วิธีรับมือแผลกดทับ และวิธีป้องกันแผลกดทับ สำหรับผู้ป่วยติดเตียง

เมื่อเจอแผลกดทับ สำหรับผู้ป่วยติดเตียง เมื่อผิวหนังที่บอบบางของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวกเท่าที่ควร ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะมีรอยแดง เกิดความอับชื้นขึ้น  และแรงกดทับทำให้เกิดการบาดเจ็บทำลายของผิวหนัง ถ้าไม่ได้รับการป้องกันดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับตามมาได้ เป็นอันตราย ส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ รวมถึงก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อและเสียชีวิตได้

แผลกดทับ (pressure sore, pressure ulcer) เกิดจากการตายของเซลล์ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เนื่องจากแรงกดทับ แรงเสียดทาน แรงเสียดสี (friction) และ  แรงดึงรั้ง (shearing) ปัญหาที่สำคัญ  ในผู้ป่วยติดเตียงโรคเรื้อรัง  รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะเรื้อรัง เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวและกิจกรรมลดลง จากภาวะของโรคและแผนการรักษาของแพทย์ และยังพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวอื่นๆ เช่น ผู้ป่วย ที่ได้รับอุบัติเหตุ ผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ยังอาจพบในผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มที่มีอาการซึมเศร้า ซึ่งแผลกดทับจะพบได้ในบุคคลทุกกลุ่มวัย แต่มีแนวโน้มพบ มากขึ้นในกลุ่มวัยผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง

การดูแลแผลกดทับเบื้องต้น การดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แผลจะหายช้า หายยาก มักลุกลามขยายเป็นแผลขนาดใหญ่ขึ้น แผลลึกมากขึ้น และบ่อยครั้ง อาจเกิดการติดเชื้อตามมา

 

ดังนั้นเพื่อให้แผลกดทับหาย การป้องกันการลุกลามและการติดเชื้อ  จึงมีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ

  1. การทำแผลให้ถูกวิธีเพื่อส่งเสริมการหายของแผลกดทับ
  2. การดูแลเรื่องอาหารเพื่อช่วยส่งเสริมให้แผลกดทับหายเร็วขึ้น
    • ควรดูแลให้ผู้ป่วย หรือผู้ป่วยติดเตียงได้รับสารอาหารครบถ้วนเหมาะสมกับภาวะโรคของผู้ป่วยและควรให้ผู้ป่วยติดเตียงได้รับ น้ำและอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยมีโปรตีนและวิตามินซี ในจำนวนที่พอเหมาะเพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย
    • ถ้าผู้ป่วย หรือผู้ป่วยติดเตียงรับประทานทางปากได้น้อย ควรแนะนำอาหารเสริมอื่น ๆเช่น นม โอวัลติน หรืออาหารเสริมที่มีขายทั่วไป ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ไม่พียงพอ แพทย์อาจพิจารณาให้อาหารทางสายยางหรือทางหลอดเลือดดำ
    • สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับเกิดขึ้นแล้ว ควรดูแลการรับประทานอาหารโดยเพิ่มอาหารประเภทโปรตีนเพื่อช่วยในการส่งเสริมการหายของแผลกดทับ ปริมาณโปรตีนที่ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับควรได้รับคือ 0-1.2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน และให้วิตามินซีเพิ่มเพราะวิตามินซีมีผลต่อการหายของแผลกดทับ
  3. การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย เพื่อช่วยลดการกดทับและช่วยให้มีการ ไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น ลดการลุกลามของแผลกดทับ  การพลิกตะแคงผู้ป่วยติดเตียงจะช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับได้เป็นอย่างดี โดยวิธีการพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงสามา
    • ขยับหมอนไปทางด้านข้างที่ต้องการพลิกตัว
    • จัดท่าทางของผู้ป่วย เพื่อให้พลิกตัวได้สะดวกและไม่ทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บโดยการจัดแขนด้านที่จะพลิกตะแคงตัว ให้กางออกมานอกลำตัว ส่วนแขนด้านตรงกันข้ามนำมาวางบนลำตัว ส่วนขาให้ชันขาด้านตรงกันข้ามขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสะดวกในการพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง
    • จับบริเวณสะโพกและบริเวณสะบัก ออกแรงพลิกตะแคงคนไข้

หลังจากพลิกตะแคงตัวมาแล้วเราควรจะจัดท่าของผู้ป่วยติดเตียงอีกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดอาการหดรั้งของกล้ามเนื้อ โดยการ

  • วางผ้าขนหนูหรือหมอนรองแขนที่อยู่บริเวณด้านบน
  • ขาที่อยู่ด้านล่างเหยียดตรงและขาที่อยู่บริเวณด้านบนงอไปทางด้านหน้า โดยใช้หมอนหรือผ้าขนหนูวางไว้

 

ผู้ดูแลควรพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสการเกิดแผลกดทับตามจุดที่มีการลงน้ำหนักต่าง ๆ ในระยะยาวการพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงก็อาจทำให้ผู้ดูแลมีอาการปวดหลัง หรือปวดเอวขึ้นได้ เนื่องจากต้องออกแรงในการดันตัวเพื่อพลิกตัวผู้ป่วยอยู่ทุกวัน

ดังนั้นผู้ดูแลอาจจะพิจารณาอุปกรณ์และนวัตกรรมเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้ง่ายขึ้น แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลควรพิจารณาก่อนว่าผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีแค่ไหน มีแผลกดทับหรือไม่ แผลกดทับจัดอยู่ในระดับใด เพื่อที่จะได้เลือกซื้ออุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม และตอบโจทย์ต่อการใช้งานมากที่สุด จากนั้นก็มาพิจารณาถึงแต่ละบริเวณที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้งาน

ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง – Seniacare 

 

การดูแลแผลกดทับให้ถูกวิธีทำได้โดยการทำความสะอาดแผล จุดประสงค์เพื่อกำจัดสิ่งสกปรก แบคทีเรียที่อยู่บนพื้นแผล ประกอบด้วย

1. ชุดทำความสะอาดแผลปลอดเชื้อ

2. กระบอกฉีดยาขนาด 20 ซีซี สำหรับฉีดล้างแผล

3. ถุงมือสะอาด

4. พลาสเตอร์เทปติดผ้าก้อส

5. ถุงขยะ

6. น้ำยาทำความสะอาดแผล ได้แก่ น้ำเกลือปราศจากเชื้อ ซึ่งน้ำเกลือปราศจากเชื้อเป็นน้ำยาที่ดีที่สุด ไม่ทำลายเนื้อเยื่อสร้างใหม่ที่แผล  ไม่ทำให้แผลแสบและระคายเคือง  และน้ำยาฆ่าเชื้อบางตัวจะทำให้เนื้อเยื่อสร้างใหม่ถูกทำลาย จึงควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ แอลกอฮอล์ เบตาดีน  ยาแดง ฯ

 

วิธีการทำความสะอาดแผล

– การเช็ด ใช้สำลีชุบน้ำเกลือปราศจากเชื้อทำความสะอาดพื้นแผลอย่างเบามือโดยเช็ดจากข้างในแผลออกนอกแผลห่างจากขอบแผลประมาณหนึ่งนิ้ว และซับให้แห้ง

– การฉีดล้าง เหมาะสำหรับแผลลึกมีโพรงแผล ทำโดยใช้กระบอกฉีดยาบรรจุน้ำเกลือปราศจากเชื้อ ฉีดล้างทำความสะอาดแผล 2-3 ครั้งจนกระทั่งน้ำยาทำความสะอาดแผลที่ใช้มีความใส

กรณีเมื่อพบว่าแผลกดทับมีลักษณะ เป็นแผลตื้น ไม่กว้าง  หรือกรณีพบแผลกดทับลึกและกว้างทำได้โดย

  1. แผลตื้น ใช้สำลีชุบน้ำเกลือปราศจากเชื้อเช็ดทำความสะอาดพื้นแผลอย่างเบามือโดยเช็ดจากข้างในแผลออกนอกข้างนอกแผล
  2. แผลลึกมีโพรงแผล ทำได้โดย
  •  2.1 ทำโดยใช้กระบอกฉีดยาบรรจุน้ำเกลือปราศจากเชื้อฉีดล้างทำความสะอาดแผล 2-3 ครั้ง จนกระทั่งน้ำยาทำความสะอาดแผลที่ใช้มีความใส
  •  2.2 ใช้ผลิตภัณฑ์ปิดแผลตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
  •  2.3  ถ้ามีไข้ หรือแผลเป็นหนอง แผลมีเนื้อตายที่มีกลิ่นเหม็น แผลมีขนาดกว้างขึ้น ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาและให้การดูแลแผลที่เหมาะสม

สรุปการดูแลแผลกดทับมีหลักสำคัญคือ ดูแลแผลไม่ให้มีการลุกลามมากขึ้นร่วมกับการส่งเสริมการหายของแผล ตั้งแต่การทำแผลให้ถูกวิธี การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยเพื่อลดการกดทับและช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น การดูแลเรื่องอาหารเพื่อช่วยส่งเสริมให้แผลหายเร็ว ถ้าพบว่าแผลกดทับลุกลามเพิ่มขึ้นหรือมีการติดเชื้อที่แผล ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อการรักษาและให้การดูแลแผลที่เหมาะสม