ข้อควรระวังในการดูแลแผลกดทับ

ข้อควรระวังเกี่ยวกับแผลกดทับ

ข้อควรระวังในการดูแลแผลกดทับ นอกเหนือจากความเข้าใจ และการป้องกันแผลกดทับเบื้องต้นแล้ว ผู้ดูแลควรทำความเข้าใจข้อควรระวังต่างๆในการเตรียมความพร้อมเพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียง เริ่มจากความเข้าใจว่าแผลกดทับคือ บริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกกดทับภายใต้ปุ่มกระดูก จนเกิดการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อ จากการที่เนื้อเยื่อขาดเลือดไปเลี้ยงอันเป็นผลจากการถูกกดทับเป็นวลานานๆ แผลกดทับจะเกิดในบริเวณที่มีการกดทับมากกว่าส่วนอื่นๆของร่างกาย และมักจะเกิดกับผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

สาเหตุและปัจจัยการเกิดแผลกดทับ
การเกิดแผลกดทับมีสาเหตุมาจากสองสาเหตุหลักคือสาเหตุภายนอกและภายใน

  1. สาเหตุภายนอก คือ แรงกดทับ แรงเฉือน และแรงไถล
  2. สาเหตุภายใน คือ ความทนทานของเนื้อเยื่อ ที่สามารถทนทานต่อสาเหตุภายนอกที่มากระทำ ความทนทานของเนื้อเยื่อมีผลมาจากปัจจัยภายในบุคคล เช่น อายุ ความพร่องในการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว ภาวะทุพโภชนาการ โรคประจำตัว ความพร่องในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ภาวะอ้วนหรือผอม การไหลเวียนของเลือดลดลง ภาวะไข้ การป้องกันและลดแรงกดไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ลดแรงกดทับ การคอยพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง การจัดท่านั่ง-ท่านอนอย่างถูกวิธีให้ผู้ป่วยติดเตียง และการดูแลผู้ป่วยติดเตียงล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการลดปัญหาการเกิดแผลกดทับ

สาเหตุหลักในการเกิดแผลกดทับ ได้แก่

  1. แรงเฉือนหรือแรงดึงรั้ง เป็นสองแรงที่เกิดจากเนื้อเยื่อกระทำต่อผิวหน้าของเบาะหรือเตียงในทิศทางขนานกัน ทำให้หลอดเลือดสูญเสียหน้าที่ไปการไหลเวียนเลือดบริเวณนั้นลดลง
  2. ภาวะโภชนาการ การขาดสารอาหารโปรตีน อัลบูมิน ทำให้เซลล์บวม เกิดความบกพร่องในการแลกเปลี่ยนสารอาหาร เป็นเหตุให้เกิดแผลกดทับได้ง่าย
  3. การดูแลเรื่องผิวหนัง การทำความสะอาดร่างกาย ในผู้ป่วยพร่องในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ จะเกิดแผลกดทับได้ง่าย

ข้อควรระวังในการดูแลแผลกดทับ
หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ ยาแดง เบตาดีน หรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ในการทำความสะอาดแผล เพราะอาจทำลายเนื้อเยื่อที่กำลังจะขึ้นมาใหม่ เลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผล หากแผลมีน้ำหลั่งเยอะ อาจเลือกใช้วัสดุปิดแผลที่ดูดซับได้ดี แต่หากแผลมีน้ำหลั่งไม่เยอะ อาจใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดมากนัก

ข้อควรระวังในการดูแลแผลกดทับ

ขอแนะนำ ข้อควรระวังในการดูแลแผลกดทับ ที่ผู้ดูแลอาจมองข้าม ดังนี้
1.การดูแลผิวหนัง
1.1 การทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่มีผิวหนังแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่นในการทำความสะอาดร่างกาย ควรเลือกใช้สบู่ทำความสะอาดร่างกาย
1.2 ผู้ป่วยที่ขับถ่ายไม่ได้ ควรทำความสะอาดทุกครั้งและซับแห้ง เพราะอาจเกิดแผลจากความชื้นได้
1.3 หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความรู้สึกได้น้อย เช่น วางกระเป๋าน้ำร้อน ฯ เพราะอาจเกิดรอยแดงหรือตุ่มพองได้ง่าย
1.4 หลีกเลี่ยงการนวดปุ่มกระดูก โดยเฉพาะที่มีรอยแดง การนวดปุ่มกระดูกจะทำให้เลือดไหลเวียนบริเวณนั้นลดลง

2.การจัดท่าผู้ป่วยเพื่อลดแรงกด
2.1 การจัดท่าเป็นหลักเบื้องต้นในการป้องกันแผลกดทับ การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุกชั่วโมงควรมีบันทึกไว้ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงควรพลิกตัวผู้ป่วยให้บ่อยขึ้นหากพบว่าที่ผิวหนังมีรอยแดงขึ้น
2.2 การจัดท่านอนศีรษะสูง ไม่ควรเกินสูง 30 องศาเพื่อป้องกันการเกิดการเลื่อนไถลอันก่อให้เกิดแผลกดทับ (ยกเว้นการให้อาหารทางสายยาง)
2.3 การตะแคงตัวควรให้สะโพกเอียงทำมุม 30 องศากับที่นอนเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดโดยตรงต่อปุ่มกระดูกสะโพก

3.ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรอยู่ท่านั่งไม่เกินครั้งละหนึ่งชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ การเลือกใช้เบาะที่ลดแรงกดทับมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยเพื่อลดโอกาสการเกิดแผลกดทับ

4.การยกตัวผู้ป่วย ควรใช้ผ้ายกตัว ไม่ควรใช้วิธีลาก และไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือยกผู้ป่วยเพียงลำพังหากผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

สรุป
แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ใช้ระยะเวลารักษานานและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียง ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ จึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลดีที่สุด โดยเริ่มตั้งแต่การค้นหาและกําจัดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ การได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลผิวหนังให้ผู้ป่วยติดเตียง การใช้แผ่นรองตัวและเบาะรองนั่งที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดและกระจายแรงกดซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผลกดทับ หากมีแผลกดทับแล้วควรรักษาให้เหมาะสมตามระดับความรุนแรง ถ้าแผลกดทับมีขนาดใหญ่ ผู้ดูแลควรส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้แผลลุกลามเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา และสิ่งที่สําคัญอีกอย่างคือการป้องกันไม่ให้กลับเป็นซํ้า การดูแลรักษาแผลกดทับเป็นเรื่องสำคัญ เพราะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง ดังนั้นการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางที่พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีในการรักษา ย่อมช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง.

ข้อควรระวังในการดูแลแผลกดทับ