สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และยังสร้างความยากลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน เป็นเหตุให้เกิดความตึงเครียดและความวิตกกังวลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวที่มีผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุอยู่ในความดูแล ผู้ดูแลและสมาชิกครอบครัวอาจจะต้องเผชิญกับความเครียดจากการให้การดูแลผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในด้านร่างกายจิตใจของผู้ดูแล จนทำให้ไม่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสุขภาพจิตของผู้ป่วยและผู้สูงอายุอีกด้วย ซึ่งความเครียดเหล่านี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งกับคนรอบข้างและคนในครอบครัวได้
วันนี้ขอแนะนำ 6 วิธีคลายเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ลองมาเลือกดูกันนะคะว่าเราทำเทคนิคไหนได้บ้าง
1. เข้ากลุ่ม Social Network ที่พูดคุยถึงเรื่องที่คุณสนใจ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งบางครั้งยังได้ความบันเทิง รวมถึงความรู้ใหม่ๆในกลุ่ม Social Network ที่มีความสนใจเดียวกันกับคุณอีกด้วย การเข้ากลุ่ม Social Network อาจจะรวมถึงกลุ่ม Social Network ที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงร่วมกัน เพื่อแชร์ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยติดเตียง และเทคนิคในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงต่างๆ ที่อาจจะสามารถนำมาปรับใช้ได้
2. ปรึกษากับคนในครอบครัวในเรื่องการแบ่งเบาภาระงานอื่นๆ ของคุณออกไป หากคุณต้องเป็นคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นหลัก คุณควรปรึกษากับคนใกล้ชิดเรื่องการแบ่งเบาภาระงานอื่นๆของคุณ เช่นงานบ้านหรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆ ออกไป เพราะหากคุณมีภาระความรับผิดชอบอื่นๆ หรือ ภาระค่าใช้จ่ายบางอย่างที่เกิดขึ้นในขณะที่คุณไม่สามารถใช้เวลาในการทำสิ่งนั้นได้เท่าเดิม หรือการที่คุณอาจจะมีรายได้ลดลงจากการที่คุณไม่สามารถออกไปทำงานได้อย่างเต็มที่เหมือนเดิม เนื่องจากต้องแบ่งเวลามาดูแลผู้ป่วยติดเตียง ภาระค่าใช้จ่าย และหน้าที่ต่างๆ เหล่านั้นอาจจะมีผลกระทบต่อจิตใจของคุณเป็นอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้ คุณควรพูดคุยกับคนในครอบครัว เพื่อช่วยกันแบ่งเบาภาระ หน้าหน้าที่ความรับผิดชอบภายในบ้าน รวมถึงแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อลดความกดดัน ความกังวล และความเครียดในระหว่างการดูแลผู้ป่วยติดเตียง
3. ดูแลสุขภาพตัวเอง โดยการให้คนอื่นมาผลัดเปลี่ยนเวรในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงของคุณสัก 1-2 ชม. เพื่อให้คุณได้พักผ่อนและดูแลตัวเอง สามารถมีเวลาไปออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ ออกไปสูดออากาศนอกบ้าน ทำให้สมองได้ปลอดโปร่ง โล่งสบาย อีกทั้งยังได้รีเฟชพลังงานใหม่ๆให้กับตัวเอง เพื่อกลับมาเติมเต็มพลังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างเต็มที่
4. หางานอดิเรกทำบ้าง ควรหาเวลาทำงานอดิเรกที่ชอบทำ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ การดูละคร การฟังเพลง ฯลฯ เพื่อผ่อนคลาย และใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองมากขึ้น อีกทั้งคุณยังสามารถทำกิจกรรมเหล่านั้นร่วมกันระหว่างดูแลผู้ป่วยติดเตียวได้ เช่นนั่งดูหนัง ฟังเพลง หรืออ่านหนังด้วยกันกับผู้ป่วยติดเตียง แล้วก็บอกเล่าหรือชวนผู้ป่วยติดเตียงคุยเกี่ยวกับเรื่องราวของหนัง เพลง หรือหนังสือที่อ่าน เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงเป็นเพื่อนร่วมผ่อนคลายกับคุณได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยก็ยังได้ผ่อนคลายร่วมกับเราได้อีกทางหนึ่ง
5. หาเพื่อนคู่คิดในยามดูแลผู้ป่วยติดเตียง อย่าลืมหาข้อมูลเบอร์โทรติดต่อผู้เชี่ยวชาญ คุณหมอ โรงพยาบาล
พยาบาล คนที่ดูแลผู้ป่วยคนอื่นๆ เพื่อขอความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน โดยจดบันทึกไว้ในจุดที่คุณสามารถโทรออกได้สะดวก เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน คุณจะได้พร้อมหาแนวทางป้องกันและแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นสำหรับคุณ และผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างทันถ่วงที และเหมาะสม ทั้งยังช่วยให้คุณอุ่นใจว่ามีที่ให้ปรึกษาในยามฉุกเฉิน
6. หาเพื่อนรับฟังหาคนที่ไว้ใจรับฟังเรื่องราวความเครียดความทุกข์ของคุณ เพื่อเป็นการระบายออกไปได้ โดยเลือกคนที่คุณไว้ใจสามารถปรึกษาปัญหาต่างๆได้ทุกเรื่อง เพื่อสร้างพลังงานดีๆให้กับตัวเองกลับมามีพลังใหม่ขึ้นอีกครั้ง หรือคุณอาจเลือกใช้ช่องทางของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะมีบริการสายด่วน โทร. 1667ของกรมสุขภาพจิตก็มีบริการค่อยช่วยเหลือคุณ ซึ่งคุณสามารถโทรไปขอรับการปรึกษาพูดคุย ในเวลาที่คุณรู้สึกอึกอัด เครียด ผ่านเจ้าหน้าที่ นักจิตวิทยาที่จะคอยเป็นเพื่อนคุณในยามทุกข์ ยามเครียดของคุณได้
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้ทั้งเวลา ความอดทน และความเข้าใจในการดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากกับผู้ป่วยติดเตียงและเป็นผู้เสียสละอย่างมาก และเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างเต็มที่ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การดูแลความรู้สึกของผู้ดูแลก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ผู้ดูแลควรอธิบายให้คนรอบข้างได้มีส่วนร่วมในการแบ่งเบาภาระของคุณบ้าง เพื่อให้คุณได้มีเวลาส่วนตัว ได้ผ่อนคลาย เพราะหากผู้ดูแลได้มีเวลาพักผ่อนเพียงพอ นอกจากจะดีกับผู้ดูแลแล้ว ยังส่งผลถึงผู้ป่วยติดเตียงด้วย ยังไงทาง SeniaCare ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ดูแลทุกท่านนะคะ