เทคนิคการสระผมให้ผู้ป่วยติดเตียง เป็นสิ่งที่ผู้ดูแลจำเป็นต้องรู้ เพราะการสระผมคือพื้นฐานอย่างหนึ่งของการดูแลสุขอนามัย ในขณะที่คนปกติที่มีร่างกายแข็งแรงสามารถสระผมได้ตามความเหมาะสม แต่สำหรับผู้ป่วยติดเตียง อาจไม่จำเป็นต้องสระผมบ่อยครั้งเหมือนคนปกติ หากแต่ต้องมีคนใกล้ชิดช่วยเหลือเพราะมีข้อจำกัดทางร่างกาย และยังต้องมีอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความสะดวกในการสระผม โดยมีเทคนิคในการสระผมให้ผู้ป่วยติดเตียงดังนี้
1. หมั่นสำรวจหนังศรีษะและร่างกายของผู้ป่วยติดเตียงเป็นประจำ
การสำรวจร่างกายของผู้ป่วยติดเตียงนอกจากเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับที่มีข้อควรระวังในการดูแลรักษาอย่างละเอียดอ่อนแล้ว ยังช่วยให้สามารถประเมินการดูแลสุขอนามัยของผู้ป่วยได้เหมาะสมด้วย หากพบว่าผู้ป่วยหนังศีรษะมันหรือบ่งบอกว่ามีอาการคันก็ควรสระผมให้ผู้ป่วยอย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยรักษาความสะอาดแล้วยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ดูแลภาพลักษณ์ และสร้างความผ่อนคลายให้ผู้ป่วยมีความสุขมากขึ้นได้ ทั้งนี้ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบก่อนทุกครั้งเพื่อขอความยินยอมและเพื่อความสบายใจของตัวผู้ป่วยเอง
2. เตรียมอุปกรณ์ในการสระผมให้พร้อม
ก่อนจะเริ่มสระผมให้ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลจำเป็นที่ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการสระผมให้พร้อม โดยอุปกรณ์หลัก ๆ ในการสระผมให้ผู้ป่วยติดเตียงมีดังนี้
- แชมพูสระผมสูตรอ่อนโยน พร้อมด้วยครีมนวดผม
- ผ้ายางหรือผ้าพลาสติกเพื่อใช้กันน้ำ โดยม้วนชายผ้ายางหรือพลาสติกทั้ง 2 ข้างเพื่อกันน้ำไหลออกด้านข้าง
- ถังน้ำหรือภาชนะเพื่อรองรับน้ำที่ไหลลงมาตามผ้ายาง
- กะละมังหรือถังใส่น้ำสะอาดเพื่อใช้สระผม
- เหยือกน้ำหรือขันในการตักน้ำล้างผม
- ผ้าขนหนูสำหรับพับเป็นทบ เพื่อใช้รองคอผู้ป่วย และผ้าขนหนูสำหรับวางช่วงหน้าอกกันน้ำกระเด็นใส่ผู้ป่วย
- ผ้าปิดตา เพื่อกันน้ำกระเด็นเข้าตา และเพื่อบังแสงไฟเข้าตาผู้ป่วย
- หวี สำหรับช่วยสางผมให้ผู้ป่วย กันผมพันกัน
- สำลีก้อนสำหรับกันน้ำเข้าหู
- ไดร์เปาผม เพื่อช่วยให้ผมและหนังศรีษะผู้ป่วยแห้งเร็วขึ้น
นอกเหนือจากอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว อาจมีอุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยติดเตียงบางรายโดยเฉพาะ เช่น อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ถุงมือใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น
3. จัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียงให้พร้อม
เพื่อให้การสระผมทำได้อย่างสะดวก ผู้ดูแลควรจัดให้ร่างกายของผู้ป่วยอยู่ริมที่นอนผู้ป่วยติดเตียงมากที่สุด และใช้ผ้ายางหรือผ้าพลาสติกที่เตรียมไว้สอดรองใต้ศีรษะ พับชายด้านข้างทั้งสองข้างของผ้าเพื่อป้องกันน้ำไหลออกด้านข้าง แล้วปล่อยชายสำหรับให้น้ำไหลลงภาชนะรองรับน้ำซึ่งตั้งอยู่ระดับต่ำกว่าศีรษะผู้ป่วย ใช้ผ้าผืนเล็กรองคอผู้ป่วย ซึ่งการใช้ผ้ารองคอต้องพิจารณาลักษณะของผู้ป่วยร่วมด้วย เพราะบางรายอาจไม่เหมาะกับการใช้อุปกรณ์รองคอได้ เมื่อจะเริ่มสระผมอย่าลืมใช้ผ้าปิดตาและสำลีอุดหูผู้ป่วยเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าตาและหู
4. ระวังน้ำไหล และใช้นิ้วอย่างเบามือในการสระผมให้ผู้ป่วย
ผู้ดูแลควรเริ่มจากสางผมผู้ป่วยด้วยหวีเบา ๆ แล้วราดน้ำอุณหภูมิเหมาะสมให้เปียกเส้นผมอย่างทั่วถึง ชโลมแชมพูแล้วใช้ปลายนิ้วนวดหนังศีรษะทำความสะอาดอย่างนุ่มนวล อาจใช้ครีมนวดเพื่อบำรุงเส้นผมด้วย แล้วล้างด้วยน้ำให้สะอาด หากผู้ป่วยต้องการอาบน้ำด้วยก็ให้สระผมให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงค่อยอาบน้ำให้ผู้ป่วยต่อ วิธีเตรียมอุปกรณ์ในการทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วย เมื่อสระผมและเช็ดผมให้ผู้ป่วยจนแห้งแล้ว อย่าลืมกวาดสายตาเพื่อตรวจสอบความสะอาดบริเวณเตียงร่วมด้วย หากพบจุดที่สกปรกให้รีบทำความสะอาดพร้อมกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในขั้นตอนนี้ทันที
5. บันทึกทุกครั้งหลังสระผม
สิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการรักษาผู้ป่วยคือการหมั่นสังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะบางครั้งอาจเกิดความผิดปกติบนร่างกายผู้ป่วย เช่น มีอาการหนาวสั่นระหว่างสระผม พบแผลบนหนังศีรษะ หรือมีปฏิกิริยาต่อการสระผมครั้งนี้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย์และเพื่อปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยติดเตียงต่อไป
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นต้องใช้ความเอาใจใส่มากกว่าปกติ โดยเฉพาะคุณภาพของที่นอนป้องกันแผลกดทับ หรือที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ ที่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งนวัตกรรมที่นอนยางพารา SeniaCare มีให้เลือกครอบคลุมการใช้งานถึง 3 รุ่นสำหรับผู้ป่วยน้ำหนักต่างกัน ทำให้สามารถกระจายน้ำหนักช่วยป้องกันแผลกดทับได้อย่างเหมาะสม ยังมีโปรโมชันราคาสุดคุ้มเมื่อซื้อที่นอนคู่กับเตียงปรับระดับคู่กัน รับประกันด้วยคุณภาพมาตรฐานสากล เพื่อดูแลคนที่คุณรักอย่างดีที่สุด