การเลือกที่นอนให้ผู้ป่วยติดเตียง

การเลือกที่นอนให้ผู้ป่วยติดเตียง

การเลือกที่นอนให้ผู้ป่วยติดเตียง มีความสำคัญสำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และส่งผลต่อโอกาสการเกิด แผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงโดยตรง ”แผลกดทับ” เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้ดูแลรู้สึกหนักใจและกังวล แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ไขสันหลัง ผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหว และผู้ป่วยที่นอนติดเตียง เมื่อเกิดแผลกดทับส่งผลให้มีการอักเสบของเนื้อเยื่อ เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรงจนอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลแผล ค่ายา และอุปกรณ์สิ้นเปลืองสูงขึ้น ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล มีความทุกข์ มีความเครียดและวิตกกังวล สูญเสียภาพลักษณ์ ทำให้รู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเอง ดังนั้น อีกหนึ่งความจำเป็นที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ป่วยติดเตียง คือ การใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับ หรือ ที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง นั่นเอง

การเลือกที่นอนให้ผู้ป่วยติดเตียง

ปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านการแพทย์พัฒนามากขึ้น ทำให้การป้องกันแผลกดทับของผู้ป่วยติดเตียงมีทางเลือกมากขึ้น จากเดิมแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเป็นแผลกดทับใช้ ที่นอนลม เพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งนอนไม่สบาย ต้องเสียบไฟฟ้าให้ปั๊มลมทำงานตลอด 24 ชม. ส่งผลให้ต้องซ่อมบำรุงปั๊มลมและที่นอนบ่อย และเกิดความเสี่ยงหากเกิดไฟฟ้าดับขณะที่ใช้ที่นอนลม แต่ตอนนี้สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ยังไม่เป็นแผลกดทับ หรือที่เป็นแผลกดทับแล้วก็ตาม สามารถใช้ ที่นอนโฟม หรือ ที่นอนยางพารา (ที่ออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับโดยตรง) แทนที่นอนลมได้ หมดปัญหาเรื่องการนอนไม่สบาย และซ่อมบำรุงบ่อย

สบายกว่าที่นอนลม

สิ่งที่ต้องพิจารณาใน การเลือกที่นอนให้ผู้ป่วยติดเตียง
ก่อนที่จะพิจารณาเลือกที่นอนให้ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจต้นตอของการเกิดแผลกดทับจากการนอน ซึ่งเกิดจากแรงกดทับที่มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เนื้อเยื้อตาย และเกิดเป็นแผล โดยปกติเวลาเรานอนบนเตียง ร่างกายของเราจะเกิดแรงกดทับบนเตียงอยู่แล้ว จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว และวัสดุของที่นอน ระหว่างเรานอนหลับ ระบบในร่างกายจะทำการสั่งการให้มีการขยับบางส่วนของร่างกาย ในกรณีที่มีการกดทับที่มากเกินไปจนไม่สบายตัว

แต่ในกรณีของผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้เอง ที่นอนที่ช่วยกระจายแรงกดทับจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ควรจะมีคุณสมบัติในการกระจายแรงกดทับทั่วทั้งร่างกาย ให้เหลือน้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งคือ 2 เท่าของแรงดันเส้นเลือดฝอยในร่างกายเรา เพราะหากเกิดแรงกดทับมากกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท จะปิดกั้นทางเดินเส้นเลือดฝอย ทำให้เนื้อเยื้อบริเวณนั้นขาดเลือด จนเนื้อตาย และเกิดเป็นแผลกดทับตามมา

ลดแรงกดทับให้ต่ำกว่า 60 มม ปรอท

เพราะฉะนั้นการป้องกันแผลกดทับจากแรงกดในการนอนที่มีประสิทธิภาพคือ การเลือกที่นอนที่มีคุณภาพ และมีการทดสอบว่าสามารถกระจายแรงกดทับผู้ป่วยให้น้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท โดยปัจจัยหลักๆ ในการเลือกที่นอนกันแผลกดทับ ผู้เขียนขอแนะนำที่นอนที่มีคุณภาพ ดังนี้

  1. ความสามารถในการลดโอกาสการเกิดแผลกดทับ
    • ที่นอนลม ใช้วิธีการสลับความดันของลอนลม ในการลดแรงกดทับให้ผู้ป่วย ในขณะที่ ที่นอนปล่อยลม แรงกดทับจะลดลง แต่ในขณะที่ ที่นอนพองตัว แรงกดทับจะเพิ่มขึ้นและอาจเกิน 60 มิลลิเมตรปรอทได้ ถึงแม้ว่าที่นอนลม จะช่วยลดแรงกดทับให้น้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอทในช่วงที่คลายลม การสลับขึ้นลมของลอนลม มักสร้างความรบกวนต่อการนอนพักผ่อนของผู้ป่วย และอาจเกิดอันตรายจากไฟฟ้าที่ต้องใช้ในการยุบ-พอง ของที่นอน
    • ที่นอนโฟม ใช้วิธีการกระจายแรงกดทับ ที่นอนโฟมที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันแผลกดทับ มักจะช่วยลดแรงกดทับได้บางส่วน แต่ไม่ทุกส่วนของร่างกาย เพราะฉะนั้นการเกิดแผลกดทับยังคงเกิดขึ้นได้ง่าย หากผู้ป่วย ไม่ได้รับการพลิกตัวทุกๆ 2 ชั่วโมง
    • ที่นอนยางพารา ใช้วิธีการกระจายแรงกดทับให้กับผู้ป่วย โดยที่นอนยางพาราจะมีจุดเด่นในการกระจายแรงกดทับได้ดี และหากออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยติดเตียง มักจะสามารถกระจายแรงกดทับได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย อย่างไรก็ตาม ผู้ดูแลจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่นอนนั้นๆ ได้มีการทดสอบว่าสามารถลดแรงกดทับได้ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอทจริง หรือไม่ ตรวจสอบว่าที่นอนยางพาราลดแรงกดทับได้ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอทด้วยระบบ XSENSOR เทคโนโลยีตรวจวัดแรงกดทับจากอเมริกา ที่นอนยางพาราป้องกันแผลกดทับ
  2. ความสบายในการนอน ความสามารถในการรองรับสรีระของผู้ป่วย
    • ที่นอนลม เป็นที่นอนที่สร้างความรบกวนในการนอนให้กับผู้ป่วยมากกว่าที่นอนประเภทอื่น เนื่องจากการสลับขึ้น-ลงของลอนลมระหว่างนอน และความสามารถในการรองรับสรีระที่ไม่ดีเท่าที่นอนประเภทอื่น เนื่องจากที่นอนเป็นลอนๆ ทำให้บางส่วนของร่างกายไม่ได้รับการรองรับที่ดีพอ
    • ที่นอนโฟม ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายในการนอนมากกว่าที่นอนลม เพราะที่นอนไม่ขยับ แต่การรองรับสรีระของร่างกายผู้ป่วยถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ขึ้นอยู่กับชนิดของโฟม และความนุ่มแน่นของโฟม ว่าเหมาะสมกับน้ำหนักตัว และสรีระของผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน
    • ที่นอนยางพารา เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยางพารามีความยืดหยุ่นสูงและจับตัวได้ดีมาก ทำให้มีความทนทานสูงมาก ยืดหยุ่น ไม่ยุบคืนตัวไว และไร้เสียงรบกวน ที่นอนยางพาราจึงมีคุณสมบัติในการช่วยรองรับสรีระร่างกายผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ตามที่เห็นว่าที่นอนยางพารามักจะเป็นตัวเลือกสำหรับคนที่มีปัญหาปวดหลัง ที่นอนยางพาราป้องกันแผลกดทับ
  3. ความสะดวกในการทำความสะอาด
    • ที่นอนลม ด้วยลักษณะที่นอนที่เป็นลอน ทำให้มีร่องระหว่างลอนอยู่หลายร่อง ซึ่งเป็นที่กักเก็บของฝุ่นละอองได้ง่าย การทำความสะอาดจึงมีความลำบากกว่าที่นอนธรรมดาตรงต้องคอยเช็ดตามร่อง
    • ที่นอนโฟม ที่นอนโฟมสำหรับผู้ป่วยมักจะหุ้มด้วยผ้ากันน้ำซึม จึงสะดวกในการเช็ดทำความสะอาด แต่เนื้อโฟมในที่นอนอาจเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง ไรฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย
    • ที่นอนยางพารา ที่นอนยางพาราสำหรับผู้ป่วยมักจะหุ้มด้วยผ้ากันน้ำซึม จึงสะดวกในการเช็ดทำความสะอาด และถอดไปล้างได้ง่าย และตัวยางที่มีส่วนผสมของ Nano-Zinc Oxide ยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และไรฝุ่น ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากแผลติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนัง ที่นอนกันแบคทีเรีย
  4. การระบายอากาศ ลดความอับชื้น
    • ที่นอนลม ด้วยลักษณะที่นอน ที่เป็นลอน ทำให้มีร่องระหว่างลอนอยู่หลายร่อง ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี
    • ที่นอนโฟม ด้วยที่นอนที่ทึบเป็นแผ่น ทำให้โอกาสการเกิดความอับชื้นหากนอนท่าเดิมนานๆ เป็นไปได้สูง โดยเฉพาะในอากาศร้อนชื้น จึงจำเป็นต้องมีการพลิกตัวผู้ป่วยอยู่เรื่อยๆ เพื่อช่วยระบายอากาศ ลดความอับชื้น
    • ที่นอนยางพารา ด้วยโครงสร้างยางพาราเป็น open-cell ทำให้ที่นอนยางพารามีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี ช่วยถ่ายเทความร้อน ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับสบาย ไม่ร้อน ไม่อับชื้น ที่นอนระบายอากาศ
  5. อายุการใช้งาน
    • ที่นอนลม – กระจายแรงกดทับด้วยการสลับลอนที่นอนด้วยไฟฟ้า จึงต้องเปิดปั๊มลมให้ทำงานต่อเนื่อง 24ชม. และมีความเสี่ยงที่ลอนที่นอนจะรั่วบ่อย ทำให้อายุการใช้งานของที่นอนลมอยู่ที่ 1-2 ปี
    • ที่นอนโฟม – กระจายแรงกดทับด้วยการตัดแบ่งเนื้อโฟม จึงไม่ต้องใช้ไฟฟ้า = ไม่ต้องซ่อมบำรุง ทำให้อายุการใช้งานอยู่ที่ 4-8 ปี
    • ที่นอนยางพารา – กระจายแรงกดทับภายในโครงสร้างโมเลกุลพอลิเมอร์ยางพารา เป็นธรรมชาติ และไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ทำให้ไม่ต้องซ่อมบำรุง และทำให้มีอายุการใช้งานกว่า 10 ปี ที่นอนยางพาราป้องกันแผลกดทับ
  6. ระดับของแผลกดทับ และอาการ หรือ โรคประจำตัวของผู้ป่วย
    • ที่นอนลม เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่มีแผล หรือแผลระดับ 1-2 แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ และต้องมีการปั๊มหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงที่นอนลม
    • ที่นอนโฟม เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่มีแผล หรือแผลระดับ 1-2 แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงที่นอนโฟม เนื่องจากตัวโฟมอาจเป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่น
    • ที่นอนยางพารา เหมาะสำหรับผู้ป่วยในทุกระดับแผลกดทับ เนื่องจากคุณสมบัติการกระจายแรงกดทับให้น้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ทำให้ไม่เกิดการปิดทับหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี ที่นอนลดแรงกดทับ

โดยสรุป ที่นอนป้องกันแผลกดทับถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์จำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียง การเลือกที่นอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ผู้ดูแลควรพิจารณาในหลายๆแง่มุม รวมทั้งความสามารถในการป้องกันแผลกดทับ กล่าวคือความสามารถในการลดแรงกดทับให้ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท และความเหมาะสมของที่นอนสำหรับอาการของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีที่นอนที่ช่วยลดแรงกดทับ การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง หรือเท่าที่ทำได้ การทำกายภาพให้ผู้ป่วยติดเตียง การเลือกอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียง และการนวดกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ยังมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้เปลี่ยนอริยาบท เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และระบบการทำงานในร่างกาย เสริมสร้างร่างกายให้ผู้ป่วย ทำให้สุขภาพร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟูได้เร็วขึ้น ผู้เขียนหวังว่าผู้ดูแลจะตัดสินใจเลือกที่นอนแก่ผู้ป่วยติดเตียงได้ดีขึ้น