การกำจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยติดเตียง นอกจากจะช่วยรักษาความสะอาดให้กับผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ยังช่วยให้บรรยากาศรอบตัวๆตัวผู้ป่วย และผู้ดูแลไม่หม่นหมอง ส่งเสริมให้สภาพแวดล้อมน่าอยู่ การทำความสะอาดผู้ป่วยติดเตียงหลังการขับถ่าย คือสิ่งสำคัญในขั้นตอนของการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและให้ผู้ป่วยติดเตียงมีความเป็นอยู่ที่ถูกสุขลักษณะ มีสุขอนามัยที่สะอาดและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ ขั้นตอนการทำความสะอาดหลังการขับถ่ายเป็นจุดที่สำคัญ และเป็นจุดที่เป็นหัวใจหลักสำคัญสำหรับผู้ดูแลและญาติผู้ป่วยเพราะจะเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
เรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์เป็นปัญหาที่พบบ่อยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สำหรับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นบนที่นอนนั้น แน่นอนว่าสาเหตุหลักต้องมาจากฉี่รดที่นอน/ขับถ่ายรดที่นอนนั่นเอง
ขั้นตอนการทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยติดเตียง หลังการฉี่รดที่นอน/ขับถ่ายรดที่นอน
- ผู้ดูแล/ญาติผู้ป่วยควรทำความสะอาดทันทีเมื่อพบเห็นผู้ป่วยฉี่รดที่นอน/ขับถ่ายรดที่นอนหรือได้กลิ่นอันไม่พึงประสงค์
- การเช็ดทำความสะอาดควรใช้น้ำเปล่า 1 กะละมังและน้ำผสมสบู่อ่อนที่ไม่เข้มข้น 1 กะละมัง
- เริ่มเช็ดด้วยน้ำผสมสบู่อ่อนที่ไม่เข้มข้น และตามด้วยน้ำเปล่าเช็ดบริเวณที่ขับถ่ายและรอบๆ ได้แก่หน้าขา เช็ดให้ทั่วจนหมดคราบ
- ซับให้แห้งด้วยสำลีแผ่นหรือผ้าสะอาด
- อาจทาวาสลีนเมื่อพบผิวหนังที่ก้นเริ่มแดง และควรหมั่นสังเกตผิวหนังของผู้ป่วยอยู่เสมอ
การทำความสะอาดอย่างดีจะทำให้ผู้ป่วยสุขสบาย และไม่เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ และนอกเหนือจากการทำความสะอาดร่างกายให้ผุ้ป่วยติดเตียงแล้ว ผู้ดูแลควรรีบทำความสะอาดที่นอนเพื่อขจัดคราบฉี่ และกลิ่นทันทีด้วย
อย่างไรก็ตามจะพบว่าแม้ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะไม่ได้กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ แต่ญาติผู้ป่วยที่ไม่อยู่ประจำยังได้กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้น่าจะมาจากกลิ่นอันไม่พึงประสงค์จะคงอยู่ในห้องนอนผู้ป่วย ผู้เขียนจึงขอแนะนำการใช้น้ำยาดับกลิ่นร่วมด้วย เพื่อให้ห้องนอนผู้ป่วยมีกลิ่นสะอาดและลูกหลานอยากเข้ามาเยี่ยมเยียน
น้ำยาดับกลิ่น ที่ช่วย การกำจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยติดเตียง ได้แก่
- น้ำยาดับกลิ่นแบบเสียบปลั๊ก
หากที่บ้านใครใช้น้ำหอมดับกลิ่นแบบเสียบปลั๊กจนหมดแล้ว แนะนำให้ถอดขวดใส่น้ำหอมออกมาล้างแล้วเช็ดให้แห้ง จากนั้นเติมน้ำเปล่าในปริมาณที่พอดีและผสมน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบลงไป หรือจะใช้น้ำหอมอื่น ๆ ก็ได้เหมือนกันค่ะ นำไปเสียบที่ปลั๊กในห้องนอนก็ช่วยดับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ให้จางไป
- เทียนน้ำมันมะกอก ระเหยกลิ่นอับดับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์
การทำเทียนด้วยวิธีนี้ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะแค่นำขวดโหลทรงเตี้ยมาล้างแล้วเช็ดให้แห้ง ดัดลวดให้เป็นเหมือนตะขอเอาไว้ยึดไส้เทียนให้ตั้งตรงและสามารถเกี่ยวปากขวดโหลได้ด้วย นำไส้เทียนยาวขนาด 1 ½ นิ้ว ร้อยเข้าไปในลวดให้เหมือนกับแท่งเทียน เทน้ำมันมะกอกลงไปในขวดโหลแล้วจุดไฟนำไปวางไว้ในห้องนอนก็จะช่วยบรรเทากลิ่นห้องนอนให้เบาบางลงได้
- แกนกระดาษทิชชูหอม ดึงใช้งานเมื่อไรกลิ่นกระจายทั่วห้องน้ำ (ที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียง)
ข้อนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาทำงานบ้าน แนะนำให้ซื้อน้ำมันหอมระเหยสกัดกลิ่นที่ชอบมากที่สุด อย่างเช่น ลาเวนเดอร์ มะนาว ตะไคร้หอม หรือกลิ่นผลไม้เบอร์รี่ แล้วนำไปหยดลงในแกนกระดาษทิชชูให้ทั่ว แต่ไม่ต้องถึงกับชุ่มน้ำมากเกินไป เพราะถ้ากลิ่นจางหายไปก็สามารถเติมใหม่ได้ เมื่อเราดึงกระดาษทิชชูออกมาใช้งาน กลิ่นหอม ๆ ก็จะกระจายออกมาพร้อมกับกระดาษนั่นเอง
- เคี่ยวน้ำสมุนไพรไล่กลิ่นเหม็นห่างไกล
วิธีนี้อาจจะดูยุ่งยากไปหน่อยแต่ก็ช่วยดับกลิ่นอับได้ดีทีเดียว ก่อนอื่นต้องรวบรวมพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่น ได้แก่ ส้ม มะนาว เปลือกไม้ ก้านพลู โรสแมรี่ แอปเปิล หรือผลไม้อื่น ๆ ตามที่ต้องการ มาสไลซ์เป็นแผ่นบาง ๆ จากนั้นนำทั้งหมดลงหม้อต้มและเติมน้ำให้ท่วม เปิดไฟกลาง ๆ พร้อมกับเคี่ยวไปเรื่อย ๆ เมื่อได้ที่แล้วให้เทใส่ขวดโหลและจุดเทียนเล็ก ๆ วางทับไว้ด้านบน กลิ่นหอมจากน้ำเคี่ยวสมุนไพรก็จะแพร่กระจายไปทั่วห้องนอน
- ขวดน้ำมันหอมระเหยและไม้กระจายกลิ่น
น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในขวดโหลแบบธรรมดาอาจจะส่งกลิ่นน้อยไปหน่อย จึงทำให้อากาศในห้องไม่ค่อยสดชื่นเท่าไร ดังนั้นเราแนะนำให้ทำขวดดับกลิ่นที่มาพร้อมกับไม้กระจายกลิ่น ด้วยการผสมน้ำเปล่ากับน้ำมันหอมระเหยลงในขวดโหลแก้ว จากนั้นนำแท่งไม้กกประมาณสัก 4-5 แท่ง มาเสียบวางไว้ที่ขวดโหล กลิ่นหอมก็จะกระจายตัวได้ดีขึ้นกว่าเดิม
- ขวดโหลเบกกิ้งโซดาดับกลิ่น
หาขวดโหลแก้วขนาดเล็กมาเจาะรูเล็ก ๆ ที่ฝาให้ทั่ว แล้วเทเบกกิ้งโซดาลงไปในขวดโหล จากนั้นให้นำน้ำมันกลิ่นหอมระเหยทั้งลาเวนเดอร์ เลมอน หรือกลิ่นตะไคร้แบบไทย ๆ หยดลงไปประมาณ 8-12 หยด ผสมให้เข้ากันดีแล้วนำไปวางในห้องนอนผู้ป่วยเพื่อดับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ให้หมดไป
- โหลเครื่องหอมหรือบุหงาสมุนไพรแห้ง
ถึงวิธีนี้จะง่ายแต่ก็ต้องอาศัยความละเอียดในการลงมือทำ เพราะเราต้องนำผลส้มและผลแอปเปิลมาฝานให้เป็นแว่นบาง ๆ จากนั้นนำเข้าไปอบในไมโครเวฟด้วยความร้อน 250 องศาเซลเซียส ประมาณ 1 ½ ชั่วโมง และหมั่นเปิดดูทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง เพื่อป้องกันการไหม้เกรียม เมื่อเสร็จเรียบร้อยให้นำทั้งส้มและแอปเปิลอบแห้งมาผสมกับเปลือกไม้ ก้านพลู และโป๊ยกั๊ก(สมุนไพรจีน) ในขวดโหลที่มีฝาปิด และทิ้งไว้ 1 วัน จึงจะเปิดฝาและนำไปวางไว้ในห้องได้
การทำความสะอาดผู้ป่วยติดเตียงหลังการขับถ่ายนั้น ถ้าผู้ดูแลใส่ใจในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยนึกถึงความสุขสบายของผู้ป่วยที่ได้รับหลังการทำความสะอาด นึกถึงใจเขาใจเราความสุขจะเกิดกับทุกฝ่าย ความรักที่เกิดจากการแบ่งปันความสุขให้กับบุคคลที่รักจะพบสุขมากยิ่งนัก