ครอบครัวที่มีผู้ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน หลายท่านคงมีความกังวลมาก โดยเฉพาะเมื่อผู้ดูแลต้องประสบเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวด้วย จะทำอย่างไรให้สามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่สามารถทานอาหารเองได้ เข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่ายเองไม่ได้ อาบน้ำหรือช่วยเหลือตนเองในด้านอื่นๆได้ด้วยตนเองไม่ได้เลย ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแลอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ดูแลควรศึกษาวิธีการและทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพื่อฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยติดเตียงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ผู้ดูแลดูผู้ป่วยติดเตียงจะต้องดูแลผู้ป่วยที่บ้านเกือบตลอด24 ชั่วโมง ได้แก่ การดูแลทางด้านร่างกายและดูแลสภาพจิตใจ การดูแลเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งที่ผู้ดูแลควรรู้และเอาใจใส่กับผู้ป่วยติดเตียงเป็นอย่างมาก เพราะหากปล่อยปะละเลยหรือดูแลได้ไม่ดี อาจจะพบปัญหาอาทิ เช่น การเกิดแผลกดทับ การรับประทานอาหารได้ลำบาก
การเกิดแผลกดทับ
การเกิดอาการแผลกดทับ เนื่องจากการนอนเป็นระยะเวลานานๆ ผู้ดูแลควรใส่ใจและระวังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และควรหมั่นพลิกตัวของผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง ในการพลิกตัวทำได้ด้วยการ พลิกตัวตะแคงซ้าย ตะแคงขวา โดยไม่ลากหรือทำให้เกิดการเสียดสีที่จะทำให้เกิดแผล สำหรับอาการแผลกดทับ เกิดจากการที่ผู้ป่วยนอนในท่าเดียวนานๆ โดยเฉพาะบริเวณก้น และ หลัง จะมีโอกาสเกิดแผลกดทับได้มากที่สุด โดยเริ่มแรกจะมี การแค่ผิวลอกนิดหน่อย แต่นานเข้าแผลนั่นจะลุกลามไปยังกล้ามเนื้อ และกระดูก และเมื่อเกิดมีแผลก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อตามมาซึ่งทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีความยากมากขึ้น ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรหมั่นสังเกตุร่างกายผู้ป่วย หรือหาอุปกรณ์เสริมเพื่อลดโอกาสการเกิดแผลกดทับ
การรับประทานอาหารได้ลำบาก
การรับประทานอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับฟัน หรือปัญหาในช่องปากต่างๆ ทำให้กลืนยาก หรือจำเป็นต้องเจาะทางเดินอาหารใหม่ ผู้ดูแลต้องยกตัวผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งโดยใช้หมอนหนุนหลัง หรือปรับเตียงเอียงขึ้นให้พอนั่งได้ แล้วค่อยๆป้อนอาหาร ให้ผู้ป่วยเคี้ยวจนละเอียดและเคี้ยวให้นาน หากมีอาหารสำลักให้หยุดป้อนอาหารทันที ถ้าหากสำลักอาหารอาจทำให้ติดเชื้อทางเดินหายใจ หรืออุดกั้นทางเดินหลอดลม จนทำให้ขาดอากาศหายใจถึงขั้นอันตรายแก่ชีวิต
ผู้ดูแลจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะตามมาได้ วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลควรจะปฏิบัติ ดังนี้
1.การจัดสถานที่ให้อยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก โปร่งโล่ง ทำความสะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากการดูแลผู้ป่วย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของความสะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อลดการติดเชื้อต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ง่าย นอกจากลดโอกาสการติดเชื้อแล้ว การจัดสถานที่ให้ถ่ายเทสะดวก ยังช่วยลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์เช่นกลิ่นปัสสวะของผู้ป่วยติดเตียง ที่อาจจะทำให้ลายบรรยากาศและสุขลักษณะของห้องพักผู้ป่วย เพราะฉะนั้นผู้ดูแลควรหมั่นทำความสะอาด และปฎิบัติตามวิธีการกำจัดเชื้อโรคและกลิ่นไม่พึ่งประสงค์เหล่านี้เป็นประจำ
2.ที่นอนควรไม่แข็งและไม่นุ่มจนเกินไป เพื่อสุขภาพการนอนของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงจะต้องนอนบนที่นอนตลอดเวลา เกือบ 24 ชั่วโมง หากเป็นไปได้ควรหาที่นอนที่ออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะ เพื่อที่จะลดแรงกดทับ ต้นเหตุของแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง
3.เรื่องการเตรียมอาหารให้ผู้ป่วยติดเตียง อาหารที่แนะนำควรเป็นอาหารเหลว อาหารอ่อน เนื่องจากการดูแลผู้ป่วย ที่ทานอาหารเองไม่ได้ สิ่งที่ควรระวังคือการเสี่ยงต่อการเกิดการสำลักอาหาร เศษอาหารติดอุดตันหลอมลม ในบางกรณีที่เศษอาหารชิ้นใหญ่อาจจะทำให้ผู้ป่วยสำลักจนเกิดการขาดอากาศหายใจได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ควรห้ามให้ผู้ป่วยนอนกินอาหาร ควรให้นั่งตัวตรง ประมาณ 90 องศา เมื่อผู้ป่วยทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าพึ่งให้นอนในทันที ควรให้นั่งในท่าตรงที่สุดประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารย่อยเสียก่อน วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาผู้ป่วยสำลักอาหารได้อย่างดีทีเดียว
ส่วนการเลือกอาหาร ควรเลือกอาหารที่กลืนง่าย ย่อยง่าย เช่นโจ๊ก ข้าวต้ม ซุปเห็ด ปลานึ่ง นอกจากเลือกอาหารที่เคี้ยวง่ายแล้ว ยังต้องเลือกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินหลากหลาย ไม่จำเจ และหลีกเลี่ยงอาหารต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
4.การเกิดอาการแผลกดทับ เนื่องจากนอนเป็นระยะเวลานานๆ ผู้ดูแลควรใส่ใจและระวังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และควรหมั่นพลิกตัวของผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง ในการพลิกตัวทำได้ด้วยการ พลิกตัวตะแคงซ้าย ตะแคงขวา ผู้ดูแลสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เสริมได้ เช่น หมอนนุ่มๆ ขนาดต่างๆลดแรงกดทับ เตียงลม หรือที่นอนลม หรืออาจจะเป็นที่นอนยางพาราเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ปัจจุบันนี้ราคาย่อมเยาว์ขึ้น หาซื้อได้ง่ายมากขึ้น การป้องกันแผลกดทับเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลกระทบให้เกิดแผล ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับตามมาได้
5.การดูแลผู้ป่วยติดเตียง เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในทุกๆด้าน ซึ่งรวมถึงการขับถ่ายด้วย โดยวิธีแก้ปัญหานี้ของผู้ดูแลคือการใส่แพมเพิร์ส เพื่อรองรับปัสสาวะ และอุจจาระ ของผู้ป่วย ปัญหาที่พบอยู่บ่อยครั้งสำหรับการใส่แพมเพิร์สนานๆคือการอับชื้น การติดเชื้อต่างๆ ผู้ดูแลจึงควรหมั่นสังเกตว่าแพมเพิร์สเต็มแล้วหรือยัง และควรเปลี่ยนแพมเพิร์สให้ผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อลดการอับชื้น การติดเชื้อต่างๆ
6.การดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยติดเตียง นอกเหนือจากการดูแลสภาพร่างกายของผู้ป่วยแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วย เพราะบางครั้งผู้ป่วยติดเตียงอาจเกิดความเครียดและมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นผู้ดูแลต้องเข้าใจและหาวิธีรับมือกับอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยติดเตียง ด้วยการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรัก ความจริงใจ ในเวลาว่างผู้ดูแลอาจจะบีบนวดเพื่อช่วยผ่อนคลายให้กับผู้ป่วย อ่านหนังสือให้ฟัง พูดคุยด้วยหน้าตาท่าทาง ยิ้มแย้มแจ่มใส ชวนคุย ชวนดูรายการโทรทัศน์ เพื่อสร้างบรรยากาศ และอารมณ์ที่ดีให้กับผู้ป่วย การสัมผัส การพูดจา วิธีนี้อาจจะช่วยให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยแข็งแรง มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคหรืออาการที่กำลังเป็นอยู่ อาจจะช่วยทำให้อาการป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น ทานอาหารได้มากขึ้น สุขภาพแข็งแรง และในบางรายอาจมีโอกาสหายเป็นปกติได้
สำหรับวิธีปฎิบัติต่างๆที่มีต่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ที่กล่าวมาเป็นเพียงการดูแลเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีรายละเอียดการดูแลผู้ป่วยอีกมากมายหลายเรื่องที่ผู้ดูแลจะต้องศึกษา เรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี และสิ่งสำคัญที่สุดคือกำลังใจ ผู้ป่วยติดเตียงก็ต้องการการดูแลที่มาจากความรัก ความเอื้ออาทร ต้องการกำลังใจ คำพูดที่อ่อนน้อม และผู้ดูแลเอง ก็ต้องมีความอดทน ความเพียรพยายาม เพราะงานดูแลผู้ป่วยถือได้ว่าเป็นงานที่หนัก ผู้ดูแลต้องการกำลังใจด้วยเช่นกัน งานดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวถือได้ว่าเป็นงานที่เหนื่อยแต่เมื่อผู้ดูแลทำด้วยความรักก็ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และผู้ดูแลก็พบความสุขได้อย่างดี