วิธีปฎิบัติให้ใจไม่ป่วยตามร่างกาย ตัวป่วยแต่ใจไม่ป่วย ทำอย่างนี้

เมื่อเราต้องพบเจอกับความป่วยไข้ แน่นอนว่าร่างกายของเราต้องได้รับความทุกข์ทรมานอันเป็นเรื่องธรรมดาของโลกนี้อยู่แล้วแน่นอน แต่ถ้าหากใจของเรานั้นรู้สึกทุกข์ตามไปด้วย ก็จะยิ่งส่งผลให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น ทั้งที่ร่างกายของเราอาจจะไม่ได้เจ็บป่วยรุนแรงมากมายขนาดนั้น ดังนั้นการพยายามปรับอารมณ์ให้ใจตนเองปล่อยวางมากขึ้น โดยอาจจะใช้วิธีการฝึกสมาธิ นั่งวิปัสสนากรรมฐานเพิ่มเติม เพื่อทำให้ใจของเรามีภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับโรคร้าย ให้เราสามารถวางใจเป็นกลาง มองทุกอย่างในความเป็นจริง และเรียนรู้ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากกายของเราว่าเป็นเพียงอาการรู้ โดยไม่ต้องไปยึดติดให้ใจพลอยป่วยไปด้วย

จากความเจ็บป่วยจนเป็นโรคเรื้อรัง  เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองหรือคนในครอบครัวอย่างแน่นอน เพราะการที่ต้องทนอยู่กับความเจ็บป่วยเป็นเวลานานอาจทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลง และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตด้านต่างๆ อีกด้วย แต่ในเมื่อเกิดโรคขึ้นแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำคือ ดูแลสุขภาพตนเอง และหาทางอยู่ร่วมกับโรคเรื้อรังอย่างปลอดภัยและมีความสุขที่สุด

โรคเรื้อรังนั้นมีหลายลักษณะและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดขึ้นในร่างกายเป็นเวลานานกว่าจะแสดงอาการ และอาจทำให้อวัยวะบางส่วนในร่างกายเกิดปัญหาหรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งโรคเรื้อรังบางชนิดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ โดยตัวอย่างของโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย คือ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ

ฉะนั้นการรู้จักอยู่ร่วมกับโรคเรื้อรังให้มีความสุข จึงเป็นเรื่องที่ทุกครอบครัวควรเรียนรู้และเตรียมพร้อม โดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้สูงวัยป่วยกระเสาะกระแสะ เพราะโรคเรื้อรังบางอย่างอาจเป็นความเจ็บป่วยที่อยู่กับเราไปตลอดชีวิต แต่ในเมื่อยังต้องใช้ชีวิตอยู่ต่อไป สิ่งที่ควรทำคือ ยอมรับ ทำความเข้าใจ และหาทางที่จะดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขที่สุด

ผู้เขียนขอแนะนำวิธีช่วย ”ตัวป่วยแต่ใจไม่ป่วย” ดังนี้

1.ทำความเข้าใจโรคที่เป็นอยู่ ท่านควรศึกษาและทำความเข้าใจโรคที่เป็นอยู่ให้ดีที่สุด โดยอาจหาข้อมูลด้วยการสอบถามแพทย์หรือค้นหาข้อมูลตามแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ทราบรายละเอียดของโรค หาวิธีรับมือและดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้น

2.รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อป่วยด้วยโรคเรื้อรังอยู่ ซึ่งอาจทำได้โดยออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ เช่น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ เลิกสูบบุหรี่ และเลิกดื่มสุรา เป็นต้น

3.จัดการกับอารมณ์และความคิดของตนเอง นอกจากความเจ็บป่วยทางกายแล้ว ความเครียด ความกดดัน ความกังวล และความเศร้า ก็ล้วนเป็นอุปสรรคของการใช้ชีวิตร่วมกับโรคเรื้อรัง ผู้เป็นโรคเรื้อรังจึงควรจัดการกับความคิดของตนเอง โดยพยายามเข้าใจความเป็นจริง ไม่โทษตัวเอง ลดความคาดหวังลงบ้าง หรืออาจใช้วิธีฝึกสมาธิเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายและจัดการกับความคิดความรู้สึกของตนเองได้ดีขึ้น ถ้าจิตใจป่วยและอ่อนแอ เราสามารถรักษาได้เช่นกัน พยายามปรับทัศนคติมุมมองใหม่กับสิ่งรอบข้าง คิดบวกอย่างสร้างสรรค์อาจจดจำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้เรายิ้มได้ในแต่ละวันไว้ เมื่อจิตใจ ซึมเศร้าจะได้รู้ว่ายังมีสิ่งดี ๆ อีกมากมายที่เราได้รับ อาจใช้ระยะเวลามากสักหน่อยแต่ไม่น่าเกินความพยายาม

4.รับการรักษาและทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเต็มที่ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อความต่อเนื่องของการรักษา และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาให้ตรงตามที่แพทย์แนะนำ สอบถามแพทย์ในส่วนที่สงสัยหรือไม่เข้าใจ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ครอบครัวและคนรอบข้างคอยเป็นกำลังใจ การป่วยเป็นโรคเรื้อรังนั้นอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่กับตนเองและสิ่งรอบข้าง จึงเป็นหน้าที่ของคนในครอบครัวและคนรอบข้างที่ต้องคอยให้กำลังใจผู้ป่วย ให้รู้สึกว่าไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ชีวิตของตนยังมีคุณค่า เพื่อให้มีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไป

5.หันมาทำความรู้จักกับจิตใจของตัวเองให้มากขึ้น ทบทวนดูจิตดูใจของตัวเอง ฝึกปรับใจให้สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้โดยให้มีความอึดอัดเกิดขึ้นน้อยที่สุด แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการปรับสภาพจิตใจและทัศนคติเชิงบวกของตัวเองให้ยอมรับความเปลี่ยนแปลง แต่หากทำได้ก็จะทำให้จิตใจเป็นสุขขึ้น และร่างกายก็จะกลับมาแข็งแรงได้อย่างไม่ยากค่ะ

ถึงกายจะป่วย แต่ใจเราจะไม่ป่วยกันอีกแล้ว  วิธีการรักษาใจที่จะไม่ให้ปรุงแต่ง ก็คือ อยู่กับอารมณ์ที่ดีงาม เราจะเห็นว่า ในเวลาที่เจ็บไข้ได้ป่วยนี้ เราจะต้องการกําลังใจมาก ถ้าไม่สามารถจะมีกําลังใจด้วยตนเองก็ต้องอาศัยผู้อื่นมาช่วย ผู้ที่จะช่วยให้กําลังใจได้มากก็คือญาติพี่น้อง  ตัวเราเองต้องฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ให้จิตใจสบาย การตั้งใจอย่างนี้ เรียกว่า มีสติ ทําให้จิตใจไม่ตกอยู่ในอํานาจครอบงําของความแปรปรวนในทางร่างกาย รักษาใจไว้ ทําให้จิตใจนั้นไม่พลอยหงุดหงิด ไม่พลอยออดแอด ไม่พลอยแปรปรวนไปตามอาการทางร่างกาย

            ผู้เขียนขอเพิ่มอีกเรื่องนั่นคือ ”ความรัก” เป็นตัวช่วยตัวป่วยแต่ใจไม่ป่วยได้เป็นอย่างดี ให้ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังให้ความรักกับญาติพี่น้องหรือคนรอบข้าง ความรักที่หยิบยื่นให้ทุกคนนั้นต้องเป็นความรักที่มีแต่ให้ เป็นความรักที่ประคับประคองทําใจอย่างถูกต้อง ญาติพี่น้องที่รายล้อมก็จะรับพลังความรักที่ผู้เป็นโรคเรื้อรังส่งมอบให้ ทำให้ญาติพี่น้องของผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังก็อยากมาช่วยดูแล มีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น   การกระทำเช่นนี้จะทําให้จิตใจที่ผู้เป็นโรคเรื้อรังปลอดโปร่งผ่องใส และพร้อมที่จะรับการช่วยเหลือจากญาติพี่น้องหรือคนรอบข้าง  กายป่วยแต่ใจไม่ป่วยก็เกิดในใจผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังได้นั่นเอง  ขอเป็นกำลังให้ทุกท่านคะ