เทคนิคดูแลผู้ป่วยติดเตียง สำหรับมือใหม่

หลายคนนั้นอาจจะเป็นคนที่กำลังจะดูแลผู้ป่วยติดเตียง และอาจจะเป็นมือใหม่ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วย ดังนั้นสำหรับใครที่กำลังจะดูแลผู้ป่วยติดเตียงและเป็นมือใหม่ด้วยนั้นเราจะต้องรู้เรื่องไรบ้าง

ส่วนใหญ่ผู้ดูแลหลักมักเป็นบุคคลในครอบครัวที่ได้รับมอบหมายหรือสมาชิกครอบครัวลงความเห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถในการให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นๆได้ สถานภาพระหว่างผู้ดูแลหลักกับผู้ป่วยติดเตียงได้แก่ บุตร สามี/ภรรยา พี่ น้อง หลาน หรือญาติคนใดคนหนึ่ง

หน้าที่การดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นหน้าที่ที่หนักโดยเฉพาะผู้ดูแลหลักที่รับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพียงคนเดียว และไม่มีสมาชิกในครอบครัวคนอื่นผลัดเปลี่ยนจึงต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ดูแลหลักต้องให้การดูแลช่วยเหลือด้านปฏิบัติกิจวัตรประจำวันผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่นการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การเคลื่อนไหวเป็นต้น อีกทั้งต้องดูแลอาการและการจัดการอาการต่าง ๆ เช่น อาการเจ็บปวด หายใจหอบเหนื่อย ผู้ดูแลหลักจึงต้องให้การดูแลเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวให้กับผู้ป่วยติดเตียง ได้แก่ ให้ยา ดูดเสมหะ ให้ออกซิเจน พลิกตะแคงตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ เป็นต้น

สิ่งแรกที่อยากฝากไว้คือ “กำลังใจ” แก่ผู้ป่วยติดเตียง พลังใจนั้นสำคัญอย่างมาก ดังนั้นผู้ดูแลจะต้องคอยให้กำลังใจสำหรับผู้ป่วยติดเตียงบ่อย ๆ อย่าพยายามพูดด้านลบ ผู้ดูแลจะต้องหาความรู้เรื่องต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อย่างเช่น โรคติดต่อ หรือ โรคที่อาจจะแทรกซ้อนได้ เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ดูแลด้วย และความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยติดเตียงเองก็สำคัญ หรือแม้กระทั่งแผลกดทับเองก็อาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้ ดังนั้นผู้ดูแลจะต้องพยายามหาความรู้เพิ่มเติมพื่อตัวผู้ดูแลเองและผู้ป่วยติดเตียง

ในส่วนต่อมานั้นคือในเรื่องของ “เวลา” นั้นคือสิ่งสำคัญอย่างมากเลย เพราะว่าในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นระยะเวลาของผู้ดูแลใหม่นั้นจะน้อยลง อย่างเช่นการดูแลตัวเอง หรือ บางทีผู้ดูแลใหม่อาจจะต้องลางานมาดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วย ดังนั้นผู้ดูแลใหม่จะต้องทำความเข้าใจไว้เลย ว่าในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเวลาของผู้ดูแลใหม่นั้นจะลดน้อยลงอย่างแน่นอน

ส่วนสำคัญที่ฝากไว้คือ ถ้าหากว่าเราจะต้องนำผู้ป่วยติดเตียงมาดูแลที่บ้านนั้น ผู้ดูแลใหม่จะต้องหาสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยติดเตียง สิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องเตรียมให้พร้อมได้แก่ เตียง ที่นอนป้องกันแผลกดทับ เป็นต้น เพราะว่าเป็นการป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การสำลัก แผลกดทับ หรืออื่นๆได้

คลิ๊กเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่นอนผู้ป่วยติดเตียง ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง

ในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียงนั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง” ผู้ดูแลมือใหม่” จะต้องหมั่นเฝ้าระวังเหล่านี้คือ

1.เฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ สาเหตุของแผลกดทับมักจะมาจากการที่ผู้ป่วยนอนนาน ๆ ทำให้บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ ขาดเลือดมาเลี้ยงที่บริเวณผิวหนัง จึงทำให้เกิดแผลที่ผิว ในระยะแรกอาจมีแค่อาการลอกที่ผิวอย่างเดียว แต่หากปล่อยไว้ก็อาจลอกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูกได้ และเมื่อไม่มีผิวปกคลุมแล้วโอกาสเกิดการติดเชื้อก็จะมากขึ้นไปด้วย โดยการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันแผลกดทับนั้นก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยผู้ดูแลต้องหมั่นพลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง และเปลี่ยนท่านอนของผู้ป่วยด้วย เช่นนอนหงาย นอนตะแคงสลับกันไปมา นอกจากนี้อาจซื้อเตียงสำหรับผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะมาใช้ร่วมด้วยก็ได้เช่นกัน

2.เฝ้าระวังภาวะการกลืนลำบาก อาการกลืนลำบากเกิดจากความผิดปกติของช่องปากและคอหอยในผู้สูงอายุทำให้เสี่ยงต่อการสำลักขณะรับประทานอาหารหรืออาจนำไปสู่ปอดบวมหรือติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นผู้ดูแลควรปรับเตียงให้ได้ประมาณ 45-90 องศาและพยายามจับผู้ป่วยนั่งบนเตียง โดยใช้หมอนช่วยดันให้ผู้ป่วยกลับสู่สมดุลจะดีที่สุด ดังนั้นสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย (มือใหม่) แนะนำให้ปรับการรับประทานอาหาร เป็นวิธีการรักษาที่สำคัญเช่นให้อาหารอ่อน ๆ ไม่เหลวเกินไปสังเกตว่าผู้ป่วยยังกลืนได้บ้าง อย่าเงยคอไปข้างหลัง หยุดให้อาหารทันทีหากเกิดการสำลัก

3.เฝ้าระวังเรื่องความสะอาด ทำความสะอาดร่างกายและสิ่งขับถ่ายของผู้ป่วยเป็นประจำ ควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้กับผู้ป่วยทุก 2-4 สัปดาห์และทำความสะอาดสายสวนด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย หากพบว่าปัสสาวะของผู้ป่วยขุ่นข้นหรือปัสสาวะไม่ออกควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที ดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียและลดความเสี่ยงต่อการเป็นปอดบวมจากการสำลัก ผู้ดูแลสามารถใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์เพื่อลดอาการปากแห้ง

4.เฝ้าระวังสภาพของจิตใจ ปัญหาทางจิตใจเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ผู้ดูแลควรศึกษาเนื่องจากความเสื่อมของร่างกายไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงเบื่อหน่ายและไม่มีความสุข ดังนั้นผู้ดูแลควรหากิจกรรมผ่อนคลายที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงมีสุขภาพจิตที่ดี อย่างไรก็ตามหากผู้ดูแลศึกษาและเข้าใจสาระสำคัญของการดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด ผู้ป่วยติดเตียงจะไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากนัก ช่วยลดการติดเชื้อ ได้รับสารอาหารครบถ้วนและถูกขับถ่ายออกมาอย่างถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระของผู้ดูแลให้น้อยที่สุดอีกด้วย

ถึงแม้ว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะมีความเสี่ยงสูง ผู้ดูแลมือใหม่และในหลายๆครอบครัวก็ประสบความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน แต่อย่างไรก็ตามการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้น ผู้ดูแลใหม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลที่ถูกต้องตามเงื่อนไขสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ดูแลอาการแทรกซ้อนผู้ป่วยติดเตียงนั้น ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้แก่ ภาวะแผลกดทับ เส้นเลือดขอด ปอดบวม และ ภาวะการขาดน้ำเป็นต้น

ช่วงท้ายผู้เขียนขอฝากไว้ ผู้ดูแลมือใหม่จะต้องหาความรู้เรื่องโรคเพิ่มขึ้นด้วย เช่น โรคติดต่อ หรือ โรคที่อาจจะแทรกซ้อนได้ หรือแม้กระทั่งแผลกดทับเองก็อาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างง่ายด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ดูแลมือใหม่และผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลจงดูแลผู้ป่วยติดเตียง ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ เมื่อพบปัญหาอาการแทรกซ้อนผู้ป่วยติดเตียงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแลใหม่ทุกท่านด้วยคะ