ที่นอนผู้ป่วยติดเตียงมีกี่แบบ ควรเลือกที่นอนแบบไหนให้กับผู้ป่วยติดเตียง?

เพราะที่นอนคือที่ที่ผู้ป่วยติดเตียงจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ด้วย และด้วยสภาวะของผู้ป่วยติดเตียงที่อาจจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ หรือเคลื่อนไหวได้ไม่มาก ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับได้มาก หากไม่ได้นอนบนที่นอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง และไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ไม่ว่าจะเป็นการพลิกตัว นวดตัว หรือการทำกายภาพ กายบริหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงอย่างง่ายๆ หรือแม้แต่เรื่องการรักษาความสะอาดให้กับผู้ป่วย และอาหารการกินของผู้ป่วย ก็อาจทำให้เกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงได้

 

สถานการณ์ที่มีผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ถือเป็นสถานการณ์ที่เราอาจไม่คาดคิดและไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่หากเกิดขึ้นแล้ว เราในฐานะผู้ดูแลจำเป็นต้องเตรียมพร้อม ทั้งเตรียมความพร้อมในเรื่องการดูแลร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย และการเตรียมสถานที่ อุปกรณ์การดูแลที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆของการดูแลผู้ป่วยติดเตียงคือที่นอนที่เหมาะสม

 

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยอาจจะคุ้นเคยกับที่นอนหลังเดิม แต่ด้วยสภาวะสุขภาพที่อาจจะไม่เอิ้ออำนวยให้ผู้ป่วยสามารถพลิกตัวได้เอง หรือสามารถพลิกตัวได้แต่ด้วยความลำบาก จึงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถที่จะพลิกตัวยามที่รู้สึกเมื่อย เจ็บ ไม่สบายตัว จากแรงกดทับที่มากเกินแรงดันที่เส้นเลือดฝอยจะไหลผ่านได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผลกดทับ ดังนั้นที่นอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียงจึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์หลักที่ผู้ดูแลมักจะมองหา

ประเภทของที่นอนป้องกันแผลกดทับหลักๆ แบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกันดังนี้

  1. เตียงลม หรือที่นอนลม แบ่งเป็นสองประเภทที่นิยมใช้กัน
  • ที่นอนลมแบบลอนขวาง: สามารถลดแรงกดทับได้ดีกว่า ลดโอกาสที่แผลจะสัมผัสกับผิวเตียงเป็นเวลานานๆ โดยใช้พลังงานปั๊มลมไฟฟ้าในการทำให้เตียงขยับตามช่วงเวลา
  • ที่นอนลมแบบรังผึ้ง: ที่นอนลมแบบรังผึ้ง มีลักษณะเหมือนบับเบิ้ล สามารถยุบสลับกันไปบนเตียง

ถึงแม้ว่าที่นอนลมจะถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดแรงกดทับ และป้องกันการเกิดแผลกดทับ แต่ที่นอนลมสามารถช่วยไม่ให้เกิดแผลกดทับได้จริงหรือ และด้วยวิธีการทำงานของที่นอนลมที่ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำให้ลอนพองสลับกับยุบ ทำให้มีความเสี่ยงในกรณีไฟดับ และยังรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วยด้วยการยุบ พองของที่นอน นอกจากนั้นเตียงลมยังไม่ค่อยเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวค่อนข้างมาก

 

  1. ที่นอนโฟม มีทั้งแบบแผ่นเรียบและแบบกมีรอยตัดสลับกันเป็นลอนคลื่น รองรับน้ำหนักได้มาก มีคุณสมบัติกระจายแรงกดทับ เหมาะกับผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัว และยังเคลื่อนไหวได้ สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยทั่วไป จนถึงผู้ป่วยที่เกิดแผลกดทับในระยะเริ่มเต้น

 

  1. ที่นอนยางพารา ด้วยเนื้อยางพาราเป็นเนื้อที่มีความนุ่มแน่น พร้อมทั้งมีรูระบายอากาศทั่วทั้งแผ่น นอกจากจะไม่แข็งจนทำให้เกิดแรงกดทับที่มากเกินไปแล้ว ยังช่วยระบายความร้อน และยืดหยุ่นรองรับน้ำหนักของผู้ป่วยได้ดีที่สุด ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตลอดทั้งวัน ที่นอนยางพาราเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ช่วยลดการกดทับของน้ำหนักตัว อันเป็นสาเหตุของการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะไหล่ หลัง สะโพก ทำให้นอนหลับสบาย หลับสนิท ตลอดการพักผ่อน  ประการสำคัญเวลาที่คนสูงอายุนั่งหรือนอนลงไป จะทำให้เกิดแรงต้านจากชิ้นโฟมยางพารา จึงเสมือนเป็นการนวดตัว ทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากอาการปวดเมื่อย เนื่องจากที่นอนทั่วไปจะทำให้เกิดแรงกดที่นุ่มยวบ จึงทำให้รู้สึกปวดเมื่อยเวลาใช้งาน ซึ่งทีนอนยางพาราเหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยนอนติดเตียง และผ่าตัดกระดูกสันหลังจากการที่กระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งทำให้รู้สึกปวดเมื่อยหลัง หรือผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บเกี่ยวกับไขสันหลังต้องอยู่ในท่าที่ไม่เคลื่อนไหว  ตลอดจนวัยทำงานที่รักสุขภาพ

อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากที่นอนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ผู้ดูแลยังจำเป็นต้องค่อยสังเกตุอาการและสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยติดเตียง และคอยพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง ชวนผุ้ป่วยติดเตียงทำกายบริหารเบาๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อและเลือดของผู้ป่วยไหลเวียดดีขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

ที่นอนยางพาราที่ป้องกันแผลกดทับ

ที่นอนโฟม

ที่นอนลมแบบลอน ที่นอนลมแบบรังผึ้ง
วิธีการ กระจายแรงกดทับ กระจายแรงกดทับ สลับความดัน สลับความดัน
ความปลอดภัย สูง

ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า

สูง

ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า

กลาง-สูง

ต้องมีใบแจ้งรายละเอียดการนำเข้าจาก อย.

กลาง-สูง

ต้องมีใบแจ้งรายละเอียดการนำเข้าจาก อย.

ความสบายในการนอน มาก

ที่นอนไม่ขยับ

มาก

ที่นอนไม่ขยับ

ปานกลาง

สลับตัวของลอน

กลาง-น้อย

สลับตัวของปุ่ม

รับน้ำหนัก 200 กิโลกรัม 80-200 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับรุ่น 80 กิโลกรัม 80 กิโลกรัม
ความเหมาะสมกับระดับแผล เหมาะสมกับทุกระดับความรุนแรงของแผลกดทับ เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ยังไม่มีแผล หรือแผลระดับ 1-2 เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ยังไม่มีแผล หรือแผลระดับ 1-2 เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ยังไม่มีแผล หรือแผลระดับ 1-2
ข้อจำกัด ไม่ทนต่อรังสี UV อาจเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง ไรฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ เนื่องจากต้องใช้ไฟฟ้า อาจเกิดปัญหาหากไฟดับ เนื่องจากต้องใช้ไฟฟ้า อาจเกิดปัญหาหากไฟดับ
ความสะอาด

ปลอดจากเชื้อโรค

มีส่วนผสมของซิงค์ ออกไซด์ สามารถป้องกันแบคทีเรีย และเชื้อรา กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ อาจเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง ไรฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ ฝุ่นและเชื้อโรคสามารถรวมตัวอยู่ที่ลอนได้ง่าย ฝุ่นและเชื้อโรคสามารถรวมตัวอยู่ที่ลอนได้ง่าย
การดูแลรักษา ง่าย

ผ้าคลุมถอดล้างได้

ง่าย

ผ้าคลุมถอดล้างได้

ปานกลาง

ถอดเปลี่ยนลอนได้

ยาก

ซ่อมโดยการปะ

อายุการใช้งาน กระจายแรงภายในโครงสร้างโมเลกุลพอลิเมอร์ยางพารา เป็นธรรมชาติและไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ทำให้ ไม่ต้องซ่อมบำรุง และทำให้มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี กระจายแรงกดทับด้วยการตัดแบ่งเนื้อโฟม จึงไม่ต้องใช้ไฟฟ้า = ไม่ต้องซ่อมบำรุง ทำให้อายุการใช้งานอยู่ที่ 4-8 ปี กระจายแรงกดทับด้วยการสลับลอนที่นอนด้วยไฟฟ้า จึงต้องเปิดปั๊มลมให้ทำงานต่อเนื่อง 24ชม. และมีความเสี่ยงที่ลอนที่นอนจะรั่วบ่อย ทำให้อายุการใช้งานของที่นอนลมอยู่ที่ 1-2 ปี กระจายแรงกดทับด้วยการสลับลอนที่นอนด้วยไฟฟ้า จึงต้องเปิดปั๊มลมให้ทำงานต่อเนื่อง 24ชม. และมีความเสี่ยงที่ลอนที่นอนจะรั่วบ่อย ทำให้อายุการใช้งานของที่นอนลมอยู่ที่ 1-2 ปี