีอาการผิดปกติได้ถูกต้อง