การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลหลายท่านอาจกังวัลว่าจะทำให้มีผู้ป่วยติดเตียงสามารถใช้ชีวิตได้นานเท่าไร หลายท่านก็ท้อใจ เหนื่อย และเข้าใจว่าทุกบ้านที่มีผู้ป่วยพึ่งพิงอยู่ด้วยก็คงไม่ต่างกัน ดังนั้นวันนี้ขอสรุปเป็นเคล็ดลับที่สามารถนำไปใช้ได้จริงเพื่อทำให้ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยพึ่งพิงมีความสุขและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างนานขึ้น ร่วมกับเราทุกคน
เคล็ดลับที่ 1 เข้าใจอาการของโรคที่เขาเป็นอยู่ หากเราสามารถเข้าใจอาการเจ็บป่วยที่คนในบ้านของเราเผชิญอยู่ เราจะสามารถเข้าถึงจิตใจอันบอบช้ำของเขา และสามารถช่วยเหลือเยียวยาและพัฒนาเขาได้ การเข้าถึงก็สามารถทำได้ไม่ยาก
เคล็ดลับที่ 2 มองโลกในแง่ดี ในการที่จะอยู่ร่วมกับผู้ป่วยพึ่งพิงให้ปกติสุขโดยที่เราจะไม่ป่วยตามเขาได้ เราต้องมองหาข้อดีของการอยู่ร่วมกันในแต่ละวัน เช่น แม้เราจะเหน็ดเหนื่อยกับการดูแลผู้ป่วยพึ่งพิง เราก็ถือว่าเป็นพยาบาลในบ้านของเขา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของเขา หรือหากเราถูกเขาระบายอารมณ์ใส่ ก็คิดเสียว่าดีกว่าเขาจะไปทำเช่นนี้กับคนนอกบ้าน เป็นต้น เหนือสิ่งอื่นใด การใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยพึ่งพิงถือเป็นการฝึกฝนความอดทนและได้ฝึกการเป็นผู้ให้อย่างดีที่เดียว และไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับโอกาสเช่นนี้
เคล็ดลับที่ 3 อยู่ด้วยกันด้วยความเมตตา คำกล่าวของพระญาณสังวร ที่ว่า “เมตตาธรรมค้ำจุนโลก” สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ที่เราต้องดูแลผู้ป่วยพึ่งพิงได้ดีทีเดียว เพราะเมื่อเรามีความเมตตา เราจะมีความใจเย็นมากพอที่จะทำความเข้าใจกับอาการของผู้ป่วยพึ่งพิง มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับอารมณ์ของเขา มีความปรารถนาดีมากพอที่จะช่วยเหลือ ดูแล เยียวยา และผลักดันให้เขาหายจากอาการป่วย และแน่นอนเราจะมีความเป็นมนุษย์มากพอที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยพึ่งพิงเช่นปกติ
เคล็ดลับที่ 4 ผ่อนคลายความเครียดบ้าง หากคุณซึ่งเป็นผู้ดูแลเริ่มรู้สึกไม่โอเค รู้สึกเครียดกับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ คุณสามารถหาเวลาไปหาความผ่อนคลายได้ เช่น การดูภาพยนตร์ ฟังเพลง การไปเที่ยวนอกบ้าน ไปทำกิจกรรมที่เราชอบจนกว่าเราจะสบายใจ ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นเราเองที่จะเจ็บป่วยตามเขาไป วัยชราเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงตามอายุที่มากขึ้น รวมถึงอารมณ์และจิตใจที่ไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายในจนนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิตและปัญหาเรื้อรังอื่น ๆ ได้ วัยสูงอายุจึงถือเป็นวัยที่มีความเปราะบางและต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษและเมื่อต้องเป็นผู้ป่วยพึ่งพิงต่อไป
เคล็ดลับที่ 5 เข้าใจในความต่าง เนื่องจากผู้สูงวัยเติบโตมาบนพื้นฐานและประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป เมื่อใกล้ชิดกับคนรุ่นใหม่ที่มีลักษณะไม่ตรงกันจึงมักวิตกกังวลและคอยกำชับติดตามให้ทำตามที่ตนเองยึดถือ บ่อยครั้งหลงลืมและพูดย้ำหลายครั้งจนสมาชิกรู้สึกไม่เป็นส่วนตัว สิ่งที่ทำได้คือ ตอบรับและทำตามคำแนะนำ หากมีส่วนไหนไม่เป็นความจริงก็ควรให้อภัยและปล่อยผ่านไปโดยไม่จำเป็นต้องโต้เถียงจนรู้สึกไม่ดีต่อกัน
เคล็ดลับที่ 6 มองเห็นคุณค่าและความสำคัญ – ผู้สูงวัยส่วนมากที่พ้นจากชีวิตการทำงานแล้วและต้องเป็นผู้ป่วยพึ่งพิงต่อมา อาจรู้สึกหมดคุณค่าที่ไม่สามารถทำประโยชน์ให้กับใครได้อีก จนไปบั่นทอนสภาพจิตใจและส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายตามมา ซึ่งคนในครอบครัวสามารถช่วยได้ด้วยการให้ความสำคัญโดยการขอคำแนะนำ รับฟังความเห็นหรือให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ รวมทั้งแสดงออกต่อกันด้วยความเคารพเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับครอบครัว
เคล็ดลับที่ 7 ให้ความดูแลเอาใจใส่ – ความต้องการของผู้ป่วยพึ่งพิงคือการได้รับความดูแลเอาใจใส่จากคนรอบตัว ซึ่งสมาชิกในครอบครัวสามารถเพิ่มพูนความรู้สึกและความสัมพันธ์ที่ดีได้โดยการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบและชวนพูดคุยถึงเรื่องต่างๆ คอยดูแลใกล้ชิดไม่ปล่อยให้อยู่โดยลำพัง ดูแลเรื่องอาหารการกิน ความสะอาดและการออกกำลังกาย พาไปตรวจสุขภาพและพบแพทย์ตามนัดหมาย รวมทั้งส่งมอบรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กันเสมอ
เคล็ดลับที่ 8 นำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ – นอกจากสมาชิกจะเคยได้รับฟังคำแนะนำจากผู้ป่วยพึ่งพิงในฐานะที่เคยอาบน้ำร้อนมาก่อนแล้ว คนรุ่นใหม่ก็สามารถให้คำแนะนำดีๆกลับคืนไปให้ได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะองค์ความรู้สมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลช่วยเหลือตัวเองและการพักผ่อนอย่างเหมาะสม การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ หรือแม้แต่การใช้เทคโนโลยีเพื่อคลายเหงา
เคล็ดลับที่ 9 ไม่นำปัญหามารบกวนจิตใจ – เป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยพึ่งพิงซึ่งมักไม่มีภาระใดๆให้ต้องกังวลแล้วนอกจากสุขภาพร่างกาย จะหันมาให้ความสนใจกับความเป็นไปของลูกหลานได้อย่างเต็มที่ หากเป็นไปได้สมาชิกจึงควรดูแลจัดการชีวิตของตัวเองให้ดีเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยพึ่งพิงต้องวิตกกังวลและเข้ามายุ่งเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งในครอบครัวและการแย่งชิงมรดกหรือสมบัติที่กระทบกระทั่งจนเกิดความไม่พอใจต่อกัน
เคล็ดลับที่ 10 หมั่นแสดงความรักให้กัน – การแสดงความรักในครอบครัวมีหลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่วิธีที่ไม่มีค่าใช้จ่ายและสามารถทำได้ทุกวันอย่างการพูดคุยและบอกรัก การสัมผัสและโอบกอดเป็นประจำ หรือการดูแลเอาใจใส่ในการจัดเตรียมอาหารการกิน เครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยอำนวยความสะดวก พาไปท่องเที่ยวหรือทานอาหารในโอกาสพิเศษต่างๆ รวมถึงการทำตัวเป็นลูกหลานที่ดีด้วยการเชื่อฟัง เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันเสมอ
หากเลือกได้คงไม่มีใครต้องการเป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยพึ่งพิง แต่เมื่อไม่มีใครฝืนกฎธรรมชาติข้อนี้ได้ ก็เป็นหน้าที่ของคนในครอบครัวที่จะต้องยอมรับและเข้าใจ พยายามที่จะปรับตัวเองเข้าหาความเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะทำให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุข ผู้ป่วยพึ่งพิงเป็นช่วงชีวิตหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งทางร่างกายและจิตใจจนอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา แต่หากลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสมก็จะทำให้ผู้ป่วยอยุ่กับเราได้ยาวนานขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ทุเลาลง นำมาซึ่งความสุขของสมาชิกทุกคนในครอบครัวต่อไป