วัคซีนโควิดกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มไหนควรฉีด-ไม่ฉีด เป็นคำถามที่หลายๆบ้านอาจตั้งคำถามเพราะเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีการแพร่ระบาดในวงกว้าง ในปัจจุบัน ผู้สูงอายุถือเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคง่าย และอาจมีอาการอย่างรุนแรงมากกว่ากลุ่มวัยอื่น ซึ่งในที่พักอาศัยเป็น สถานที่ทุกคนในครอบครัวมาอยู่ร่วมกันและหากมีสมาชิกในครอบครัวหรือผู้สูงอายุที่เดินทางมาจากต่างประเทศ พื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาจทำให้เกิดการ แพร่กระจายเชื้อโรคได้ ดังนี้ ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข ทยอยเปิดให้ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะการเร่งฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ก็มีคําถามว่าแล้วผู้สูงอายุซึ่งมีทั้งกลุ่มแข็งแรง กลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจําตัวไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง กลุ่มไหนควรฉีด ไม่ฉีด หรือมีข้อควรระวังอย่างไรสำหรับการฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง SeniaCare จึงรวบรวมข้อมูลและแยกกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่ควรและไม่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ดังนี้
กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่ควรได้รับวัคซีน ได้แก่
1.เป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนข้างหน้า หรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย เช่น ป่วยโรคมะเร็ง หากรับวัคซีนเข้าไปอีก จะทำให้ท่านลำบาก วัคซีนที่เข้าไปก็ไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันอยู่ดี
2.กลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่มีประวัติเคยแพ้วัคซีน หรือแพ้ยา หรือส่วนประกอบวัคซีนอย่างรุนแรง
3.ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่เคยได้พลาสมา (Plasma) หรือน้ำเหลือง หรือผลิตภัณฑ์จากเลือด ที่ใช้ในการรักษาโควิด-19 ภายใน 90 วัน หรือ 3 เดือนที่ผ่านมา
4.ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่เพิ่งตรวจพบเชื้อโควิด-19 ภายใน 10 วันที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่ต้องให้แพทย์พิจารณาเป็นพิเศษก่อนฉีดวัคซีน ได้แก่
1.ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้
2.ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงมีอาการเกี่ยวกับสมอง หรือระบบประสาทอื่นๆ
3.ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงมีประวัติเลือดออกผิดปกติ
4.ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือ Warfarin
5.ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่ยังมีไข้หรือเพิ่งหายไข้ไม่เกิน 14 วัน
ดังนั้นหากไม่มีภาวะข้างต้น ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทุกคน ขอให้ทุกท่านอย่าตื่นกลัวกับการฉีดวัคซีน แต่ขอให้ตื่นกลัวกับปัญหาจากเชื้อไวรัสโควิด-19 จะดีกว่า เพราะผู้สูงอายุหากติดเชื้อแล้วมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าวัยอื่นๆ โดยในบางกรณีที่พบคือผู้สูงอายุบางคนอายุ 70 กว่า มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง กระฉับกระเฉง แต่พอเมื่อได้รับเชื้อโควิด 19 และพบว่าไม่มีอาการใดๆในช่วง 4–6 วันแรก พอเข้าวันที่ 7 ขึ้นไป เริ่มมีอาการและรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด
อีกทั้งในส่วนผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่อยู่แต่บ้าน ควรได้รับวัคซีนหรือไม่นั้น คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญหลายท่านยังคงแนะนําว่าหากไม่มีภาวะข้างต้นที่กล่าวมาก็ควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 อย่างยิ่ง เนื่องจากแม้ผู้สูงอายุจะอยู่แต่บ้านไม่ออกไปไหน แต่ส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อโควิด 19 ก็มักจะได้รับเชื้อมาจากคนในบ้านตัวเอง เพราะคนในบ้านต้องออกไปทํากิจกรรมข้างนอกบ้าน แล้วนําเชื้อติดตัวกลับด้วย และหากมารับประทานข้าวด้วยกันในบ้าน นั้นยิ่งนับว่ายังอันตรายอยู่ อย่างไรก็ตามตอนนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมแผนส่งทีมงานไปฉีดวัคซีนให้ถึงบ้าน สําหรับผู้ป่วยติดเตียง พร้อมเฝ้าสังเกตอาการหลังฉีด 30 นาที ดังนั้นคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่านตอนนี้ยังคงยืนยันว่าผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียงควรฉีดวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดใดในประเทศ ไม่ต้องเลือก เพราะวัคซีนชนิดใดก็ใช้ได้ทั้งนั้น มีผลการรับรองข้อมูลทางการแพทย์ในต่างประเทศ และข้อมูลผู้สูงอายุอายุ 80-90 ปีที่มาฉีดที่โรงพยาบาลรามาฯ แล้วหลายหมื่นราย เพราะเมื่อได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แม้จะยังมีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 อยู่ แต่ก็ลดโอกาสการเจ็บป่วยรุนแรง การเสียชีวิตไปได้มาก ดังนั้นจึงขอเชิญชวนผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงแจ้งความประสงค์ขอรับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด19 อย่างเร็วที่สุด ร่วมกัน แล้วเราจะผ่านวิกฤตและสถานณการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจของทุกภาคส่วน
SeniaCare ขอเป็นกําลังใจให้ทุกท่าน และหากท่านมีข้อสงสัยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง SeniaCare ยินดีให้คําปรึกษาและแบ่งปันประสบการณ์ให้กับทุกท่านร่วมกันนะคะ