การจัดท่านั่ง-ท่านอนให้ผู้ป่วยติดเตียง

การจัดท่านั่ง-ท่านอนให้ผู้ป่วยติดเตียง

การจัดท่านั่ง-ท่านอนให้ผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงเป็นระยะเวลานานมักเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายประการ การจัดท่าที่ถูกต้องเหมาะสมมีความจําเป็นสำหรับการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมความสุขสบาย แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดได้กับคนทุกวัยไม่เว้นแม้แต่ในเด็กเล็กที่นอนติดเตียงที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหว อาจเกิดแผลกดทับที่บริเวณท้ายทอยได้ วัยรุ่นที่ประสบอุบัติเหตุ และมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังไม่สามารถลุกเดินช่วยเหลือตนเองได้ อาจเกิดแผลกดทับบริเวณก้นกบและสะโพก

การจัดท่าผู้ป่วยติดเตียงในท่านอน ควรพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยติดเตียงอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง และควรมีการจดบันทึกเวลาที่เปลี่ยนท่า มีการใช้นาฬิกากำกับการเปลี่ยนท่าในการพลิกตะแคงตัว ในท่านอนควรให้สะโพกทำมุม30 องศากับที่นอน เพื่อลดแรงกดที่ตรงกัน และควรใช้หมอนสอดคั่นระหว่างหัวเข่าและระหว่างตาตุ่มทั้ง 2 ข้างรอบบริเวณน่องหรือขาส่วนล่างให้ส้นเท้าลอยเหนือพื้นของที่นอน เพื่อป้องกันแรงกดเฉพาะที่ ส่วนท่านั่งอยู่ในรถเข็นควรนั่งไม่เกิน 1 ชั่วโมง

เทคนิคเตือนพลิกตัวผู้ป่วย

ผู้เขียนขอแนะนำ การจัดท่านั่ง-ท่านอนให้ผู้ป่วยติดเตียง ดังนี้

1.ท่านั่ง

  • 1.1 ท่านั่งทั่วไปของผู้ป่วยติดเตียง เพื่อให้เกิดแรงกดน้อยคือ ท่านั่งให้หลังพิงพนักเก้าอี้ ให้ขาหย่อนเล็กน้อย หากผู้ป่วยที่อัมพาตครึ่งล่าง แนะนำให้ผู้ป่วยติดเตียงเคลื่อนไหวร่างกายในการเอียงร่างกายไปทางขวา ทางซ้ายโน้มตัวไปข้างหน้า ทุก 30 นาที ครั้งละประมาณ 30 วินาที
    การจัดท่านั่ง-ท่านอนให้ผู้ป่วยติดเตียง
  • 1.2 ท่านั่งเพื่อป้อนอาหารผู้ป่วยติดเตียง จัดให้ศีรษะสูง 45- 60 องศาขึ้นไป หรือใช้หมอนสอดรองศีรษะ ในบางครั้งผู้ดูแลป้อนอาหารและดูแลคนเดียวจะพบว่า หลังป้อนอาหารตัวผู้ป่วยติดเตียงไหลลงมาปลายเตียงประจำ ท่านั่งเพื่อป้อนอาหารผู้ป่วย
    ขอแนะนำการจัดท่าผู้ป่วยติดเตียงเมื่อตัวผู้ป่วยไหลลงปลายเตียง ดังนี้
  1. ผู้ดูแลใส่ผ้าขวางผืนใหญ่รองตัวผู้ป่วยติดเตียง (ตั้งแต่เช้าหรือก่อนป้อนอาหาร)
  2. หลังป้อนอาหารเสร็จ 30 นาที ไขเตียงผู้ป่วยติดเตียงในแนวราบ
  3. ผู้ดูแลยืนที่หัวเตียงค่อยๆยกผ้าขวางเตียงผืนใหญ่ทั้ง 2 ด้านขึ้นมาที่หัวเตียง (จะพบว่าตัวผู้ป่วยติดเตียงจะเคลื่อนมาด้วย) วิธีนี้ผู้ป่วยติดเตียงจะไม่มีแผลถลอก
  4. ผู้ดูแลปรับเตียง โดยปรับที่ช่วงปลายเท้าก่อนปรับระดับให้เหมาะสม จากนั้นจึงไขปรับด้านหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 45 องศา

2.ท่านอน

  • 2.1 การจัดท่านอนหงายในผู้ป่วยติดเตียง ท่านี้ผู้ป่วยติดเตียงจะรู้สึกสบาย
    2.1.1 ควรเปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมงเพื่อลดการกดทับ ควรหมั่นสังเกตผิวหนังของผู้ป่วยติดเตียงเป็นประจำ หากพบรอยแดงบริเวณผิวหนังควรเปลี่ยนท่านอนทันทีและพลิกตะแคงตัวบ่อยขึ้น
    2.1.2 ใช้ผ้าขนหนูผืนใหญ่พับครึ่ง รองที่แขนข้างที่อ่อนแรง
    2.1.3 ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กม้วนสอดใส่ที่มือผู้ป่วยติดเตียงให้ผู้ป่วยติดเตียงกำ เพื่อลดอาการเกร็ง
    2.1.4 ปลายเท้าใช้หมอนข้างใบใหญ่ดันปลายเท้าทั้งสองข้างเพื่อป้องกันการลื่นไถลของผู้ป่วย
    2.1.5 กรณีต้องให้อาหาร ศีรษะผู้ป่วยติดเตียงต้องสูง หาหมอนอีกใบรองที่ศีรษะ
    การจัดท่านั่ง-ท่านอนให้ผู้ป่วยติดเตียง
  • 2.2 การจัดท่านอนตะแคงในผู้ป่วยติดเตียง
    2.2.1 ผู้ดูแลหันหน้าเข้าหาผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลจับหัวไหล่และสะโพกผู้ป่วยติดเตียงด้านตรงข้าม และพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงเข้าหาผู้ดูแล
    2.2.2 นำหมอนมาใส่ที่แขนเพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงกอด
    2.2.3 ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กม้วนสอดใส่ที่มือผู้ป่วยติดเตียงให้ผู้ป่วยติดเตียงกำ เพื่อลดอาการเกร็ง
    2.2.4 จัดขาล่างผู้ป่วยติดเตียงเหยียดตรง
    2.2.5 จัดขาบนผู้ป่วยติดเตียง งอเล็กน้อย
    2.2.6 กรณีผู้ป่วยติดเตียงมีสายสวนปัสสาวะ ให้ย้ายถุงปัสสาวะมาด้านที่ตะแคง โดยหักสายไว้และย้ายถุงปัสสาวะมาด้านตรงข้าม ท่านอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

หมายเหตุ ในการจัดท่านอนกึ่งตะแคงหงายควรมีหมอนสอดคั่นระหว่างหัวเข่าและระหว่างตาตุ่มทั้ง 2 ข้างเพื่อป้องกันการกดทับเฉพาะที่

การจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียงต้องมีการพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง โดยการดูนาฬิกาติดฝาผนัง และการตั้งเวลาในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเตือนการจัดเปลี่ยนท่านอน แต่หากติดธุระในการทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่นงานบ้าน หรือออกไปทำสวนในช่วงกลางวัน อาจทำให้มีช่วงเวลาในการพลิกตะแคงตัวที่ล่าช้าออกไปได้ จึงควรเลือกที่นอนป้องกันแผลกดทับ ที่สามารถลดแรงกดทับได้ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอททั่วทั้งร่างกาย เพื่อลดโอกาสการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

สรุปในการจัดท่านอนอุปกรณ์ที่ใช้ในการรองปุ่มกระดูก พบว่ามีการใช้หมอนใบเล็ก หรือผ้าขนหนูม้วน สอดคั่นบริเวณตาตุ่ม เมื่อจัดท่านอนตะแคง มักใช้หมอนข้างยาว หรือหมอนสอดคั่นบริเวณระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง ข้อควรระวังถ้าจําเป็นต้องนอนยกศีรษะสูงไม่ควรจัดท่าศีรษะสูงผู้ป่วยติดเตียงเกิน 60 องศา นานเกิน 30 นาที เพื่อป้องกันการลื่นไถลและแรงกดทับ

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ