วิธีจัดการเมื่อผู้ป่วยติดเตียงเจอปัญหา เรื่องผิวหนังแห้ง

วิธีจัดการเมื่อผู้ป่วยติดเตียงเจอปัญหา เรื่องผิวหนังแห้ง

วิธีจัดการเมื่อผู้ป่วยติดเตียงเจอปัญหา เรื่องผิวหนังแห้ง ผิวหนังแห้งส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผิวหนังชั้นนอกมีน้ำในชั้นผิวหนังลดลง โดยน้ำในชั้นผิวหนังมักจะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น และตามสภาพอากาศ เพราะฉะนั้นผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ที่อากาศหนาวแห้ง หรืออยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา หรืออาบน้ำอุ่นบ่อยๆ จะมีโอกาสเกิดผิวแห้งได้ง่ายกว่าคนทั่วๆไป เมื่อผิวหนังแห้ง อาการคันก็มักจะตามมา หรือหากเป็นมากอาจทำให้ผิวหนังเป็นขุย ลอก ถลอก หรือเป็นรอยแตก แดง และอักเสบติดเชื้อได้ ในกลุ่มผู้สูงอายุเมื่อเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นผู้ป่วยติดเตียง และมีอาการผิวหนังแห้ง จะมีโอกาสเกิดแผลกดทับตามมาได้ง่าย ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังแห้งในผู้ป่วยติดเตียงจึงสำคัญมาก

วิธีจัดการเมื่อผู้ป่วยติดเตียงเจอปัญหา เรื่องผิวหนังแห้ง

บริเวณที่ผิวหนังมักจะแห้งได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น คือ บริเวณแขนขาและใต้เข่าลงไป รองลงมาคือบริเวณต้นขาหรือสีข้างของลำตัว อาการผิวแห้งและคัน มักเป็นมากในฤดูหนาวที่อากาศค่อนข้างแห้ง และเป็นช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่อาบน้ำอุ่นมากขึ้น

วิธีจัดการเมื่อผู้ป่วยติดเตียงเจอปัญหา เรื่องผิวหนังแห้ง และมีอาการคัน มีดังนี้
โดยทั่วไปอาการผิวแห้งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การดูแลบางอย่าง อาจช่วยป้องกันไม่ให้เป็นมากได้ โดยปฏิบัติดังนี้

1.ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำบ่อยและอาบน้ำเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ควรอาบน้ำเพียงวันละครั้ง ไม่อาบน้ำอุ่นจัด และไม่ควรอาบน้ำหรือแช่น้ำนานไป ไม่ขัดถูผิวด้วยความแรงมากไป การทำความสะอาดร่างกาย ในรายผู้ป่วยติดเตียงที่มีผิวแห้งมากๆควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่นและสบู่ ในการทำความสะอาดร่างกาย เนื่องจากจะเกิดการระคายเคืองได้ง่ายจากผิวหนังที่แห้ง และบอบบาง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่สูงอายุควรทำความสะอาดร่างกายวันละครั้งหรือตามความเหมาะสม

ผู้ป่วยติดเตียงกับการอาบน้ำ

2.ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่เหมาะกับผิวแห้ง หากต้องการใช้สบู่แนะนำให้ใช้สบู่ที่มีค่าเป็นกรดอ่อนๆ เพื่อไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่นสบู่เด็ก และอย่าขัดผิว เพียงแค่โปะๆ ฟองสบู่ที่ผิวก็เพียงพอ อาจใช้สบู่เฉพาะบริเวณผิวหน้า รักแร้ ขาหนีบ และอวัยวะเพศเท่านั้น

การอาบน้ำให้ผู้ป่วยติดเตียง

3.หลังอาบน้ำเสร็จควรทาครีมบำรุงผิวที่เหมาะกับคนผิวแห้งทันที และทาต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อเพิ่มการบำรุงผิวและส่งเสริมความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของผิวหนังในผู้ป่วยติดเตียง สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มีผิวหนังแห้งควรทาโลชั่น 3-4 ครั้ง/วัน ถ้าเป็นครีม 2-3 ครั้ง/วัน และถ้าเป็นขี้ผึ้งทา 1-2 ครั้ง/วัน เนื่องจากโลชั่นมีส่วนประกอบของน้ำมากจึงระเหยเร็ว ทำให้ต้องทาบ่อยครั้ง

บำรุงผิวให้ผู้ป่วยติดเตียง

4.นอกเหนือจากการบำรุงผิวด้วยครีมบำรุงผิวแล้ว การดื่มน้ำให้เพียงพอก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะน้ำ นอกจากจะช่วยช่วยในการนำของเสียออกจากร่างกาย ช่วยลำเลียงอาหารที่ย่อยแล้วไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายแล้ว ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว ทำให้ผิวหนังผู้ป่วยติดเตียงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดการแห้งแตก

วิธีจัดการเมื่อผู้ป่วยติดเตียงเจอปัญหา เรื่องผิวหนังแห้ง

5. หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ทำจากผลิตภัณฑ์ที่อาจระคายผิว เนื้อผ้าควรมีความยืดหยุ่นสูง เรียบลื่น สวมใส่สบาย ไม่ทำให้เกิดความอับชื้นเมื่อเหงื่อออก ชุดชั้นในก็ควรจะเลือกที่สามารถระบายอากาศได้ดี และควรเปลี่ยนชุดชั้นในทุกวัน โดยผ้าที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดตเตียงคือผ้าฝ้ายและผ้าไหม ซึ่งเป็นผ้าที่เหมาะกับคนผิวแห้ง มากกว่าผ้าที่ทำจากขนสัตว์ เพราะความอับชื้นและการเสียดสีกับเนื้อผ้าบางชนิด อาจทำให้ผิวหนังของผู้สูงอายุ และผิวหนังของผู้ป่วยติดเตียงเป็นแผล ถลอกได้

เสื้อผ้าสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

6.เมื่อพบว่าผู้ป่วยติดเตียงมีผื่นคันเป็นระยะๆ ผู้ดูแลควรให้ยาแก้คันในช่วงที่มีอาการมากและสามารถหยุดใช้ยาได้เป็นช่วงๆ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

วิธีจัดการเมื่อผู้ป่วยติดเตียงเจอปัญหา เรื่องผิวหนังแห้ง

7.หมั่นสังเกตและตัดเล็บผู้ป่วยติดเตียงให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเล็บจากการขูดขีดโดนผิวหนังและเป็นแผลได้

กล่าวโดยสรุปมักพบว่าผู้สูงอายุมีผิวหนังไม่แข็งแรงเท่าวัยหนุ่มสาว ความชื้น ที่เกิดจาก เหงื่อ ปัสสาวะและอุจจาระ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ จะมีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายร่วมกับมีผิวหนังที่บาง เมื่อผิวหนังสัมผัสความเปียกชื้นทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีความต้านทานลดลง ส่งผลให้ผิวหนังอ่อนแอและหลุดลอกเป็นแผลได้ง่ายขึ้น ผู้เขียนขอแนะนำการสร้างเสริมสุขอนามัยที่ดีของผิวหนัง การประเมินสภาพผิวหนัง การทำความสะอาดผิวหนัง การดูแลผิวหนังและบำรุงผิวหนังให้ผู้ป่วยติดเตียง เพื่อรักษาสภาพปกติของผิวหนังให้คงความชุ่มชื้น ยืดหยุ่น ไม่แห้งตึง ป้องกันความชื้นหรือผิวหนังอักเสบบวมช้ำ และป้องกันการบาดเจ็บของผิวหนัง

วิธีจัดการเมื่อผู้ป่วยติดเตียงเจอปัญหา เรื่องผิวหนังแห้ง