ภาวะนอนไม่หลับพบได้บ่อยในผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ โดยถือเป็นความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ เกิดจากสมองส่วนที่ควบคุมการตื่น-หลับหรือ ‘นาฬิกาชีวิต’ เสื่อมลงตามอายุ ประโยชน์ของการนอนหลับมีหลายประการ เช่น มีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและสังเคราะห์โปรตีนเพิ่มมากขึ้น ทำให้อวัยวะทุกส่วนในร่างกายได้รับการฟื้นฟู ส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจและอารมณ์ ขณะนอนหลับร่างกายมีการควบคุมการทำหน้าที่ทางสรีรวิทยาด้านต่างๆ และการควบคุมสมดุลของร่างกาย นอกจากนี้ขณะนอนหลับในระยะการหลับลึกมีการเก็บ กัก กรองและจัดระบบการรู้คิดและอารมณ์ปัญหา
การนอนหลับมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและคงไว้ซึ่งความสมดุลของร่างกายและจิตใจ
สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุคือ สาเหตุภายใน ได้แก่ ภาวะความเจ็บป่วยทางกาย สภาวะทางอารมณ์โดยเฉพาะความวิตกกังวล ความเครียด ความเศร้า ในผู้ป่วยติดเตียงปัญหาการนอนไม่หลับพบได้เป็นส่วนใหญ่ ในรายที่นอนกลางวันและกลางคืนไม่นอนมีอาการเพ้อ หรือสับสน จะทำอย่างไรดี ผู้ป่วยติดเตียงที่กลางคืนไม่นอน อาจเกิดจากการผิดปกติทางสมอง อายุที่มากขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงสถานที่ อาการที่พบ อาจมีการเพ้อ สับสน พูดคนเดียวหรือพูดซ้ำซาก บางคนไม่เข้าใจคิดว่าเจ้าเข้าทรง
การดูแลผู้ป่วยไม่นอนกลางคืนมีอาการเพ้อ สับสน
1.ผู้ดูแลไม่คล้อยตามในสิ่งที่ผู้ป่วยพูด ต้องบอกความจริงว่าเป็นเวลากลางคืน
2.ผู้ดูแลควรจัดห้องนอนให้ไฟสลัวๆ สร้างบรรยากาศให้เงียบ บอกกับผู้ป่วยว่าเป็นเวลากลางคืนต้องนอน พูดให้ฟังซ้ำๆ
3.ในตอนกลางวันผู้ดูแลควรเปิดไฟให้สว่าง เปิดทีวีหรือเปิดเพลงให้ผู้ป่วยฟัง ไม่ให้ผู้ป่วยนอนเน้นการพูดคุยกับผู้ป่วย พยายามเปลี่ยนให้ผู้ป่วยไม่นอนในตอนกลางวัน และนอนในตอนกลางคืน
4.บางรายไม่ดีขึ้น อาจบันทึกเป็นวิดีโอให้แพทย์เจ้าของไข้ดูก่อนวันนัด
5.ผู้ดูแลควรระวังเรื่องอุบัติเหตุ เพราะผู้ป่วยอาจตกเตียงได้
6.สุดท้ายผู้ดูแลต้องปรึกษาแพทย์เพื่อขอยา ไม่แนะนำให้ซื้อเอง
ผู้เขียนขอแนะนำวิธีช่วยแก้ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงนอนในช่วงกลางคืนโดยรวบรวมข้อมูลมาจากงานวิจัยได้กล่าวว่า วิธีช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยติดเตียงโดยไม่ใช้ยา
1.ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย การนวดกดจุดฝ่าเท้าเป็นวิธีการกด นวดกระตุ้นฝ่าเท้ารวมทั้งหลังเท้าและข้อเท้าตามตำแหน่งพื้นที่สะท้อน ซึ่งเป็นตัวแทนอวัยวะในร่างกายเพื่อให้มีผลเกิดแก่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล แก้ไขภาวะความไม่สมดุลเพื่อทำให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาวะปกติ ช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตภายหลังการนวดกดจุดฝ่าเท้าจะส่งผลให้ร่างกายผ่อนคลายความตึงเครียดและการเกร็งตัวของระบบกล้ามเนื้อ
2.ผู้ดูแลควรปรับเวลาในการนอนให้เข้ากับตารางของผู้ป่วยติดเตียง การนอนหลับของผู้ป่วยติดเตียงจะถูกรบกวนได้จากกิจกรรมการดูแลในตอนกลางคืน ดังนั้นการปรับเวลาให้เหมาะสมจะช่วยผู้ป่วยติดเตียงหลับกลางคืนได้มากขึ้น ลองจัดตารางการนอนให้เป็นเวลาเดียวกันทุกคืนจนเป็นกิจวัตร ถ้าทำติดต่อกันภายใน 1 อาทิตย์ ร่างกายจะปรับตัวและคุ้นเคยจนทำให้หลับได้ตามเวลานั้น ๆ หรือมีบางกรณีที่นอนแล้วยังไม่หลับนานถึง 30 นาที อย่าฝืนนอนต่อ อย่าโกรธหรือหงุดหงิด และอย่าดูนาฬิกาบ่อย ๆ เพราะจะเป็นการกดดันตัวเองว่า ทำไมยังไม่หลับสักทีและจะทำให้ไม่หลับจริง ๆ ในที่สุด
3.การให้สัมผัสแสง จัดให้ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการสัมผัสแสงจากหลอดไฟ fluorescent ที่ติดอยู่หัวเตียงนอน เปิดไฟเวลา 10.00-15.00 น. คือ ควรมีการจัดสิ่งแวดล้อมทางด้านแสงภายในห้องผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยได้รับแสงสว่างในช่วงกลางวัน และลดการได้รับแสงในช่วงกลางคืนจะช่วยให้การนอนหลับลึกขึ้น การจัดให้ผู้ป่วยติดเตียงได้รับแสงในช่วงเวลากลางวัน จะทําให้ช่วงเวลาในการนอนหลับเปลี่ยนแปลงไป ช่วงตื่นในระยะการนอนหลับจะลดลง เวลานอนยาวนานขึ้น เวลาการเคลื่อนไหวร่างกายขณะหลับลดลง และการนอนหลับมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แสงมีความสําคัญที่ช่วยในการปรับจังหวะชีวิตที่เกี่ยวกับวงจรการนอนหลับช่วงตื่นในระยะการนอนหลับจะลดลง เวลานอนยาวนานขึ้น เวลาการเคลื่อนไหวร่างกายขณะหลับลดลง และการนอนหลับมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
4.ปรับอุณหภูมิห้องนอนให้สบายและคงที่ เพื่อให้การนอนหลับมีความสบายมากขึ้น ควรปรับอุณหภูมิห้องให้อยู่ระหว่าง 17 – 25 องศาเซลเซียส อีกทั้งการใช้เครื่องฟอกอากาศในห้องนอนเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้สมดุลและยังช่วยกำจัดสารก่อภูมิแพ้ที่มีอนุภาคเล็ก เช่น ฝุ่น ขนสัตว์ สปอร์ของเชื้อรา กลิ่นสเปรย์ปรับอากาศ เป็นอีกวิธีที่จะทำให้นอนหลับลึกได้ต่อเนื่อง
5.เลือกที่นอนที่ช่วยรองรับสรีระผู้ป่วย พร้อมช่วยกระจายแรงกดทับ เพื่อให้ผุ้ป่วยติดเตียงสามารถนอนต่อเนื่องได้นานขึ้น โดยไม่ปวดเมื่อย หรือเกิดแผลกดทับ ช่วยยืดช่วงเวลาพักผ่อนของทั้งผู้ป่วยติดเตียง และผู้ดูแล ให้ต่อเนื่องและยาวนานขึ้น
คลิกเพื่อดูที่นอนยางพาราป้องกันแผลกดทับ
การช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงหลับในเวลากลางคืนตามวิธีข้างต้นแล้ว ยังจะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น และช่วยป้องกันผลต่อเนื่องหรือลดปัญหาที่ตามมาจากการนอนไม่หลับได้