ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่เรารักอย่างไร

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่เรารักอย่างไร น่าจะเป็นคำถามสำหรับหลายๆท่าน เมื่อคนที่คุณรักเค้าต้องเผชิญกับสภาวะการเป็นผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ สภาวะทุพพลภาพหรืออายุที่เพิ่มขึ้น เพราะหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง คนที่คุณรักอาจจะประสบปัญหากับภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะแผลกดทับ เส้นเลือดขอด ปอดบวม และ ภาวะการขาดน้ำเป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลที่ถูกต้องตามเงื่อนไขสุขภาพของคนที่คุณรัก สิ่งที่ควรนึกถึงการดูแลคนที่เรารักที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง มีดังนี้

1.จัดบริเวณพื้นที่ให้กับคนที่คุณรัก
คุณจำเป็นต้องจัดบริเวณพื้นที่สำหรับคนที่คุณรัก และเตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งบริเวณนั้นควรอยู่ชั้นล่าง บางครอบครัวสามารถใช้ห้องที่เหลือของบ้าน ถ้าบางครอบครัวไม่มีห้องเสริมขอแนะนำให้ใช้พื้นที่บางส่วนของบ้านโดยใช้ผ้าม่านเป็นตัวแบ่งสัดส่วนของห้อง นอกจากนี้คุณควรที่จะจัดห้องสำหรับคนที่คุณรักให้ใกล้ห้องน้ำที่สุด เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึง และเพื่อสุขลักษณะอนามัยที่ดี ควรจัดห้องที่มีแสงธรรมชาติสาดส่องเข้าในห้องเพื่อสร้างบรรยากาศร่มรื่นให้กับตัวบ้านและคนที่คุณรัก แต่ถ้าหากว่าคุณมีพื้นที่จำกัดขอแนะนำให้จัดห้องที่มีความสว่างที่เพียงพอเพื่อที่จะสามารถดูแลคนที่คุณรักได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งแสงสว่างยังส่งผลดีต่ออารมณ์และจิตใจของคนที่คุณรักอีกด้วยเช่นกัน

จัดพื้นที่สำหรับผู้ป่วยติดเตียง

2.กายภาพบำบัดเป็นสิ่งสำคัญ
การที่คนที่คุณรักที่กำลังประสบปัญหาภาวะป่วยติดเตียง และต้องใช้เวลาส่วนมากบนเตียง ซึ่งมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในบางรายผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง เมื่อกล้ามเนื้อไม่ได้ใช้เป็นเวลานานอาจจะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะข้อแข็ง ข้อติด แผลกดทับ และมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการท้องผูก เนื่องจากการไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน ดังนั้นเพื่อที่จะช่วยลดอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ คุณควรที่จะช่วยเหลือคนที่คุณรักเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ หรือเข้าปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อที่จะหาท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมต่อเงื่อนไขสุขภาพและร่างกายของผู้ป่วยติดเตียง คลิกเพื่อดูเทคนิคการทำกายบริหารให้ผู้ป่วยติดเตียงด้วยตัวเอง

กายภาพสำหรับผู้ป่วยติดเตียยง

3. การเลือกที่นอน และเตียงนอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
เนื่องจากข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวทางร่างกายของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนที่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และความเสี่ยงจากการนอนอยู่บนที่นอนในท่าเดิมนานๆ คือ การเกิดแรงกดทับ ณ จุดใดจุดหนึ่งบนร่างกายเกิน 60 มิลลิเมตรปรอท หรือเกิด 2 เท่าของแรงดันเส้นเลือดฝอย ซึ่งส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณนั้นๆได้ จนเนื้อเยื้อที่ขาดเลือดนี้ตาย และเกิดเป็นแผลกดทับ ดังนั้นที่นอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียงจึงเป็นหนึ่งในอุปกรณ์หลักที่ผู้ดูแลควรพิจารณาให้ผู้ป่วย เพื่อลดโอกาสการเกิดแผลกดทับ ผู้ดูแลควรเลือกที่นอนที่เหมาะสมให้ผู้ป่วย พร้อมกับการพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอ
คลิกเพื่อเรียนรู้วิธีการเลือกที่นอนให้เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียง

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

4.การเลือกใช้เสื้อผ้า และเครื่องนอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
เมื่อคนที่คุณรักกำลังประสบสภาวะการเป็นผู้ป่วยติดเตียง การเลือกเสื้อผ้าหรือเครื่องนอนที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความอับชื้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งก็ว่าได้ ผ้าฝ้ายเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง เนื่องจากตัวผ้ามีคุณสมบัติในการซึมซับเหงื่อที่ดี และ ยังมีความโปร่งสบายอีกด้วย เนื่องจากคนที่คุณรักจะต้องใช้เวลาส่วนมากบนเตียงนอน การเลือกเครื่องนอนก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจปล่อยปะละเลยได้ คุณควรเลือกผ้าปูที่นอนที่นิ่มสบาย หรือผ้าปูที่สามารถป้องกันแบคทีเรีย เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค และคุณอาจหาแผ่นเสริมซึมซับมาใช้ร่วมกับที่นอนเพื่อที่จะรองรับของเหลว หรือปัสสาวะของผู้ป่วย สำหรับการเลือกอุปกรณ์อื่นๆ คุณควรเลือกอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน และเหมาะสมกับสุขภาพของคนที่คุณรัก อาทิเช่นหากคุณเลือกใช้เตียงนอนแบบในโรงพยาบาล คุณจะสามารถช่วยคนที่คุณรักพลิกตัว หรือ ปรับเปลี่ยนท่านอนได้ง่ายยิ่งขึ้น อุปกรณ์เหล่านี้เป็นตัวช่วยสำหรับตัวผู้ป่วยเอง และยังอำนวยความสะดวกต่อผู้ดูแลอีกด้วย

การเลือกเสื้อผ้าให้ผู้ป่วยติดเตียง

5.ควรมีแผนสำรอง
ผู้ป่วยติดเตียงต้องการการดูแลตลอดเวลาเป็นพิเศษ เมื่อคนที่คุณรักต้องการใช้ห้องน้ำ หรือ เปลี่ยนกางเกงซึมซับ พวกเขาควรจะได้รับการช่วยเหลือหรือทำความสะอาดทันทีเพื่อที่จะไม่ให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังหรือเกิดปัญหาการติดเชื้อภายหลัง การดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้ดีและถูกต้องนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการวางแผนสำรองสำหรับอนาคตนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง คุณควรมีผู้ดูแลเป็นผู้ช่วยในการดูแลคนที่เรารักที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง เพื่อเป็นผู้ช่วยคุณในการดูแลคนที่เรารักและคุณจะได้มีเวลาพักผ่อนบ้าง และสามารถดูแลคนที่เรารักอย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่เรารักอย่างไร

6.ดูแลสุขภาพจิตใจของคนที่เรารักที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง
ใช้เวลากับคนที่เรารักที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง การใช้เวลาร่วมกันระหว่างผู้ป่วยติดเตียงและคนในครอบครัวก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยติดเตียงได้ เพราะช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงรู้สึกไม่เหงาหรือโดดเดี่ยว หลีกเลี่ยงเรื่องเครียด ความเครียดส่งผลกับปัญหาด้านจิตใจโดยตรง เพราะฉะนั้นแล้วการดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรให้ผู้ป่วยติดเตียงรู้สึกไม่เครียด วิตกหรือกังวล ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยอาจใช้อารมณ์ขันในการสร้างบรรยากาศที่ดีให้แก่ผู้ป่วยติดเตียง กิจกรรมคลายเครียดช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขและใช้ชีวิตได้นานขึ้น

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่เรารักอย่างไร

สรุปการ ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่เรารักอย่างไร นั้นสิ่งสำคัญคือ ผู้ดูแลควรสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงบางท่านอาจจะไม่สามารถบอกถึงความผิดปกติหรือความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายตนเองได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายให้อาหาร เพราะฉะนั้นแล้วการสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญ และขอฝากเรื่องการออกกำลังกายหรือทำกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ยังสามารถขยับตัวได้อาจจะเลือกท่าออกกำลังกายง่ายๆบนเตียง เน้นความสม่ำเสมอในการออกกำลังกาย ผู้ดูแลควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่เสี่ยงให้เกิดอาการบาดเจ็บ ส่วนผู้ป่วยที่ติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายให้อาหาร ให้ใช้การออกกำลังกายโดยการกายภาพบำบัดในท่าที่เหมาะสม

วิธีสังเกตร่างกายผู้ป่วย