วิธีการนวดเพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงผ่อนคลาย

วิธีการนวดเพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงผ่อนคลาย

วิธีการนวดเพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงผ่อนคลาย และเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ระบบไหลเวียนเลือด มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ทุกคนไม่เพียงแต่ผู้ป่วยติดเตียง โดยทำหน้าที่เป็นระบบขนส่งสารอาหาร ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์และนำของเสียออกจากเซลล์ ปรับสมดุลแร่ธาตุและน้ำในร่างกาย รวมถึงควบคุมอุณหภูมิร่างกายเมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดมีความเสื่อมถอยรวมทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงจากโรคต่างๆ เช่นโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูงโรคเบาหวาน ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาของการไหลเวียนเลือดส่วนปลายลดลง

วิธีการนวดเพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงผ่อนคลาย

ผลการนวดที่มีต่อระบบไหลเวียนเลือด
เมื่อกดลงบนหลอดเลือดดำ ก็จะมีการไหลของเลือดในหลอดเลือดไปข้างหน้าหรือเข้าสู่หัวใจ และเลือดที่เข้ามาแทนที่ก็จะเป็นเลือดที่อยู่ด้านหลัง การกดหลอดน้ำเหลืองก็ให้ผลเช่นเดียวกัน ทั้งหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลืองจะได้รับผลกระทบเท่าๆ กันในขณะที่ถูกนวด เลือดและน้ำเหลืองจึงมีการไหลไปข้างหน้าและการเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว การรักษาด้วยการนวดจึงทำให้มีเลือดสดและใหม่มาเลี้ยงเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น แต่หลอดเลือดและหลอดน้ำเหลืองนั้นจะต้องไม่มีการอุดตัน และขณะที่ใช้แรงกดไปตามทิศทางนั้น ก็จะทำให้เลือดไหลไปสู่หัวใจได้ดีขึ้น เมื่อหัวใจมีปริมาณเลือดมากขึ้นก็จะทำให้มีเลือดแดงไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย ทำให้การเสื่อมของร่างกายชะลอลง และในบริเวณนั้นจะมีเมแทบอลิซึมเพิ่มขึ้นด้วย

วิธีการนวดเพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงผ่อนคลาย

การนวด คือ การบำบัดและทำให้ร่างกายผ่อนคลาย โดยใช้ทักษะทางร่างกายและอุปกรณ์เสริมด้วยการ บีบ จับ คลึง รีดเส้น เหยียบ ยัน กดจุด ดัด หรือกระตุ้นด้วยการสั่น เพื่อกระตุ้นให้การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบต่างของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ถือเป็นประเภทหนึ่งของการรักษาที่มีมายาวนาน วิธีการนวดเพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงผ่อนคลาย ชนิดต่างๆ มีดังนี้

  1. การกด มักจะใช้นิ้วมือเป็นการนวด โดยทั่วไปนิยมใช้นิ้วหัวแม่มือเป็นตัวหลัก เทคนิคการวางนิ้วอาจจะกดลงไปตรงๆ ด้วยกลางนิ้วบริเวณข้อต่อที่ 2 ไม่ใช้บริเวณปลายนิ้วกด อาจกดเพียงนิ้วเดียว หรือใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองวางคู่กันกดลงไปก็ได้ เทคนิคการกดนั้น มักจะใช้กับบริเวณที่เป็นจุดเฉพาะ ซึ่งจะลงน้ำหนักได้แม่นยำตรงจุด ใช้กับการนวดกล้ามเนื้อทั่วๆ ไป
  2. การคลึง คือ การหมุนวนเป็นวงกลมขณะนวด พร้อมยังมีการเคลื่อนที่ไปรอบๆบริเวณนั้นด้วย โดยมักจะใช้กับกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ต้องออกแรงมากโดยใช้นิ้วมือฝ่ามือ หรือสันมือในการคลึงก็ได้ กล้ามเนื้อจะผ่อนคลายได้ดีเราจะรู้สึกสบายเป็นวิธีการที่นุ่มนวลไม่รุนแรง
  3. การบีบ วิธีนี้ใช้กันอยู่บ่อยๆ คือการใช้แรงกระทำต่อกล้ามเนื้อโดยตรง ต้องการให้กล้ามเนื้อทั้งมัดนั้นมีการผ่อนคลาย มักจะใช้กับกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น แขน ขา หลัง เป็นต้น และใช้กับกล้ามเนื้อที่มีอาการเกร็งตัวได้ดี
  4. การบิด คือการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อให้ไปในแนวขวางเป็นการยึดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อต่างๆ โดยจับกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือ แล้วบิดหมุนเป็นลูกคลื่นไปตามกล้ามเนื้อ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่น แขน ขา และหลังเป็นต้น
  5. การดัด มักจะใช้กับข้อต่อที่มีการติดแข็ง หรือมีอาการขัดในข้อ เทคนิคนี้ค่อนข้างต้องใช้ความชำนาญสูงเพราะอาจเกิดอันตรายได้ง่าย ทั้งต่อเยื่อพังผืด เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อต่อ
  6. การดึง เป็นการหยิบกล้ามเนื้อยืดออก มักใช้กับรายที่มีการหดรั้งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ เทคนิคดึงนี้ต้องใช้ความชำนาญเหมือนกัน เพราะจะเกี่ยวข้องกับข้อต่อซึ่งบริเวณที่บาดเจ็บนั้นจะอ่อนแอ และอาจฉีกขาดได้ง่าย ถ้าเราใช้แรงดึงที่มากเกินไป
  7. การทุบ การเคาะ และการสับ เป็นการออกแรงอย่างเป็นจังหวะ อาจใช้กำปั้นหลวมๆ ใช้สันมือหรือใช้ฝ่ามือ เคาะสับลงไปตรงบริเวณที่ต้องการเป็นจังหวะ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยมากจะใช้กับกล้ามเนื้อใหญ่ๆ เช่น หลัง คอ บ่า ไหล่ เป็นต้น
  8. การเหยียบ มักใช้กับกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น แขน ขา หลัง แต่อาจเกิดอันตรายได้ง่าย เนื่องจาก การเหยียบนั้นกะน้ำหนักได้ไม่ค่อยแม่นยำนัก มักจะออกแรงมากเกินไป ทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการนวดขึ้นได้ ถ้าจะใช้เทคนิคนี้ต้องแน่ใจในฝีมือจริงๆ และต้องมั่นใจว่าปลอดภัยจึงจะใช้ได้

ประโยชน์ของการนวด

  1. ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนคล่อง เพื่อให้เลือดสามารถนำออกซิเจน ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายได้อย่างทั่วถึง
  2. ขับของเสีย ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำเหลือง เพื่อไม่ให้มีการสะสมของเสียไว้ในร่างกาย สุขภาพก็ดีขึ้น
  3. แก้อาการปวดต่างๆ เช่นปวดยอก ปวดคอ ปวดหลัง ปวดสะโพก อาการชา เนื่องจากไหลเวียนเลือดไม่ดี เป็นต้น
  4. ช่วยคลายการปวดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ สลายพังผืด ที่เป็นต้นเหตุในของขัดการไหลเวียนของเลือดและทำให้เกิดการอักเสบปวดกล้ามเนื้อ
  5. แก้ไขในส่วนที่เป็นต้นเหตุของการเจ็บปวด ซึ่งช่วยให้การเคลื่อนไหวร่างกายให้เป็นปกติ
  6. เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ / กล้ามเนื้อ ปรับสมดุลของร่างกาย
  7. ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายสบายอารมณ์ สุขภาพจิตดี อารมณ์สงบ นอนหลับได้ง่ายขึ้น และหายจากอาการซึมเศร้าได้

สิ่งที่ควรระวังจากการนวด

  1. ห้ามนวดบริเวณที่เป็นมะเร็ง
  2. ห้ามนวดบริเวณที่บาดเจ็บหรืออักเสบเฉียบพลัน บวม แดง ร้อน
  3. ห้ามนวดผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นโรคเลือดต่าง ๆ มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำอย่างรุนแรง
  4. ห้ามนวดคนที่มีภาวะกระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ที่ยังไม่หายดี หรือตำแหน่งที่มีการผ่าตัดกระดูกและยังไม่ประสาน
  5. ห้ามนวดคนโรคติดเชื้อทางผิวหนังทุกชนิด
  6. สตรีมีครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของทารกและตัวคุณแม่เอง
  7. ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง
  8. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  9. ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียม

วิธีการนวดเพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงผ่อนคลาย

สรุป การนวดนอกจากช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดแล้ว ยังเป็นการเพิ่มสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้นวดและผู้ป่วย เป็นการให้การดูแลที่เน้นการสัมผัสด้วยมือ ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นใด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อจิตใจของผู้ป่วย ช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยวิกฤตได้ มีงานวิจัยกล่าวว่าการนวดและการออกกําลังกายสามารถเพิ่มการไหลเวียนเลือดอีกทั้งการออกกําลังกายยังสามารถช่วยลดระดับนํ้าตาลในเลือดได้และในงานวิจัยได้กล่าวพิ่มเติมว่ากล้ามเนื้อมีการตึงตัวขึ้น และสภาพอารมณ์ดีขึ้นอย่างชัดเจน การนวดเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดยังมีประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ที่เคลื่อนไหวได้ลำบาก เคลื่อนไหวได้น้อย การนวดสำหรับผู้ป่วยติดเตียงนอกจากจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดแล้ว ยังช่วยคลายความเมื้อยล้าของกล้ามเนื้อ เพิ่มการออกกำลังกายให้กับกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี นอกจากการนวดให้ผู้ป่วยติดเตียงแล้ว อย่าลืมดูแลเรื่องอาหารการกินที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างเม็ดเลือด การปรับท่านั่ง-ท่านอนให้ถูกต้องกับผู้ป่วยติดเตียง และการพลิกตัวให้ผู้ป่วยติดเตียง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และป้องกันการเกิดแผลกดทับนะคะ

การนวดเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ผู้ป่วยติดเตียง