เมื่อพูดถึงแผลกดทับ นับเป็นแผลที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตโดยตรง เพราะมีการกดทับลงไปจนเนื้อตายและเกิดแผลขึ้นมา แผลลักษณะนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่ทำกิจกรรมน้อย ผู้ป่วยจะเกิดอาการหลายอย่าง ได้แก่ สีของผิวหนังหรือลักษณะผิวหนังเกิดความผิดปกติ มีอาการบวม มีหนองออกมา เกิดอาการอุ่นหรือเย็นตรงผิวหนังที่เกิดแผลกดทับ และมักกดแล้วเจ็บบริเวณที่เป็นแผลกดทับ อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น
เนื้อตาย (gangrene) เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายตายจนทำให้เกิดการเน่า โดยอาจมีอาการบวมหรือเกิดเป็นตุ่มพองขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวในบริเวณนั้น ภาวะนี้เกิดจากเนื้อเยื่อขาดเลือด หรือได้รับเลือดจากระบบไหลเวียนเลือดไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผลมาจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อแบคทีเรีย อวัยวะส่วนที่มักได้รับผลกระทบ คือ อวัยวะที่อยู่บริเวณไกลจากหัวใจ เช่น แขน ขา นิ้วมือ และนิ้วเท้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Gangrene สามารถเกิดขึ้นภายในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะภายในรวมถึงกล้ามเนื้อด้วย และอาจแพร่กระจายลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จนอาจทำให้เกิดภาวะช็อกและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น การเจ็บป่วยด้วยภาวะนี้จึงถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาทันที
ระบบไหลเวียนเลือดในเลือดไม่ดีหรือไม่เพียงพอก่อให้เกิดเนื้อตายได้อย่างไร ระบบการหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ (Human circulation) จะขอกล่าวถึงหน้าที่ดังนี้
1.ขนส่งก๊าซ สารอาหาร และของเสียที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย
2.ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ป้องกันการสูญเสียเลือดจากบาดแผล
3.ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่บุกรุกเข้ามาในร่างกาย
หลอดเลือดในร่างกาย ประกอบด้วย
1.หลอดเลือดแดง (Artery) มี 3 ขนาด เรียงจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ หลอดเลือดแดง (aorta) อาร์เทอรี (artery) และ อาร์เทอริโอล(arteriole)
2.หลอดเลือดดํา (Vein) เรียงจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ เวนาคาวา (vena cava) เวน (vein) และ เวนูล(venule)
3.หลอดเลือดฝอย (Capillary) คือ หลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก (arteriole) ไปยังหลอดเลือดดําขนาดเล็ก (venule) โดยจะแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ สมอง และอวัยวะอื่น ๆ ยกเว้นเส้นผม และเล็บจะไม่มีหลอดเลือดฝอย
หลอดเลือดต่างๆจะทำหน้าที่คอยส่งออกซิเจนและส่งสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย โดยหลอดเลือดฝอยจะแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อเนื้อเยื่อต่างๆโดนกดทับ ก็มีโอกาสที่จะพบว่าเกิดการไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดีได้ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องธรรมดามากที่เรามักมีปัญหาการไหลเวียนของเลือดบริเวณแขนและขา ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และปัญหาการแข็งตัวของหลอดเลือด
ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเช่นกัน จะพบว่าอาการที่เกิดจากการไหลเวียนโลหิตไม่ดีจนทำให้รู้สึกชา ปวดแขนขาและปวดกล้ามเนื้อ ถ้าปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา การไหลเวียนเลือดและคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดงจะสามารถนำไปสู่ความรุนแรงที่มากขึ้น จนเกิดเป็นเนื้อตาย ดังนั้นการรักษาสุขภาพร่างกายให้มีค่า Ph ที่สมดุลเพื่อให้อุณหภูมิของร่างกายคงที่และป้องกันอันตรายจากจุลินทรีย์ได้
มีวิธีการบำบัดทางธรรมชาติที่ยังช่วยสามารถปรับปรุงการไหลเวียนเลือดในร่างกายเพื่อให้ระบบต่างๆกลับมาทำงานได้อย่างราบรื่น ได้แก่
- การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ผู้ดูแลควรเลือกท่าออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลช่วยยืดเหยียดร่างกายของผู้ป่วยติดเตียง เช่น บริเวณแขนและขา อาจเลือกใช้หมอนหรือวัตถุอื่นๆยกขาของผู้ป่วยขึ้นเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย
- การนวด การนวดมีหลากหลายรูปแบบ และการนวดแต่ละแบบสามารถกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตได้เป็นอย่างดี เมื่อร่างกายของผู้ป่วยติดเตียงถูกกระตุ้นด้วยการนวดมันก็จะขับสารพิษออกมา เลือดก็จะไหลเวียนยิ่งขึ้น นอกจากนี้การนวดยังช่วยทำให้ผู้ป่วยติดเตียงได้ผ่อนคลาย และสามารถรักษาโรค อื่นๆได้อีกด้วย
- ทานอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ดูแลควรเลือกอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีน ที่มีหน้าที่เสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เนื้อสัตว์ที่ผู้ป่วยติดเตียงควรรับประทานคือ เนื้อสัตว์ที่ไม่มีหนังหรือไขมันมากเกินไป ควรรับประทานประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ
- คอยพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก และหากปล่อยให้ผู้ป่วยติดเตียงอยู่ในท่าเดิมนานๆ ก็จะเกิดความเสี่ยงต่อการที่หลอดเลือดถูกกดทับ จนเลือดไม่สามารถส่งอ๊อกซิเจน และสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื้อบริเวณนั้นได้ จนทำให้เนื้อตาย และเกิดแผลกดทับ เพราะฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดูแลจะต้องช่วยพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้หลอดเลือดโดนกดทับนานเกินไป หรือหากเป็นไปได้อาจเสริมด้วยการหาที่นอน หรือ เบาะที่ช่วยลดแรงกดทับ เพื่อลดโอกาสการเกิดแผลกดทับ
แผลกดทับเป็นแผลที่เกิดจากแรงกดทับจนทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกกดทับไม่เพียงพอ ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ส่งผลให้เกิดการตายของผิวหนังและเนื้อเยื่อต่างๆ มีอาการปวดหรือกดบริเวณแผลกดทับด้วย เมื่อผู้ดูแลเข้าใจกลไกลการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าเกี่ยวข้องกับแผลกดทับแล้ว ดังนั้นการดูแลและการป้องกันของผู้ป่วยติดเตียง จำเป็นต้องให้การช่วยเหลือในการจัดท่าทาง เพื่อลดแรงกดและแรงเสียดสีหรือแรงเสียดทานที่อาจเกิดขึ้น การนวดแก่ผู้ป่วย การพลิกตัว การใช้อุปกรณ์ลดแรงกดทับ รวมทั้งการให้สารอาหารประเภทโปรตีน เหล่านี้จะช่วยลดการเกิดแผลกดทับได้