ตัวช่วยดูแลแผลกดทับ สำคัญกับผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร หากผู้ป่วยติดเตียงและครอบครัวไม่เห็นความสำคัญและตระหนักถึงอันตรายของแผลกดทับ อาจนำไปสู่การจัดการดูแลแผลกดทับที่ไม่ถูกต้อง และส่งผลทำให้เกิดการลุกลามของแผลกดทับเพิ่มมากขึ้น
แผลกดทับมีผลต่อผู้ป่วยที่มีแผลกดทับมากมาย อาทิสร้างความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน การถูกจำกัดการเคลื่อนไหว หากเกิดแผลกดทับแล้วเป็นการเพิ่มโอกาสการเกิดการติดเชื้อได้ง่าย แผลกดทับยังทำให้ผู้ป่วยเกิดความคับข้องใจ ความโกรธ ความเครียด วิตกกังวล ซึ่งเป็นปัญหาเพิ่มขึ้น ต่อทางด้านจิตใจและอารมณ์
การป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงจึงสำคัญ เมื่อเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงแล้ว อุปกรณ์ที่ช่วยในการดูแลแผลกดทับจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
ผู้เขียนขอแนะนำอุปกรณ์ ตัวช่วยดูแลแผลกดทับ ดังนี้
1. ที่นอนป้องกันแผลกดทับ ที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
ที่นอนป้องกันแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ถือว่าเป็น อุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถพลิกตัว หรือตะแคงเปลี่ยนท่าทางการนอนได้อย่างสะดวกด้วยตนเอง การใช้ที่นอนที่ออกแบบมาเพื่อช่วยกระจายแรงกดทับโดยเฉพาะ จึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับ โดยที่นอนป้องกันแผลกดทับ หรือที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียงสามารถแยกหลักๆ ได้ 3 ประเภทดังนี้
1.1 ที่นอนลม
ที่นอนลมทำงานโดยใช้วิธีการสลับความดันของลอนลม ในการลดแรงกดทับให้ผู้ป่วย ในขณะที่ ที่นอนปล่อยลม แรงกดทับจะลดลง แต่ในขณะที่ ที่นอนพองตัว แรงกดทับจะเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าที่นอนลมจะช่วยลดแรงกดทับให้น้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งคือแรงกดทับที่ไม่ทำให้เนื้อเยื้อตาย ในช่วงที่คลายลมได้ การสลับขึ้นลมของลอนลม มักสร้างความรบกวนต่อการนอนพักผ่อนของผู้ป่วย และอาจเกิดอันตรายจากไฟฟ้าที่ต้องใช้ในการยุบ-พอง ของที่นอน รวมถึงปัญหาหากเกิดไฟฟ้าดับระหว่างใช้ที่นอนลม
♦ 1.1.1 ที่นอนลมแบบรังผึ้ง
ที่นอนลมแบบรังผึ้ง มีลักษณะคล้าย ๆ กับรังผึ้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่นอนลมรังผึ้งมีหลายขนาดให้เลือกซื้อ และยังมีความกว้างของที่นอน ความสูง ความหนาที่แตกต่างกันไปด้วย โดยที่นอนลมรังผึ้ง มีระบบการทำงานโดยใช้ลมที่ถูกปั๊มส่งผ่านที่นอน ซึ่งมีลักษณะเป็นรังผึ้ง ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อหรือร่างกายส่วนที่ผู้ป่วยนอนทับอยู่นานมีการเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยลดการเกิดแผลกดทับได้
♦ 1.1.2 ที่นอนลมแบบลอน
ที่นอนลมแบบลอน เป็นที่นอนกันแผลกดทับอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถเปลี่ยนอะไหล่ในลอนที่มีการชำรุดได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งซ่อมที่นอนทั้งหมด ตัวที่นอนลมแบบลมยังทำความสะอาดง่าย มีขนาด รูปทรง และความกว้าง สูง หนา ที่แตกต่างกันไปให้เลือกใช้งานมากมายหลายขนาด ที่นอนลมแบบลอน : เหมาะกับผู้ป่วยติดเตียงทั่วไปที่ยังไม่มีแผลกดทับ
1.2 ที่นอนยางพารา
ด้วยเนื้อยางพาราเป็นเนื้อที่มีความหนาแน่น พร้อมทั้งมีรูระบายอากาศทั่วทั้งแผ่น นอกจากจะช่วยรองรับสรีระของผู้ป่วยได้แล้ว ยังมีคุณสมบัติในการช่วยกระจายแรงกดทับได้เป็นอย่างดี ไม่ทำให้เกิดแรงกดทับที่มากเกินไป พร้อมทั้งยังช่วยระบายความร้อน และยืดหยุ่นรองรับน้ำหนักของผู้ป่วยได้ดีที่สุด ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตลอดทั้งวันรองรับน้ำหนักตัวได้ดี ที่นอนยางพาราสำหรับป้องกันแผลกดทับจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียงในทุกระดับแผลกดทับ
1.3 ที่นอนโฟม
นอกจากคุณสมบัติในการลดสาเหตุของแผลกดทับแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติม ก็คือความเหมาะสมในการใช้งานของผู้ป่วยที่นอนโฟม – เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ยังไม่เป็นแผลกดทับ แต่มีความเสี่ยง หรือเป็นแผลกดทับในระดับที่ 1-2 แผ่นโฟมลดแรงเสียดสีและแรงกดทับได้ดี
คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเลือกที่นอนที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยติดเตียง
2. ผ้าขวางเตียงรองตัวผู้ป่วยติดเตียง
ผ้าขวางเตียงรองตัวผู้ป่วยเพื่อยกตัวผู้ป่วยติดเตียง เพื่อป้องกันผิวหนังของผู้ป่วยติดเตียงเสียดสีกับที่นอน อย่างไรก็ตามควรมีคนช่วยผู้ดูแลหลักเปลี่ยนท่าผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลควรหลีกเลี่ยงการลากดึงผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว
3. การเลือกใช้สิ่งแต่งแผล (Wound dressing)
ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะ ตําแหน่งของแผล และปริมาณ exudate ปิดด้วย vasaline gauze ในแผลระดับ 2 และทา Silver Sulfadiazine cream หรือใช้ก๊อซชุบ 0.9% Normal saline solution ปิดแผลและปิดทับด้วย Vaseline gauze และเปลี่ยนก๊อซเมื่อแห้งหรือ 2-4 ชั่วโมงในแผลระดับ 3
3.1 สําหรับแผลกดทับที่แดงสะอาดดีแล้วควรรักษาให้มีความชุ่มชื้นเล็กน้อยเพื่อกระตุ้นการหายของแผลกดทับโดยสิ่งแต่งแผลที่ควรใช้ เช่น moist saline หรือ film dressing
3.2 กรณีแผลกดทับเป็นโพรง ควรทําความสะอาดแผลกดทับและใส่สิ่งแต่งแผลกดทับเข้าไปในโพรงโดยไม่อัดแน่นเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดต่อเนื้้อเยื่อเกิดใหม่ และช่วยดูดซับ exudate ป้องกันการเกิดหนอง (abscess) โดยสิ่งแต่งแผลที่ควรใช้ เช่น calcium alginate packing, hydrocolloid pastes, polyurethane foam fillers ถ้าแผลกดทับไม่ดีขึ้นใน 3 สัปดาห์ ควรประเมินปัจจัยเสี่ยงและเปลี่ยนวิธีการทําแผลใหม่
คลิกเพื่อเรียนรู้ วิธีดูแลรักษา และทำความสะอาดแผลกดทับ ตามระดับของแผลกดทับ
4. น้ำเกลือและสบู่เหลวทำความสะอาดผิวหนังผู้ป่วยติดเตียง
แนะนำผู้ดูแล/ญาติผู้ป่วยติดเตียงทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและเลือกใช้สบู่เหลวสำหรับทารกซึ่งมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 5.2-5.5 ซึ่งมีค่าความเป็นกรดเล็กน้อยมีผลดีต่อการกำจัดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนัง ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรเช็ดทำความสะอาดผิวหนังและเปลี่ยนแผ่นรองซับทันทีหลังการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะหรืออย่างช้าไม่เกิน 30 นาที คลิกเพื่อเรียนรู้เทคนิค และขั้นตอนการดูแลการขับถ่ายให้ผู้ป่วยติดเตียง
บทสรุป
การป้องกันแผลกดทับนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ดูแล/ญาติ ผู้ป่วยติดเตียง ควรหมั่นสังเกตและประเมินแผลกดทับเป็นประจำ ควรศึกษาและติดตามการใช้เทคโนโลยีได้แก่แอปพลิเคชันไลน์ในรูปแบบต่างๆ สื่อความรู้ทางสังคมออนไลน์ มีข้อดี เพื่อได้รับข้อมูลข่าวสารที่ทันยุคทันสมัย ผู้ดูแล/ญาติผู้ป่วยติดเตียงจึงควรเรียนรู้เพื่อที่จะสามารถใช้แอปพลิเคชันไลน์จากอุปกรณ์ที่พกพาง่ายซึ่งมีในทุกบ้าน อาทิ การใช้สมาร์ทโฟนในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลแผลกดทับนำมาใช้กับผู้ป่วยติดเตียงเป็นการป้องกันไม่ให้แผลกดทับลุกลามเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา และสิ่งที่สําคัญอีกอย่างคือการป้องกันไม่ให้กลับเป็นแผลกดทับซ้ำ