วิธีตรวจสภาพผิวหนังผู้ป่วยติดเตียงตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า

ผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่สูงอายุ มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ รวมถึงการเกิดแผลกดทับได้มากกว่าปกติ เนื่องด้วยเซลล์ผิวหนังที่ไม่แข็งแรง หรือยืดหยุ่นเท่าเดิม และด้วยลักษณะกิจกรรมในแต่ละวันที่ต้องนั่ง นอนบนเตียงเป็นส่วนใหญ่ ทำให้แรงกดทับมีมากกว่าบุคคลทั่วไป และจากการได้เคลื่อนไหวร่างกายน้อย และความเครียดจากความเปลี่ยนแปลงในร่างกาย อาจส่งผลให้ผู้ป่วยติดเตียงหลายๆท่าน มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกายมากกว่าปกติ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ดูแล จะต้องมั่นสังเกตุผิวหนังและร่างกายของผู้ป่วยติดเตียงเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่เพียงแต่การเกิดแผลกดทับ หรือแผลกดทับลุกลาม แต่ยังรวมถึงความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งเป็นการประเมิณสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยติดเตียงอยู่ตลอดเวลา

ผิวหนังเป็นระบบปกคลุมร่างกายที่อยู่ชั้นนอกสุดป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย ระบบผิวหนังประกอบด้วยผม ขน เล็บ ต่อมไขมัน และต่อมเหงื่อ ลักษณะของสีผิวปกติแล้วผิวหนังควรจะเป็นสีเดียวกัน ทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งสีผิวอาจแตกต่างกันตามเชื้อ ในการตรวจร่างกายทั่วไปของผู้ป่วยควรเริ่มตั้งแต่แรกเห็นผู้ป่วย

สําหรับผู้ตรวจใหม่อาจมีความตื่นเต้นไม่แน่ใจในตนเองดังนั้นจึงควรพยายามสงบและตรวจด้วยความมั่นใจ บอกเล่าให้ผู้ป่วยฟังทุกครั้งว่าเราเป็นใครและกําลังจะทําอะไร การตรวจควรทําอย่างสุภาพอ่อนโยน ควรเลือกตรวจจุดที่ไม่มีอาการเจ็บก่อน ควรตรวจในสถานที่ที่เหมาะสม การเปิดหรือเปลื้องเสื้อผ้าผู้ป่วยควรพิจารณาเฉพาะในรายที่จําเป็น ถ้าเป็นผู้ป่วยหญิงและผู้ตรวจเป็นชายต้องมีบุคคลที่สามอยู่ด้วย ขณะตรวจควรสังเกตสีหน้าผู้ป่วยเสมอ หากมีการตรวจที่อาจจะทําให้ผู้ป่วยเจ็บ ต้องบอกให้ผู้ป่วยทราบก่อน

การตรวจร่างกายทั่วไปตามประเพณีของไทยมักจะถือว่าศีรษะเป็นของสูง ถ้าเราตรวจเท้าก่อนแล้วไปตรวจศีรษะและหน้าตาผู้รับบริการมักจะไม่พอใจ ดังนั้นควรตรวจศีรษะก่อน และก่อนตรวจควรบอกให้ผู้รับบริการทราบก่อน ซึ่งระบบการตรวจร่างกายมีหลายระบบ ครั้งนี้ขอกล่าวถึง Head-To-Toe assessment criteria เป็นการตรวจที่เริ่มจากการดูสภาพทั่วๆไปตั้งแต่ศีรษะและใบหน้า ตา หู จมูก ช่องปาก ลําคอ หน้าอก เรื่อยไปจนถึงส่วนของแขนขา

การตรวจร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าผู้ป่วยติดเตียงที่ดูแลเพื่ออะไร
1.เพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง
2.เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงและตรวจสอบลักษณะความผิดปกติที่บ่งบอกว่าจะเกิดโรค หรือเกิดแผลกดทับ
3.เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้ป่วยติดเตียงให้มีประสิทธิภาพและสุขภาวะที่ดียิ่งขึ้น

การตรวจร่างกายทั่วไปหลักการและวิธีตรวจร่างกาย โดยทั่วไปมีวิธีปฏิบัติ 4 วิธี ได้แก่ ดู คลํา เคาะ ฟัง
1.การดู (Inspection) เป็นการสํารวจด้วยสายตาว่าผู้ป่วยมีสิ่งผิดปกติอย่างไรบ้าง ควรเริ่มดูตั้งแต่ผู้ป่วยเดินเข้ามาและขณะซักประวัติสุขภาพ โดยดูทั่วๆเป็นระบบด้วยตาเปล่า
2.การคลํา (Palpation) เป็นการตรวจร่างกายโดยการสัมผัสด้วยมือ ฝ่ามือ หรือหลังมือ บางครั้งอาจทําร่วมกับการดูด้วย ลักษณะการคลําอาจใช้วิธีการคลําเบาๆ
3.การเคาะ (Percussion) วัตถุประสงค์คือ ทําให้เกิดเสียงและความสั่นสะเทือน
4.การฟัง การฟังที่ดีจะต้องสังเกตเกี่ยวกับ ความถี่ ความหนาแน่นหรือความดังของเสียงนั้นๆ

วิธีตรวจสภาพผิวหนังตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า “ผู้ตรวจควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังตรวจสภาพผิวหนัง”
ขอแนะนำรายการตรวจสภาพผิวหนังตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ดังนี้

สรุป การตรวจสภาพผิวหนังตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าเมื่อพบอวัยวะใดมีความผิดปกติที่สภาพผิวหรือที่อื่นๆ ผู้ตรวจต้องรีบนำใบรายการตรวจนี้แก่ญาติเพื่อแก้ไขเบื้องต้นหรือปรึกษาแพทย์ต่อไป นอกจากรายการที่ผู้ตรวจต้องหมั่นตรวจเช็คแล้ว ข้อควรระวังผู้ตรวจควรแจ้งให้ผู้ป่วยติดเตียงทราบทุกครั้งที่ทำการตรวจสภาพผิว ผู้ตรวจควรจัดท่าทางผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสม ขณะตรวจสภาพผิวหนังควรให้มิดชิด และต้องสังเกตการเคลื่อนไหวของร่างกาย สุขอนามัย กลิ่นตัว และการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ป่วยร่วมด้วย สิ่งสำคัญที่สุดเรื่องความสะอาดผู้ตรวจควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังตรวจสภาพผิวหนังตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า พร้อมทั้งคอยดูแลผิวหนังให้ผู้ป่วยติดเตียงตลอดเวลา ไม่เพียงแต่เฉพาะตอนตรวจเท่านั้น