การดูแลผู้ป่วยพึ่งพิง ผู้ป่วยติดเตียงให้ห่างไกลโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่สามารถหาต้นตอของไวรัสนี้ได้ ในภาพรวมแล้วผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด โรคมะเร็ง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะรับโควิด-19 ได้ง่ายหากไม่ได้มีการดูแลและป้องกันอย่างดี และกลุ่มผู้ป่วยที่เปราะบางมากอีกกลุ่มคือกลุ่มผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะรับโควิด-19 ได้ง่ายเช่นกัน และต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษกว่ากลุ่มผู้ป่วยอื่น
ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษกว่ากลุ่มอื่น แต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไม่เท่ากัน บางคนมาก บางคนน้อย ขึ้นอยู่สุขภาพและการใช้ชีวิตที่ผ่านมา หัวใจหลักของการดูแลผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงคือ การทำให้ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างมีความสุข
หลักการสำคัญในการดูแลป้องกันผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงในช่วงโควิด-19 คือ เราต้องมั่นใจว่าจะไม่มีใครนำเชื้อไปแพร่ให้เขา หากอยู่ในบ้านเขตเมือง ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงต้องอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ต้องระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะคนที่ไม่แสดงอาการแล้วนำเชื้อไปให้เขา หรือหากในบ้านมีผู้สงสัยว่าจะป่วยหรือได้รับเชื้อจะต้องแยกตัวเองออกไป เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่มาสู่ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงในบ้านได้ และอีกกลุ่มที่ต้องระวังคือ ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงที่มีพี่เลี้ยงเป็นแรงงานต่างชาติ เวลาที่เขาลากลับบ้านแล้วกลับมาทำงาน เราไม่รู้ว่าเขานำเชื้อมาด้วยหรือเปล่า ส่วนนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ หากเป็นไปได้ต้องตรวจสุขภาพและดูแลพี่เลี้ยงด้วย อาจให้อยู่ด้วยกันในบ้านไม่ให้ไปข้างนอก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาด ผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการดูแลผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงคือ ลูกหลาน บุคคลในครอบครัวนั้นๆ ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมในการดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยพึ่งพิงมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง การดูแลผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียง ให้ห่างไกลโควิด-19 ทำได้โดย
- ควรดูแลเรื่องอาหารการกิน คือไม่รับประทานอาหารที่หวาน หรือเค็มเกินไป ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด ถูกสุขลักษณะ และควรเน้นอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ไม่รับประทานอาหารที่หวานหรือเค็มจนเกินไป และควรให้รับประทานอาหารที่หลากหลาย
- ชวนผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงออกกำลังกายบ้าง ให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ
- ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงต้องพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนสำคัญมาก ควรให้นอนประมาณไม่เกิน 3 ทุ่ม เพื่อให้พักผ่อนได้เต็มที่ยาวนาน หากนอนเร็วกว่า 3 ทุ่ม ผู้สูงอายุจะตื่นเร็วกว่าปกติ
- หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้าน ต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน และหากต้องไปในที่สาธารณะ งดให้ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงสัมผัสจุดจับร่วม เพื่อลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อ และหลังกลับมาจากนอกบ้านต้องทำความสะอาดร่างกายทันที
- ไม่รับประทานอาหารร่วมกับคนในบ้าน
- ไม่ให้ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงใช้ของร่วมกับคนในบ้าน
- เน้นให้ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
- หากไม่จำเป็นไม่ควรออกจากบ้าน หรือออกไปพบปะผู้คน อาจใช้วิธีการวิดีโอคอลคุยกันผ่านทางสมาร์ทโฟนแทน
- ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงหากมีลูกหลานที่ต้องทำงานข้างนอก ควรอาบน้ำและชำระร่างกายให้สะอาดก่อนที่จะเข้าใกล้
- 10. งดการแสดงความรัก เช่น การกอด หรือหอม
- หากิจกรรมสร้างความสนุก คลายความเครียดให้กับผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียง
- ถึงแม้จะอยู่ในบ้านเดียวกัน ระยะห่างทางสังคม หรือSocial Distancing เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกครอบครัวต้องปฏิบัติเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด
ในช่วงที่ทุกคนต้องอยู่ที่บ้าน ลดการเดินทางและพบปะผู้คน เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียง ลูกหลานหรือบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลควรมีกิจกรรมให้ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงได้ทำร่วมกัน อาทิ ชวนทำขนม ทำอาหาร อ่านหนังสือ เพื่อสร้างความสนุกและสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้กับทุกคนในครอบครัว หัวใจสำคัญที่สุด คือ เราต้องรู้ก่อนว่าผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงในบ้านของเราชอบอะไร แล้วหากิจกรรมที่สอดคล้องกับที่เขาชื่นชอบ
ลดความกังวลในผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงทำได้โดย
- มีการพูดคุยสร้างความสัมพันธ์ สร้างความสนุก เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยติดเตียงรู้สึกโดดเดี่ยวหรือเหงา
- ชวนทำอาหาร ใช้เวลาว่างร่วมกันมากขึ้น
- ชวนทำกิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง
เพื่อไม่ให้พลาดท่าให้เจ้าเชื้อไวรัสโควิด-19มาเยือนบุคคลอันเป็นที่รักของเรา ขอสรุปสั้นๆ ดังนี้
1.ล้างมือก่อนสัมผัสผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียง หากต้องสัมผัสผู้ป่วย คุณต้องมั่นใจว่าตัวของคุณสะอาดพอ แนะนำให้ล้างมือทุกครั้งด้วยสบู่นาน 20 วินาทีขึ้นไป หรือเจลแอลกอฮอล์ เพื่อลดโอกาสนำพาเชื้อโรคมาสู่ผู้ป่วย รวมทั้งหากคุณออกไปนอกบ้านมา ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เรียบร้อยก่อนเสมอ
2.ช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายสบายใจ พยายามอย่าให้ผู้ป่วยเครียด โดยหลีกเลี่ยงการให้ผู้ป่วยเสพข่าวมากเกินไป พยายามพูดคุย นวดให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ฝึกให้ผู้ป่วยกำหนดลมหายใจเพื่อคลายเครียด
3.ดูแลความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ ข้าวของเครื่องใช้ที่นำมาใช้กับผู้ป่วย ต้องสะอาดเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า จานชาม ช้อน ส้อม หรือแม้แต่เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องดูดเสมหะ และให้อาหารทางสายยาง คุณต้องดูแลความสะอาดเป็นพิเศษตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
4.สังเกตอาการผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียง เสมอ ผู้ดูแลควรคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยเสมอ หากมีอาการเข้าข่ายน่าสงสัยที่จะติดเชื้อ Covid-19 เช่น เป็นไข้ ไอ จาม หายใจลำบาก ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคโดยด่วนทันที
5.ดูแลผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียง ด้วยอาหารสูตรครบถ้วน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียง ไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ยังลดโอกาสที่ผู้ป่วยต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นการลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้อีกทางด้วย ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านยาชั้นนำทั่วไป
ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงคือบุคคลอันเป็นที่รักของคนในครอบครัว บุคคลในครอบครัวจึงมีบทบาทสำคัญมากในการดูแลผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียง ดังนั้นบุคคลในครอบครัวจะต้องเข้าใจปัญหาและเตรียมพร้อมในการรับมือกับโควิด-19 เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงมีชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข หากผู้ป่วยพึ่งพิง หรือผู้ป่วยติดเตียงมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง ไอ จาม หายใจไม่สะดวก ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อวินิฉัยได้อย่างทันท่วงที