การเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยติดเตียง คือการเตรียมความพร้อมในการดูแลความสะอาดของผิวหนัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดสิ่งสกปรก คราบเหงื่อไคล ไขมัน และกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงรู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกสุขสบาย สดชื่น ผู้เช็ดตัวควรหมั่นสังเกตผิวหนังผู้ป่วยติดเตียงขณะเช็ดตัว เพื่อดูความผิดปกติต่างๆ ของผิวหนังทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นการประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยอีกวิธีหนึ่ง นอกจากนี้ ควรสังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยขณะทำความสะอาดผิวหนัง การเช็ดตัวให้ผู้ป่วยยังเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ ก่อนการดูแลความสะอาดของผิวหนังควรตรวจสอบคำสั่งการรักษาเกี่ยวกับข้อควรระวังในการเคลื่อนไหว และการจัดท่าของผู้ป่วยให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง
ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายเสื่อมไม่สมบูรณ์ไม่สามารถลุกหรือขยับร่างกายได้ หรืออาจขยับได้เพียงเล็กน้อยแต่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องนอนติดอยู่บนเตียงตลอดเวลาซึ่งในขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยติดเตียง เรื่องหนึ่งที่สำคัญคือการทำความสะอาดเช็ดตัวผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองไม่ได้ หรือต้องนอนอยู่บนที่นอนตลอดเวลา ต้องการอาบน้ำเช่นเดียวกับคนปกติ โดยจะต้องมีคนช่วยเหลือหรืออาบน้ำให้ เรียกว่าการอาบน้ำ/เช็ดตัวผู้ป่วยบนเตียง ผู้ดูแลสามารถคลิกเพื่อเรียนรู้เทคนิคการทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยติดเตียง
การเช็ดตัวบนเตียง หมายถึง การเช็ดตัวให้ผู้ป่วยขณะผู้ป่วยอยู่บนเตียง ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงจากพยาธิสภาพของโรค ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว หรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะรุนแรงของโรค ผู้ป่วยโรคหัวใจในระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยหลังผ่าตัดในระยะแรก เป็นต้น
การเลือกวิธีปฏิบัติเพื่อดูแลความสะอาดของผิวหนังนั้น ควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย
ผู้ดูแลควรปฏิบัติตามหลักการดูแลความสะอาดของผิวหนังเพื่อให้เกิดความสุขสบาย และความปลอดภัยกับผู้ป่วย สามารถปรับวิธีเพื่อดูแลความสะอาดของผิวหนังปฏิบัติให้เหมาะสม โดยผู้ดูแลควรเน้นการเตรียมอุปกรณ์ในการทำความสะอาดร่างกายให้ครบ
การเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยติดเตียง
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังนี้
- กะละมังน้ำ 2 ใบ ใส่น้ำอุ่น 1/2 หรือ 2/3 กะละมัง (เปลี่ยนน้ำเมื่อสกปรก)
- ผ้าถูตัว 2 ผืน ผืนแรกสำหรับเช็ดใบหน้า อีกผืนสำหรับเช็ดลำตัว แขน ขา
- ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน เป็นผ้าแห้งผืนแรกสำหรับเช็ดใบหน้า อีกผืนสำหรับเช็ดลำตัว แขน ขา
- ผ้าคลุมตัว
- สบู่ก้อน หรือสบู่เหลว
- เสื้อผ้าชุดใหม่ เสื้อผ้าที่จะเปลี่ยนควรมีเนื้อผ้าเหมาะสมกับอากาศ ใส่ง่ายถอดง่าย ไม่ควรติดกระดุม เพราะอาจกดทับกับร่างกายทำให้บาดเจ็บ
- ภาชนะบรรจุเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น แป้ง หวี ครีมบำรุงผิว เป็นต้น (ควรเช็ดทำความสะอาดหลังใช้งานทุกครั้ง)
- ถุงมือสะอาด (ขนาดไม่หลวมหรือคับไป)
- ถุงสำหรับใส่เสื้อผ้าใช้แล้ว
- การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เป็นส่วนสำคัญที่ผู้ดูแลควรหมั่นทำความสะอาดเมื่อปัสสาวะ/อุจจาระทันที เรียนรู้เทคนิคและขั้นตอนการดูแลการขับถ่ายให้ผู้ป่วยติดเตียง
อุปกรณ์ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเตรียม ดังนี้
10.1 ผ้าสะอาด หรือชุดทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
10.2 น้ำสะอาด
10.3 สบู่เหลว
10.4 ภาชนะใส่น้ำ
10.5 แผ่นรองก้น/ หม้อนอน
10.6 ถุงมือสะอาด (ขนาดไม่หลวมหรือคับไป)
10.7 ถุงขยะ (สำหรับใส่อุปกรณ์ที่ใช้แล้วหลังทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ )
ในบางครั้งการทำความสะอาดของผิวหนังทั่วร่างกายแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกออกจากเตียงได้ ผู้ดูแลควรสระผมแก่ผู้ป่วยติดเตียง 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ด้วย จึงควรเตรียมอุปกรณ์การสระผมให้พร้อมไปครั้งเดียว
ผู้ดูแลควรเตรียมอุปกรณ์ในการสระผมให้ผู้ป่วยติดเตียง ดังนี้
- แชมพูสระผม
- ครีมนวดผม
- ภาชนะใส่น้ำสะอาด
- ภาชนะรองรับน้ำสกปรก
- ผ้ายาง/ ผ้าพลาสติก/ แผ่นรองสระผมสำเร็จรูป
- ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน
- ผ้าปิดตา
- เครื่องเป่าผม (hair dryer)
- หวี
- สำลี 2 ก้อน (อุดในหูเพื่อกันน้ำเข้า)
สรุปการเช็ดตัวบนเตียงเพื่อทำความสะอาดร่างกายแก่ผู้ป่วยติดเตียงนั้น ผู้ดูแลควรเตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำให้ครบถ้วน อุปกรณ์ทั้งหมดควรยกมาให้พร้อมกันและวางข้างที่นอน เพื่อผู้ดูแลไม่ต้องวิ่งไปวิ่งมาเพื่อหยิบ โดยเฉพาะถ้าต้องทำคนเดียว นอกจากนี้ในขณะทำความสะอาดร่างกายแก่ผู้ป่วยติดเตียงนั้นผู้ดูแลต้องทำความสะอาดปาก ฟัน เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลช่องปากให้ผู้ป่วยติดเตียง รวมทั้งการสระผมให้ผู้ป่วยด้วย ผู้ดูแลควรจะต้องเตรียมอุปกรณ์ของใช้มาพร้อมกัน ข้อสำคัญคือควรทำความสะอาดปาก และฟัน ก่อน