ที่นอนป้องกันแผลกดทับ-2000x820

SeniaCare คือผู้นำด้านนวัตกรรมที่นอนผู้ป่วยติดเตียง ที่นอนผู้สูงอายุ ที่นอนโรงพยาบาล และเครื่องนอนป้องกันแบคทีเรีย ที่ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ โดยไม่ต้องพลิกตัวบ่อย

สินค้าแนะนำ

PROMOTION

6 เหตุผล
ทำไมต้องเลือก ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง SeniaCare

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ
ที่ไม่ต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อย

ที่นอนผู้ป่วยติดเตียงที่มีนวัตกรรมที่ช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยกระจายแรงกดทับให้เหลือต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอททั่วร่างกาย โดยไม่ต้องพลิกตัว ได้รับการรับรองสิทธิบัตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ
สำหรับรูปร่างที่แตกต่างกัน

เพราะแรงกดทับสัมพันธ์กับน้ำหนักของผู้นอนโดยตรง SeniaCare จึงออกแบบที่นอนตามน้ำหนักตัวของผู้นอน เพื่อลดแรงกดทับจากน้ำหนักตัวที่แตกต่างกัน

ป้องกันแบคทีเรีย
ในที่นอนป้องกันแผลกดทับ

ด้วยเทคโนโลยี Nano-Zinc Latex ที่ผสาน Nano-Zinc ในเนื้อยางพาราทำให้มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในที่นอนป้องกันแผลกดทับ ไม่ทำให้ที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อ

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ
เย็นสบาย ไม่อับชื้น

ด้วยคุณสมบัติพิเศษของยางพาราที่มีโครงสร้างแบบ Open-Cell ที่มีรูระบายอากาศ ถ่ายเทความร้อน ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับสบาย ไม่ร้อน ไม่อับชื้น

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ
ด้วยผ้ากันน้ำ ทำความสะอาดง่าย

ผ้าคลุมที่นอนกันน้ำ (Water resistant) มีซิบ 3 ด้าน ถอดทำความสะอาดง่าย ปลอกผ้าคลุมชั้นในเป็นผ้ามัสลินสะท้อนน้ำ (Water repellant) ป้องกันความชื้นและระบายอากาศได้ดี

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ
มีบริการจัดส่งฟรีทันทีทั่วประเทศ

เราพร้อมจัดส่งที่นอนผู้ป่วยติดเตียงเร่งด่วนทั่วประเทศ โดยพันธมิตรโลจิสติก และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ระยะเวลาการจัดส่งเร่งด่วนไม่เกิน 3 วันทำการ ขึ้นอยู่กับจุดหมายปลายทาง

ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง
ที่นอนผู้ป่วย SeniaCare เหมาะกับใคร?

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง 03

ผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถขยับตัวเองได้ หรือขยับได้น้อย มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลกดทับ เพราะมีแรงกดทับเป็นเวลานาน โดยไม่สามารถปรับอริยาบถได้ด้วยตัวเอง จึงจำเป็นต้องเลือกที่นอนป้องกันแผลกดทับที่ช่วยกระจายแรงกดทับ เพื่อป้องกันการเกิดแผล และลดภาระผู้ดูแลที่ต้องคอยพลิกตัว

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง 02

ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้น

เพราะผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้น ยังจำเป็นต้องนอนพักผ่อนบนที่นอนป้องกันแผลกดทับเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลกดทับ จึงจำเป็นที่ต้องเลือกที่นอนที่ป้องกันแผลกดทับได้

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ที่มีภาวะต้องนอนหรือพักผ่อนบนที่นอนนานๆ

เพราะการนอนพักผ่อนบนที่นอนเป็นเวลานาน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลกดทับ จึงจำเป็นที่ต้องเลือกที่นอนที่ป้องกันแผลกดทับได้

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง 01

ผู้สูงอายุที่ต้องการป้องกันแผลกดทับที่เกิดจากการนอน

ผู้สูงอายุบางรายผิวหนังอาจขาดความยืดหยุ่น หรือบางรายที่ผอม มีชั้นไขมันน้อยทำให้ปุ่มกระดูกกดและเสียดสีกับที่นอนโดยตรง อาจทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังได้ จึงควรใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับที่มีความยืดหยุ่นดี และช่วยลดแรงกดทับได้

บทความสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ป่วยติดเตียงควรกินอาหารแบบใด

ปัญหาที่พบได้บ่อยของผู้ป่วยติดเตียง คือปัญหาเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการซึ่งเป็นสภาวะของร่างกายที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องเสริมสุขภาพผู้ป่วยด้วยอาหารให้ครบ 5 หมู่

เทคนิค และขั้นตอนการดูแลการขับถ่ายให้กับผู้ป่วยติดเตียง

การดูแลเรื่องการอาบน้ำ การทำความสะอาดหลังขับถ่ายของผู้ป่วยติดเตียงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และป้องกันการเกิดแผลกดทับได้อย่างดี

วิธีรับมือแผลกดทับ และวิธีป้องกันแผลกดทับ สำหรับผู้ป่วยติดเตียง

การรับมือกับแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง อุปกรณ์และวิธีทำความสะอาดแผล พร้อมเทคนิคในการพลิกตัวผู้ป่วย

รวมฮิตของเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง

หากต้องไปเยี่ยมผู้ป่วย การแสดงออกถึงความใส่ใจ ห่วงใย ก็คงไม่พ้นเรื่อง ”การให้ของเยี่ยม” และการเลือกสรรของเยี่ยมที่ดีต่อสุขภาพ และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยติดเตียง ย่อมส่งเสริมกำลังใจให้ผู้ป่วยได้อย่างดี

ควรจัดท่านั่ง ท่านอนให้ผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย

มาเรียนรู้วิธีการจัดท่านั่ง ท่านอนให้ผู้ป่วยติดเตียง เพื่อช่วยลดแรงกดทับที่ผิวสัมผัสให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด และเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับกัน

ที่นอนผู้ป่วยติดเตียงมีกี่แบบ ควรเลือกที่นอนแบบไหนให้กับผู้ป่วยติดเตียง?

ทำความเข้าใจกับประเภทที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อเลือกที่นอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง และป้องกันผู้ป่วยติดเตียงจากแผลกดทับ

ดูบทความทั้งหมด